Saturday, September 23, 2023
More

    UddC-CEUS ร่วมกับกทม.และภาคีสถาปนิก ยกระดับสะพานเขียวสู่พื้นที่สีเขียว

    น่าจะเป็นมุมถ่ายรูประดับแลนด์มาร์กของชาวกรุงเทพฯ อีกแห่ง สำหรับ “สะพานเขียว” ที่ล่าสุดพบว่า สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และภาคีสถาปนิก เปิดต้นแบบแนวคิดฟื้นฟูสะพานลอยฟ้าแห่งนี้ ให้มีความร่มรื่นด้วยพื้นที่สีเขียวแบบยกเครื่อง

    เดินหน้าฟื้นฟู “สะพานเขียว” สู่สวนสีเขียวลอยฟ้าแห่งใหม่ของกทม.

    “สะพานเขียว” ซึ่งเป็นทางเดินลอยฟ้า และทางจักรยานยกระดับ ระยะทางรวม 1.3 กิโลเมตร ที่เชื่อมสองสวนสาธารณะหลักของกรุงเทพฯ อย่างสวนลุมพินี กับสวนเบญจกิติ


    กำลังจะได้รับการฟื้นฟูให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวคุณภาพอีกแห่งของกรุงเทพฯ หลัง

    – สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
    – ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)
    – บริษัท สตูดิโอ ใต้หล้า จำกัด
    – บริษัท อะตอม ดีไซน์ จำกัด
    – บริษัท แลนด์สเคปคอลลาบอเรชัน จำกัด
    – ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมแสงสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    – บริษัท วิศวกรรมและสถาปนิก คิวบิค จำกัด
    – บริษัท ไทย-ธรรม ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด

    ได้เปิดเผยต้นแบบการปรับปรุงแลนด์มาร์กแห่งนี้ครั้งใหญ่ เพื่อสร้าง “สะพานเขียว” ให้เกิดเป็นโครงข่ายการสัญจรจากพื้นที่สีเขียว ที่เชื่อมต่อระบบนิเวศ สังคม และเศรษฐกิจได้อย่างกลมกลืนไปกับชุมชนแบบมีประสิทธิภาพ

    โดยมีขั้นตอนการพัฒนาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม และชุมชนภาคีเครือข่ายสถาปนิก 5 กลุ่ม ที่จะรับผิดชอบงานฟื้นฟู 5 องค์ประกอบ ดังนี้

    1.The New City Landmark นำเสนอโดย คุณไพทยา บัญชากิติคุณ กรรมการผู้จัดการ ATOM Design

    สร้างแลนด์มาร์กสำคัญใน 3 จุดสำคัญตลอดระยะทาง 1.3 กิโลเมตรของสะพานเขียว ประกอบด้วย
    – สะพานลอยข้ามแยกวิทยุ-สารสิน
    – ทางลอยฟ้าเหนือทางพิเศษมหานคร
    – สะพานลอยถ.รัชดาทางเข้าสวนเบญจกิติ

    2.The Sky Green Bridge นำเสนอโดย คุณธัชพล สุนทราจารย์ กรรมการผู้จัดการ Landscape Collaboration

    เพิ่มพรรณไม้ที่เหมาะกับสภาพอากาศกรุงเทพฯ เน้นพืชที่บำรุงรักษาง่าย พร้อมเสริมความแข็งแกร่งของสะพานให้รับน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมทางลาดให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเดิน-วิ่ง-ปั่นจักรยาน

    3.The Learning Wetland นำเสนอโดย คุณรัชวุฒิ วงศ์ฮึกหาญ กรรมการ Studio TAILA

    ออกแบบสะพานเขียวโซนคลองไผ่สิงห์โตใกล้สวนเบญจกิติและโรงงานยาสูบ เป็นสวนลอยน้ำแห่งการเรียนรู้ ที่อุดมไปด้วยพืชที่มีศักยภาพในการบำบัดน้ำเสีย

    4.The New Common Space นำเสนอโดย คุณชนม์ชนิกานต์ ศศิชานนท์ / พิชนา ดีสารพัดสถาปนิกผังเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS)

    ฟื้นฟูพื้นที่ใต้สะพานเขียวเหนือคลองไผ่สิงห์โต ที่เดิมมีลักษณะมืดทึบและเข้าถึงการใช้งานได้ยาก สู่พื้นที่ทำกิจกรรมอเนกประสงค์ของชุมชนที่เปิดโล่ง ถ่ายเทอากาศได้ดี และมีแสงสว่างใช้งานตลอดเวลา

    5.The Bridge of Light นำเสนอโดย ผศ.ดร. จรรยาพร สไตเลอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมแสงสว่าง (LRIC) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

    จัดวางศิลปะแสงไฟในพื้นที่สาธารณะ ที่ดึงดูดให้ชุมชนและคนทั่วไปเข้ามาใช้ประโยชน์ในยามค่ำคืนเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายเสริมความปลอดภัยและความรู้สึกปลอดภัยต่อการใช้งานสะพานเขียวอีกด้วย

    การดำเนินงานตอนนี้ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงปลายปี 2564 พร้อมเปิดให้ใช้งานในช่วงปี 2565

    ขอบคุณภาพ