Sunday, September 24, 2023
More

    ลุ้น ครม. ไฟเขียวแผนฟื้นฟู ขสมก. สิงหาคมนี้ ปลดล็อกสภาพขาดทุนในปี 2572

    ขสมก. เตรียมชงแผนฟื้นฟูเข้า ครม. สิงหาคมนี้ พร้อมเดินหน้าปรับโฉมให้เป็น “รถเมล์ในดวงใจคนไทย” ไม่ต้องรอรถนาน ได้ใช้รถใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ต่อไปผู้โดยสารจ่ายเพียง 30 บาท ขึ้นรถเมล์ ขสมก. ได้ทุกสายทั้งวัน พร้อมก้าวพ้นสภาพขาดทุนในปี 2572

    ชง ครม. ไฟเขียวแผนฟื้นฟู ขสมก.

    เดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. จะนำเสนอรายละเอียดของแผนฟื้นฟูกิจการ (ฉบับปรับปรุง) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาใน 4 ประเด็น ประกอบด้วย


    1.ขอทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 มิ..2562 เพื่อให้ ขสมก. ดำเนินการตามหลักการของแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ฉบับปรับปรุงใหม่ โดยให้ ขสมก. เช่ารถโดยสารไฟฟ้า (EV) จำนวน 2,511 คัน และจ้างเอกชนเดินรถให้บริการ (รถโดยสาร NGV) จำนวน 1,500 คัน

    2.ขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สำหรับโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดปี 2565 จำนวน 5,301 คน วงเงิน 4,560 ล้านบาท

    3.อนุมัติหลักการให้รัฐรับภาระหนี้สิน ขสมก. จนกว่ารายได้จะเพียงพอกับรายจ่าย (EBITDA ไม่ติดลบ) เป็นเงินประมาณ 127,786.109 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง (จากการรับรองงบการเงิน โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้ ขสมก. ชำระหนี้ ตามวงเงินที่ครบกำหนดชำระ (หนี้พันธบัตร และหนี้เงินกู้) รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้นจริงในแต่ละปีให้เพียงพอ

    4.ขอสนับสนุนเงินอุดหนุนจากภาครัฐ สำหรับรถโดยสารปรับอากาศจำนวน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2571 วงเงิน 9,674 ล้านบาท

    เร่งจ้างเอกชนเดินรถ 2,511 คัน

    เมื่อผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว ขสมก. จะเข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินงานตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟู เริ่มต้นจากการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ (EV) จำนวน 2,511 คัน โดย ขสมก. จะจ้างเอกชนเดินรถแล้วจ่ายค่าเช่าตามกิโลเมตร ขณะที่เอกชนจะต้องรับภาระในการจายค่าเชื้อเพลิง และค่าซ่อมบำรุง ซึ่งในการพิจารณา ขสมก. จะเลือกเอกชนรายที่เสนอค่าจ้างวิ่งต่ำสุด ทั้งนี้จากการศึกษาของทีดีอาร์ไอ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจร.) ประเมินว่า ต้นทุนการเดินรถเฉลี่ยจะอยู่ที่ 240 กม./คัน /วัน ซึ่งคาดว่าจะมีต้นทุนค่าจ้างวิ่งประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี ขณะที่ปัจจุบัน ขสมก.มีต้นทุนการบริการกว่า 50 บาท/กม.

    โดยหลัง ครม. อนุมัติแผนฟื้นฟูแล้ว ขสมก. คาดว่าจะออก TOR เปิดประมูลจัดหารถ 2,511 คันในช่วงเดือน ก.. – ..2563 และลงนามในสัญญาช่วงปลายเดือน ก..2563 เริ่มรับมอบรถคันแรกในเดือน มี..2564 ส่งมอบเดือนละ 400 คัน จนครบใน 7 เดือน คือเดือน ก..2564 โดยสัญญาเช่าจะมีกำหนดเวลา 7 ปี แบ่งออกเป็น 3 สัญญาเพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาด

    ในส่วนของการจ้างเอกชนเดินรถ 1,500 คันนั้น จะเป็นรถ NGV วิ่งให้บริการในเส้นทางของเอกชน 54 เส้นทาง โดย ขสมก. จะนำรายได้จากค่าโดยสาร มาจ่ายค่าเช่าวิ่งตามกิโลเมตร ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารให้เป็นราคาเดียวกันได้ โดยจะเริ่มส่งมอบตั้งแต่เดือน พ..2464 เดือนละ 300 คัน และครบภายในเดือน ก..2564

    ปรับเส้นทางรถเมล์ลดวิ่งซ้ำซ้อน

    ขณะเดียวกัน ขสมก. จะมีการปรับปรุงเส้นทางเดินรถจากเดิมที่มี 269 เส้นทาง ให้เหลือเพียง 162 เส้นทาง โดยแบ่งเป็น ของ ขสมก. 108 เส้นทาง ซึ่งจะมีเส้นทางหลัก 40 เส้นทาง เส้นทางรอง 15 เส้นทาง เส้นทางที่วิ่งบนทางด่วน 24 เส้นทาง และเส้นทางที่วิ่งเป็นวงกลม 29 เส้นทาง ส่วนเส้นทางของเอกชนจะมี 54 เส้นทาง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกัน อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ถนนพหลโยธิน มีรถโดยสารวิ่งทับซ้อนกันถึง 30 สาย หากมีการทบทวนแล้วคาดว่าจะลดลงเหลือ 15 สาย

    เล็งเก็บ 30 บาท ขึ้นรถเมล์ ขสมก. ได้ทุกคันได้ทั้งวัน

    ในส่วนของอัตราค่าโดยสาร จะมีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นที่การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยจะจัดเก็บค่าโดยสาร 30 บาท/คน/วัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) และจะออกบัตรอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเติมเงินและรายเที่ยว บัตรสำหรับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้สูงอายุ เพื่อให้มีทางเลือกมาขึ้น และจะทำให้ประชาชนสามารถใช้บริการรถเมล์ ขสมก. ได้ทุกคันทุกเที่ยวตลอดทั้งวัน

    ปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ

    ขสมก. มีแผนที่จะปรับลดพนักงานลงจากเดิม จำนวน 13,963 คน จะคงเหลือพนักงาน จำนวน 8,267 คน ขณะที่อัตรากำลังคนต่อรถโดยสาร 1 คัน ก็จะปรับเปลี่ยน จากเดิมที่มีพนักงาน 4.65 คน/รถ 1 คัน เป็น พนักงาน 2.75 คน/รถ 1 คัน รวมถึงจะมีการเกษียณอายุก่อนกำหนด จำนวน 5,301 คน วงเงิน 4,560 ล้านบาท โดยที่พนักงารขับรถ (พขร.) ขสมก. จะเกษียณอายุครบทุกคน ในปี 2603

    พัฒนาที่ดินเพิ่มรายได้

    นอกจากนั้นยังมีแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่ง ขสมก. มีแผนที่จะพัฒนาที่ดินใน 2 จุด คือที่ อู่บางเขน พื้นที่ 11 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา และอู่มีนบุรี พื้นที่ 10 ไร่ 28 ตารางวา โดยจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน และเพิ่มรายได้ให้แก่ ขสมก.

    ใช้เทคโนโลยีจัดบัสเลนเติมความสะดวก

    ขณะเดียวกัน ก็จะมีการอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ใช้บริการให้มีมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เช่น ระบบ GPS เพื่อควบคุมการเดินรถ, ระบบ E-Ticket เพื่อการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร, ระบบ ERP เพื่อการบริหารจัดการองค์การ

    รวมถึงจะมีการกำหนดช่องทางเดินรถเฉพาะรถโดยสารประจำทาง (บัสเลน) ในเขต กทม. และปริมณฑล โดยจัดช่องทางที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ ตั้งแต่ 6 ช่องจราจรขึ้นไป โดยถนนที่มีเกาะกลางจัดช่องบัสเลนชิดขวา ติดเกาะกลาง ถนนที่ไม่มีเกาะกลางจัดช่องบัสเลนชิดซ้าย

    พ้นสภาพการเป็นหนี้ในปี 2572

    ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูนี้มีเป้าหมายที่จะทำให้ ขสมก. มีผลดำเนินงาน EBITDA เป็นบวก หรือไม่ขาดทุนอีกต่อไป ในปี 2572 อย่างไรก็ดีในระหว่างดำเนินการ ขสมก. ต้องขอให้ภาครัฐรับภาระหนี้สินทั้งหมด ณ วันที่ 30 ..64 จำนวนประมาณ 127,786.109 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง (จากการรับรองงบการเงิน โดย สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน)

    รวมถึงขอให้รัฐสนับสนุนเงิน PSO เฉพาะรถโดยสารปรับอากาศ 7 ปี เป็นเงิน 9,674 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายเงินเดือนผลประโยชน์พนักงาน จำนวน 8,083.153 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิงและค่าซ่อมของรถ NGV 489 คัน จำนวน 1,279.842 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค 311.005 ล้านบาท

    การดำเนินการตามแผนฟื้นฟูนี้ นับเป็นการเริ่มต้นนับ 1 ใหม่อีกครั้งในการยกระดับการให้บริการรถเมล์ ให้มีคุณภาพ หากทำได้ตามแผนทั้งหมด นอกจากจะลดภาระภาครัฐ ขสมก. สามารถบริหารจัดการภาระหนี้สินต่างๆได้และยังจะทำให้มีการบริการที่สร้างความพึงพอใจในการใช้บริการของประชาชนมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งรถรางเรือและสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น

    ———————

    กรอบการดำเนินการปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการองค์การ ขสมก. แผนฟื้นฟูกิจการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562

    การปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ณ มิถุนายน 2563
    1. การจัดหารถโดยสารใหม่ โดยการซื้อ/เช่า

    -ซื้อรถ NGV 489 คัน (ดำเนินการแล้ว)
    -ซื้อรถ EV 35 คัน + สถานีฯ 1 สถานี
    -ซื้อรถ HYBRID 1,435 คัน ใช้เงินลงทุน 13,982.392 ล้านบาท (เงินกู้)
    -เช่า NGV 300 คัน/เช่า HYBRID 400 คัน (จ่ายค่าเช่าจากรายได้ค่าโดยสาร) ทรัพย์สินเป็นของ ขสมก. ต้องดูแลบำรุงรักษา

    จัดหารถโดยสารปรับอากาศ
    -เช่ารถ EV 2,511 คัน โดยจ่ายค่าเช่าตามกิโลเมตร บริการ + รถ NGV 489 คัน (ซื้อแล้ว) รวมเป็น 3,000 คัน
    ไม่ใช้เงินลงทุน
    -จ้างเอกชนเดินรถ 1,500 คัน โดยจ่ายค่าเช่าตามกิโลเมตรบริการ
    (จ่ายค่าเช่าจากรายได้ค่าโดยสาร)
    ทรัพย์สินไม่ใช่ของ ขสมก. ไม่ต้องบำรุงรักษา

    2. การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้

    -ระบบ GPS
    -ระบบ E-Ticket
    -ระบบ ERP

    การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
    -ระบบ GPS เพื่อควบคุมการเดินรถ
    -ระบบ E-Ticket เพื่อการจัดเก็บรายได้ค่าโดยสาร
    -ระบบ ERP เพื่อการบริหารจัดการองค์การ

    3. การปรับปรุงเส้นทางเดินรถ

    -จำนวน 137 เส้นทาง ของ ขสมก.
    -จำนวน 132 เส้นทาง ของ เอกชน 

    การปรับปรุงเส้นทางเดินรถ ไม่ให้เกิดการทับซ้อน กับระบบขนส่งมวลชนหลักและสามารถต่อเชื่อมกันอย่างเป็นระบบ และมีลักษณะเป็น Liner Feeder Express และ Circle จำนวน 108 เส้นทาง ของ ขสมก. และจำนวน 54 เส้นทางของเอกชน

    4. การปรับโครงสร้างองค์กร

    จากเดิมจำนวน 13,963 คน
    รถ : พนักงาน = 1 : 4.65
    ลดลง รถ : พนักงาน = 1 : 2.75

    การปรับโครงสร้างองค์กร
    คงเหลือพนักงาน จำนวน 8,267 คน
    จากเดิม จำนวน 13,963 คน
    รถ : พนักงาน = 1 : 4.65
    ลดลง รถ : พนักงาน = 1 : 2.75
    -จ้างพนักงานสำนักงานอัตราจ้าง (Outsource)
    -จ้างพนักงานขับรถ (Outsource)
    -แทนพนักงานเกษียณอายุแต่ละปี
    -พขร. ขสมก. เกษียณอายุครบทุกคน ปี พ.ศ.2603

    5. การเกษียณอายุก่อนกำหนด

    คือจำนวน 5,051 คน
    วงเงิน 6,004 ล้านบาท

    การเกษียณอายุก่อนกำหนด
    จำนวน 5,301 คน วงเงิน 4,560 ล้านบาท
    เนื่องจากรับพนักงานเก็บค่าโดยสารเพิ่มขึ้นประมาณ 250 คน โดยพนักงานเข้าใหม่จะมีฐานอัตราเงินเดือนที่ต่ำกว่าพนักงานเดิม
    *รัฐบาลรับภาระ

    6. พัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ

    -อู่บางเขน เนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา
    -อู่มีนบุรี เนื้อที่ 10 ไร่ 28 ตารางวา

    พัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจโดยให้เอกชนร่วมลงทุน และเพิ่มรายได้ให้ ขสมก.

    7. การขอให้ภาครัฐรับภาระหนี้สิน

    -รัฐรับเฉพาะหนี้สินเดิม ณ 31 มี.ค. 2562 จำนวน 118,183.234 ล้านบาท
    -EBITDA เป็นบวกในปี 2566
    เริ่มโครงการ 2563 (เป็นระยะเวลา 3 ปี)
    -ใช้ค่าโดยสารอัตรา 15-20-25 บาท/คน/เที่ยว

    การขอให้ภาครัฐรับภาระหนี้สิน
    -รัฐรับภาระหนี้สินทั้งหมด ณ วันที่ 30 ก.ย.64 จำนวนประมาณ 127,786.109 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง (จากการรับรองงบการเงิน โดย สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน)
    -รัฐสนับสนุนเงิน PSO เฉพาะรถโดยสารปรับอากาศ 7 ปี เป็นเงิน 9,674 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายเงินเดือนผลประโยชน์พนักงาน จำนวน 8,083.153 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิงและค่าซ่อมของรถ NGV 489 คัน จำนวน 1,279.842 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค 311.005 ล้านบาท
    -EBITDA เป็นบวกในปี 2572 เริ่มโครงการ 2565 (เป็นระยะเวลา 7 ปี)
    -ใช้ค่าโดยสารอัตรา 30 บาท/คน/วัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว)

    8. การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้ใช้บริการ

    รถโดยสาร กำหนดช่องทางเดินรถเฉพาะรถโดยสารประจำทาง (บัสเลน) ในเขต กทม. และปริมณฑล โดยจัดช่องทางที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ ตั้งแต่ 6 ช่องจราจรขึ้นไป โดยถนนที่มีเกาะกลางจัดช่องบัสเลนชิดขวา ติดเกาะกลาง ถนนที่ไม่มีเกาะกลางจัดช่องบัสเลนชิดซ้าย

    ประเด็นที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ

    1.ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มิ.ย.62 ให้ ขสมก. : เห็นชอบในหลักการของแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. (ฉบับเดิม) เป็นเห็นชอบแผนฟื้นฟู ขสมก. (ฉบับปรับปรุงใหม่) โดยให้ ขสมก. เช่ารถโดยสารไฟฟ้า (EV) จำนวน 2,511 คัน และจ้างเอกชนเดินรถให้บริการ (รถโดยสาร NGV) จำนวน 1,500 คัน

    2.รัฐจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำหรับโครงการเกษียฯอายุก่อนกำหนดปี 2565 จำนวน 5,301 คน วงเงิน 4,560 ล้านบาท

    3.อนุมัติหลักการให้รัฐรับภาระหนี้สิน ขสมก. จนกว่ารายได้เพียงพอกับรายจ่าย (EBOTDA ไม่ติดลบ) เป็นเงินประมาณ 127,786.109 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง (จากการรับรองงบการเงิน โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณให้ ขสมก. ชำระหนี้ ตามวงเงินที่ครบกำหนดชำระ (หนี้พันธบัตร และหนี้เงินกู้) รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้นจริงในแต่ละปีให้เพียงพอ

    4.ขอสนับสนุนเงินอุดหนุนจากภาครัฐ สำหรับรถโดยสารปรับอากาศจำนวน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2571

    ระยะเวลาดำเนินการ

    1.ได้รับความเห็นชอบแผนฟื้นฟู มิ.ย.2563
    2.จัดทำ TOR มิ.ย. – ก.ย. 63
    3.กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ก.ค. – ก.ย.63
    4.นำเสนอขออนุมัติ / ลงนามในสัญญา ก.ย.63
    5.รับรถเช่า/เดินรถ 7 เดือน (2,511 คัน) มี.ค. – ก.ย.64 รถโดยสารครบ 3,000 คัน (รวม 489 คัน)
    6.เอกชนร่วมเดินรถ 5 เดือน (300 คัน) พ.ค. – ก.ย.64 (รถเอกชนครบ 1,500 คัน)

    ขสมก. ระบบใหม่ กับ 5 แผนฟื้นฟูที่ยั่งยืน 

    ลดภาระประชาชน 

    -เหมาจ่ายไม่จำกัดเที่ยว 30 บาท 

    -เที่ยวเดียว 15 บาท มีบัตรรายเดือนและบัตรสวัสดิการ

    ลดเส้นทางทับซ้อน

    -ลดจาก 269 เส้นทาง เหลือ 162 เส้นทาง 

    -ปล่อยรถเร็วขึ้น 5-10 นาที/เที่ยว 

    -ปัญหาการจราจรลดลง เนื่องจากจำนวนรถประจำทางลดลง จาก 6,000 คัน เหลือเพียง 2,500 คัน

    ลดมลภาวะ

    -ใช้รถใหม่เป็นรถปรับอากาศ NGV และ EV ทุกคันประกอบในไทย

    -คุณภาพอากาศดีขึ้น

    ลดการกู้เงิน

    -ลดการขาดทุนในระยะสั้น 

    -ระยะยาวหยุดการขาดทุน

    -ไม่เป็นภาระภาครัฐ

    ลดค่าดำเนินการ

    -ปรับโครงสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ ลดพนักงาน

    รถเมล์แบบไหนถูกใจคนกรุง 

    (ผลสำรวจจาก 1,299 คน ที่ใช้บริการรถเมล์ในช่วง 5 ปีนี้)

    -61.6% ตรงต่อเวลา ไม่รอนาน

    -53.1% เป็นรถใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

    -51.9% รถมาถี่ขึ้น จะได้ไม่แออัด

    -48.6% เป็นลด NGV,EV ทุกคัน ช่วยลดมลพิษ

    -46.3% ครอบคลุมทุกเส้นทาง

    -37.6% คนพิการใช้งานสะดวก 

    -21.2% เส้นทางเดินรถไม่ซ้ำซ้อน 

    ที่มา : ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์ : Bangkok Poll)