Sunday, June 11, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    8 ก.ค.นี้ตอกเสาเข็มโครงการก่อสร้างทางยกระดับพระราม 2 – ทางด่วนพระราม 3 คาดเสร็จปี 65

    8 ..63 เริ่มตอกเสาเข็มสร้างทางยกระดับ พระราม 2 – ทางด่วนพระราม 3 ใช้เวลาสร้างยาว 3 ปี คาดแล้วเสร็จปี 2565 “ศักดิ์สยามคุมเข้มงานก่อสร้าง เน้นย้ำให้ปิดถนนเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ยืนยันหลังเปิดใช้ทั้ง 2 โครงการในปี 2565 แล้ว จะไม่มีการก่อสร้างบนถนนพระราม 2 อีก เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน 

    คุมเข้มก่อสร้างทางยกระดับพระราม 2 – ทางด่วนพระราม 3

    ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป บนถนนพระราม 2 จะมีการก่อสร้าง 2 โครงการจาก 2 หน่วยงาน คือ โครงการก่อสร้างทางยกระดับพระราม 2 สาย ธนบุรีปากท่อ ตอน ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนเอกชัย ของกรมทางหลวง (ทล.) และ โครงการทางพิเศษสาย พระราม 3 – ดาวคะนองวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2565


    นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ผู้รับเหมาทั้ง 2 โครงการจะเข้าพื้นที่เริ่มการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 8 ..นี้ โดยในส่วนของกรมทางหลวงจะเริ่มก่อสร้างใน 2 จุดคือบริเวณ กม. 14+000 – กม.15+000 ก่อน โดยใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนฝั่งละ 1 ช่องจราจร ซ้ายขวา ในการก่อสร้าง ซึ่งจะไม่มีการปิดช่องจราจร แต่จะใช้วิธีปรับลดขนาดความกว้างของช่องจราจรจาก 3.50 เมตร เหลือ 3 เมตร ซึ่งยังอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย เพราะขนาดรถยนต์มีความกว้างที่ 2.80 เมตร เท่ากับถนนพระราม 2 จะยังคงมี 14 ช่องจราจรไปกลับเท่าเดิม

    ในการก่อสร้างได้กำชับให้มีการปิดการจราจรตามความจำเป็นเท่านั้น โดยจะเปิดผิวจราจรเพื่อก่อสร้างทางด่วน และทางยกระดับตามแนวถนนพระราม 2 เป็นช่วง ช่วงละประมาณ 1 กม. ตามความพร้อมของเครื่องจักร และจะทยอยก่อสร้างจุดที่ไม่มีสะพานกลับรถจนเสร็จก่อน จากนั้นจึงจะกลับมาทำในส่วนของสะพานกลับรถ ซึ่งมีประมาณ 6 จุดในช่วงหลังเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคอขวด

    ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ทั้ง 2 หน่วยงาน คือ ทล. และ กทพ. รวมถึง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแบบจำลอง Simulation เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณจราจรและประเมินผลกระทบเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และลดผลกระทบที่มีต่อประชาชน รวมถึงให้ทำประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบ และติดตั้งป้ายจราจรและสัญญาณไฟตลอดพื้นที่ก่อสร้างให้เห็นชัดเจน พร้อมขอความร่วมมือจากประชาชนให้เหลื่อมเวลาในการเดินทางมายังถนนพระราม 2 หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงในช่วงเวลาเร่งด่วน และขอให้ขับรถอยู่ในช่องทางที่ถูกต้อง เพื่อลดการตัดกระแสการจราจร และสามารถตรวจสอบสภาพการจราจรผ่านแอปพลิเคชั่น Thailand Highway Traffic ของ ทล. เพื่อวางแผนการเดินทางได้

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ทั้ง 2 โครงการจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 ซึ่งเมื่อโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยให้การจราจรบนถนนพระราม 2 ดีขึ้นเป็นอย่างมาก และหลังจากที่ทั้ง 2 โครงการแล้วเสร็จ จะไม่มีการก่อสร้างโครงการใดๆ บนถนนนพระราม 2 อีก แต่จะพัฒนาแนวเส้นทางใหม่เพื่อใช้ลงพื้นที่ภาคใต้ เช่น มอเตอร์เวย์นครปฐมชะอำแทน

    โครงการก่อสร้างทางยกระดับทางหลวง 35 สาย ธนบุรีปากท่อ

    ขณะที่ นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.)  เปิดเผยว่า กรมทางหลวง จะเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 สาย ธนบุรีปากท่อ ตอน ทางแยกต่างระดับบางขุนเทียนเอกชัย ระยะทางประมาณ 8.335 กิโลเมตร โดยจะเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างจำนวน 2 จุดก่อน ได้แก่ กม.14+000 ถึง กม.15+000 และ กม.18+000 ถึง กม.20+295 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประสานงานด้านการจัดการจราจรกับท้องที่และตำรวจทั้งกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 และสน.แสมดำ พร้อมประชุมเชิงบูรณาการกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ยังมีช่องจราจรจำนวน 12 ช่องจราจรเช่นเดิม (ทิศทางละ 6 ช่องจราจร) เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  พื่อรองรับปริมาณจราจรปกติบนพระราม 2 ประมาณ 2 แสนคัน/วันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง

    ด้านนายดำเกิง ปานขำ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการรักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยว่า โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนองวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก มีจุดเริ่มต้นโครงการฯ ที่ กม. 13+000 ของถนนพระราม 2 เชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างทางยกระดับ บนทางหลวงหมายเลข 35 ตอนทางแยก ต่างระดับบางขุนเทียนเอกชัย ของ กรมทางหลวง ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน อันเป็นจุดบรรจบกันของถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกกับถนนพระราม 2

    รูปแบบการก่อสร้างโครงการฯ เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ซ้อนทับไปตามแนวเกาะกลางถนนพระราม 2 มาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 11.6 กิโลเมตร จนถึงทางแยกต่างระดับดาวคะนอง หลังจากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาเข้าซ้อนทับกับแนวทางพิเศษ เฉลิมมหานครเป็นระยะทางประมาณ 5.1 กิโลเมตร และมีสะพานขึงคู่ขนานกับสะพานพระราม 9 จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการฯ ที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ระยะทางรวมประมาณ 18.7 กิโลเมตร

    สำหรับทั้ง 2 โครงการ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด รองรับปริมาณรถที่เพิ่มสูงขึ้นเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับพื้นที่ภาคใต้ อีกทั้ง ยังช่วยประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้การเดินทางสู่ภาคใต้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น