การจัดระเบียบทางเท้าเพื่อคืนพื้นผิวจราจรให้ประชาชน เป็นนโยบายหลักของกทม. ล่าสุดดำเนินการขั้นเด็ดขาดยกเลิกจุดผ่อนผันหน้าห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว แต่สิ่งที่รัฐต้องพิจารณาต่อไปคือ ผลกระทบต่อชีวิตของคนเมือง ที่อาศัยร้านค้าหาบเร่แผงลอยในการดำรงชีวิต
กทม.ลุยต่อเนื่องจัดระเบียบทางเท้า
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ได้รับการโหวตให้เป็นมหานครแห่งสตรีทฟู้ด หรือ ‘เมืองหลวงแห่งร้านอาหารริมถนน’ 2 ปีซ้อนจากสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง CNN นับเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของกรุงเทพฯ ทว่าตั้งแต่ภาครัฐมีนโยบายจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยริมถนนและทางเท้า ด้วยมาตรการที่ค่อนข้างเด็ดขาดคือการยกเลิกจุดผ่อนผันหลายร้อยจุดในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี
ข้อมูลจากกองตรวจและปฏิบัติการพื้นที่ 1 สำนักเทศกิจ ระบุว่า จำนวนผู้ค้าหาบเร่แผงลอยของกรุงเทพมหานคร ในปี 2559 มีจุดที่ผ่อนผันแล้วทั้งสิ้น 241 จุด และมีจำนวนผู้ค้าทั้งสิ้น 10,464 ราย โดยพบว่า เขตที่มีผู้ค้าหาบเร่แผงลอยมากที่สุด ได้แก่ เขตพระนคร 1,399 ราย เขตดุสิต 950 ราย และเขตบางกอกน้อย 860 ราย (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 1 )
ล่าสุด กทม. ได้ลงไปจัดระเบียบทางเท้าบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และหน้าศูนย์การค้าเดอะวันพาร์ค ถนนพหลโยธินขาออกตลอดแนว โดยกำหนดให้วันที่ 29 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นพื้นที่ต้องสะอาดปราศจากผู้ค้า เพื่อคืนทางเท้าและคืนพื้นผิวจราจรให้กับพี่น้องประชาชนได้สัญจรอย่างสะดวกและปลอดภัย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับวันละ 2,000 บาท ตามกฎหมายรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองปี 2535
ซึ่งหลังจากนั้น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกมาโพสต์ข้อความขอบคุณในความร่วมมือของผู้ค้าผ่านเฟซบุ๊ก “ผู้ว่าฯ อัศวิน” และกล่าวเพิ่มเติมถึงสถานที่ค้าขายแห่งใหม่ว่า กทม.ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตจตุจักร ประสานการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอจัดสรรพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพื่อรองรับผู้ค้ากลุ่มนี้ต่อไป
โดยก่อนหน้านี้ กทม.ลุยจัดระเบียบทางเท้าอย่างจริงจังในหลายพื้นที่แล้ว อาทิ ย่านรามคำแหง ราชประสงค์ ปากคลองตลาด คลองถม และสยามสแควร์
ผลกระทบคนกรุง หลังไร้หาบเร่แผงลอย
แม้เหตุผลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเท้า รวมทั้งความเดือดร้อนของผู้อยู่อาศัยหรือร้านค้าที่หาบเร่แผงลอยไปตั้งอยู่หน้าร้านจะเป็นเรื่องจริงและเข้าใจได้ว่าต้องได้รับการแก้ไข แต่เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของการมีหาบเร่แผงลอย รวมทั้งผลกระทบต่อชีวิตของเหล่าแม่ค้าพ่อค้าหลายร้อยหลายพันชีวิต จึงเป็นเรื่องที่รัฐไม่ควรมองข้าม
ดร.สมชัย จิตสุชน และนายชาคร เลิศนิทัศน์ แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยผลวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และองค์กร WEIGO พบว่า กลุ่มลูกค้าสำคัญของหาบเร่แผงลอยในกทม. คือ พนักงานออฟฟิศ เจ้าหน้าที่รัฐ นักเรียนนักศึกษา รวมไปถึงผู้ใช้แรงงาน โดยร้อยละ 60 ของประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาทต่อเดือน จะมีการซื้อของจากร้านหาบเร่แผงลอยทุกวัน ซึ่งหากร้านค้าหาบเร่แผงลอยหายไป คนกลุ่มดังกล่าวจะต้องซื้ออาหารในราคาที่แพงขึ้นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเดือนละ 357 บาท หรือมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับต่อวัน
นอกจากเรื่องของค่าครองชีพแล้ว หาบเร่แผงลอยยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะช่วยดึงดูดให้ผู้คนสัญจรผ่านในพื้นที่ ทำให้ไม่กลายเป็นพื้นที่เปลี่ยว และภาคธุรกิจใกล้เคียงได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น ในพื้นที่ปากคลองตลาด การมีอยู่ของร้านหาบเร่แผงลอยที่ขายดอกไม้เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนและจับจ่ายในช่วงเวลากลางคืน ดังจะเห็นได้จากการยกเลิกพื้นที่ขายดอกไม้บนทางเท้าเมื่อปี 2559 ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในบริเวณดังกล่าวที่ลดจากเดิมมากถึงร้อยละ 70
อีกทั้งความคึกคักของทางเดินเท้ายังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับชุมชน เช่น พื้นที่ซอยรางน้ำที่เป็นซอยลึกแต่มีการสัญจรไปมาของผู้คนตลอดเวลาทำให้ไม่เปลี่ยวร้าง
ส่วนในด้านผลกระทบต่อชีวิตของแม่ค้าพ่อค้าหาบเร่แผงลอยนั้น งานวิจัยของ ม.ธรรมศาสตร์ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ค้ามีอายุมากกว่า 40 ปี โดยส่วนหนึ่งเป็นผู้หญิงและจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทำให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นน้อยมาก การยกเลิกจุดผ่อนผันที่ผ่านมาจึงทำให้ชีวิตคนเหล่านี้มีความลำบาก มีหนี้สินเพิ่มขึ้น มีความเครียด และอาจมีอาการทางจิตตามมา
ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงแนวทางแก้ปัญหาของภาครัฐในเรื่องนี้ เพื่อตอบโจทย์ภาครัฐทั้งเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของผู้สัญจร เช่น กำหนดให้ต้องมีช่องว่างอย่างน้อย 1 เมตรบนทางเท้า และตอบโจทย์ผู้ค้าให้ยังสามารถขายในพื้นที่เดิมได้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาตามมาคือ ผู้ค้าจะสามารถปฏิบัติตามระเบียบได้หรือไม่ เพราะจากที่ผ่านมา หลังจากดีเดย์เพียงไม่กี่วัน พ่อค้าแม่ค้าก็กลับมาวางขายเกะกะทางเท้าเหมือนเดิม ฉะนั้น ผู้ค้าเองอาจต้องมีการรวมตัวเพื่อดูแลควบคุมกันเอง มีการลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด แบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ที่อาจเบื่อหน่ายในการมาไล่จับผู้กระทำผิด ช่วยกันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ค้าหาบเร่และสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมโดยรวม
เพราะการแก้ปัญหาความไม่เป็นระเบียบบนทางเท้าซึ่งเรื้อรังมานาน ไม่ใช่หน้าที่ของ กทม. เพียงฝ่ายเดียว หากเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการเด็ดขาดจนเกินไปอาจก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคม หรือไปกลบเสน่ห์ของเมืองสตรีทฟู้ดที่กำลังถูกโปรโมททั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและพ่อค้าแม่ค้า ในการกำหนดกฎระเบียบที่ตอบโจทย์ทุกฝ่าย เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ทั้งน่าอยู่และน่าท่องเที่ยวแบบยั่งยืนสืบไป
[English]
Bangkok and Efforts to Rein in Street Vendors
Executives of the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) have made the restoration of pavements to pedestrians one of their main policies but their job won’t be done with the cleaning up of the space as they are to think of how such a change will affect city dwellers and street vendors.
For two years in a row, Bangkok has been voted as the city of street food by CNN and this recognition simply reflected the charm and the uniqueness of the Thai capital city. But, the BMA is pushing with its policy to put order on pavements, particularly by cancelling all special zones for street vendors in 2-3 years.
Official data shows there were 241 zones in Bangkok, where 10,464 street vendors were allowed to do business in 2016.
But, that number has been coming down.
For instance, the BMA recently announced that the pavements in front of CentralPlaza Ladprao and The One Park shopping mall must be free of street vendors from May 29 onwards and violators will be subject to a daily fine of 2,000 baht.
While efforts to promote cleanliness and safety of pedestrians as well as to resolve conflicts with businesses that have been visually blocked by street vendors are commendable, it is inevitable for the government to realize how the removal of these vendors may affect the livelihood of hundreds of thousands of street merchants as well as countless ordinary consumers.
A research led by Thammasat University and WIEGO group suggested around 60% of people with monthly earning of 9,000 baht or lower buy something from street vendors every day and the disappearance of such options could mean each will have to bear additional monthly expense of 357 baht.