ส่องค่าครองชีพใน 6 เมืองหลวงของ 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021
iPrice สำรวจเมืองหลวงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าครองชีพ ถูกที่สุด ปี 2021
จากการเก็บข้อมูลของ ขนิษฐา สาสะกุล Content Marketing Lead Thailand ของ iPrice Group บริษัทวิจัยตลาดออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลจาก numbeo.com เว็บไซต์ที่ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มสำรวจกว่า 500,000 คน
และรวมข้อมูลที่ออกสำรวจด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีการอัปเดตข้อมูลปีละ 2 ครั้ง ทั้งเลือกเก็บข้อมูลจากอัตราค่าครองชีพที่สูงที่สุดในแต่ละประเภท
กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวต่างชาติ (คละสัญชาติ) ที่อาศัยอยู่ ณ เมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ ทั้งหมด 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
– กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
– โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
– จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
– มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
– กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
– สิงคโปร์
เพื่อหาประเทศที่มีค่าครองชีพ “ถูก” ที่สุด เฉลี่ยโดยประมาณต่อคน/เดือน ปี 2021
ทั้งนี้
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ เก็บข้อมูลในระดับชั้นประถมศึกษา และนำค่าเทอมรายปี มาเฉลี่ยเป็นรายเดือน
– น้ำอัดลม 0.33 ลิตร เก็บข้อมูลจากราคาที่ต่ำที่สุดที่มีจำหน่ายในร้านอาหารเท่านั้น
กรุงเทพฯ อันดับ 2 เมืองหลวงค่าครองชีพแพงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021
เริ่มจากกรุงเทพมหานคร จากการเก็บข้อมูลพบว่าชาวกรุงเทพฯ มีเงินเดือนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 26,502 บาท/เดือน แต่กลับมีค่าครองชีพโดยเฉลี่ยสูงถึง 33,032 บาท/เดือน
นับเป็นอันดับ 2 ของเมืองที่มีค่าครองชีพแพงสุด ใน 6 เมืองหลวงของ 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021
6 เมืองหลวงใน 6 ประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่าครองชีพ ถูกที่สุด ปี 2021
1. กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
– ค่าครองชีพเฉลี่ยรวม 24,566 บาท
– เงินเดือน 34,209 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 9,044 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 758 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 11 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 114 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 91 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 15 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 11,371 บาท/เดือน
ภาพรวม
– นับเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพถูกที่สุดใน 6 เมืองหลวงของ 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็น 2 ใน 6 เมืองหลวงจากภูมิภาคนี้ (อีกเมืองคือสิงคโปร์) ที่มีรายรับมากกว่ารายจ่าย
2.โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
– ค่าครองชีพเฉลี่ยรวม 25,396 บาท
– เงินเดือน 15,071 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 10,767 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 135 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 12 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 120 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 108 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 14 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 14,666 บาท/เดือน
ภาพรวม
– เป็นเมืองที่มีค่าเช่าที่พักอาศัยสูงที่สุด เมื่อนำมาเทียบกับเงินเดือน แต่มีข้อดีคือเป็นเมืองที่เหมาะกับการหางานแนวอีคอมเมิร์ซ หรือสตาร์ทอัพ เพราะมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือน (อ้างอิงจากงานวิจัย Map of E-commerce ของ iPrice Group) ยิ่งถ้ามีทักษะทางภาษา อาจลองยื่นเรื่องไปฝึกงาน หรือหางานที่มีตำแหน่งสูง ๆ ได้ไม่ยาก
3. จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
– ค่าครองชีพเฉลี่ยรวม 26,305 บาท
– เงินเดือน 14,922 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 9,610 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 216 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 11 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 108 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 108 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 13 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 9,733 บาท/เดือน
ภาพรวม
– เป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีค่าใช้จ่ายเกินรายรับ แต่มีข้อดีคือ มีค่าเช่าที่พักอาศัยน้อยที่สุด รองจากเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สำหรับค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถือว่ามีราคาน่าคบหา แม้จะไม่ถูกที่สุดในภูมิภาค แต่ก็อยู่ในเรตราคาต่ำ ไปถึงราคากลางเท่านั้น
4. มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
– ค่าครองชีพเฉลี่ยรวม 32,570 บาท
– เงินเดือน 12,277 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 14,137 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 325 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 16 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 78 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 162 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 16 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 9,750 บาท/เดือน
ภาพรวม
– เมืองที่เหมาะเป็นตัวเลือกสำหรับคนงบน้อย ที่อยากก้าวออกไปฝึกภาษาในต่างแดน และถึงแม้ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในมะนิลาจะมีราคาถูก แต่ก็เป็นเมืองที่มีอัตราเงินเดือนโดยเฉลี่ย น้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน
5. กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
– ค่าครองชีพ 33,032 บาท/เดือน
– เงินเดือน 26,502 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 12,942 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 1,040 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 10 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 150 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 150 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 15 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 25,000 บาท/เดือน
ภาพรวม
– เป็นเมืองที่มีรายจ่ายเกินรายรับพื้นฐานอยู่มากพอตัว มีค่าครองชีพหลักที่จำเป็นอื่น ๆ เช่น ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ที่สูงเป็นอันดับที่ 3 และค่าเดินทางก็สูงเป็นอันดับที่ 2 และเป็นเมืองที่มีค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติสูงเป็นอันดับ 1
6. สิงคโปร์
– ค่าครองชีพ 76,770 บาท/เดือน
– เงินเดือน 118,075 บาท/เดือน
– ค่าเช่าที่อยู่อาศัย 46,686 บาท/เดือน
– ค่าเดินทาง 1,869 บาท/เดือน
– ค่าน้ำดื่ม (1.5 ลิตร) 21 บาท/ขวด
– ค่าแมคโดนัลด์ (ชุดเซ็ตชีสเบอร์เกอร์) 175 บาท/เซ็ต
– ตั๋วหนัง 280 บาท/ใบ
– น้ำอัดลม (0.33 ลิตร) 28 บาท/ขวด
– ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ 9,840 บาท/เดือน
ภาพรวม
– ถึงแม้ค่าครองชีพจะสูง แต่ก็สมน้ำสมเนื้อกับรายรับ (เงินเดือนโดยเฉลี่ย) และรายจ่าย ทั้งเป็น 2 ใน 6 เมืองหลวงของ 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีรายรับมากกว่ารายจ่าย (อีกเมืองคือกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย)