รายงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” ของ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) พบว่าหลากหลายปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกกังวล ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ 3 สิ่งน่าสนใจ
โควิด-19 อันดับ 1 ปัจจัยที่ทำให้คนไทยวิตกกังวล และรู้สึกถึงความไม่แน่นอนในชีวิต
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เผยรายงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” พบปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้คนไทยเกิดความกังวล และรู้สึกถึงความไม่แน่นอน มีดังนี้
– โควิด-19 ร้อยละ 76.8
– อันตรายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่น PM2.5 ไอเสีย ขยะล้นโลก ฯลฯ ร้อยละ 74.6
– ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และความเห็นต่างกันในสังคม ร้อยละ 65
– ค่าครองชีพสูง และความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อยละ 64
– ไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ร้อยละ 62.8
– การเมืองที่มีสถานการณ์อันส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน ร้อยละ 62.6
สำรวจเผย Gen X มีความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดมากที่สุด
ขณะที่ข้อมูลยังเผยให้เห็นว่ากลุ่มคนเจนเอ็กซ์ (Gen X), กลุ่มคนเบบี้
บูมเมอร์ (Baby Boomer), กลุ่มคนเจนวาย (Gen Y) และกลุ่มคนเจนซี (Gen Z) มีความกังวลเกี่ยวกับด้านโรคระบาดมากที่สุด
Social Distancing ทำให้คนไทยหันมาพึ่งสายมูมากขึ้น
ประกอบกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทยในทุกกลุ่มเจเนอเรชัน ต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึก จนเกิดปรากฏการณ์ 3 สิ่ง ได้แก่
– หันหน้าพึ่งสายมู หรือมีความเชื่อโชคลาง (Superstitious)
– เกิดความเชื่อในอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)
– นิยมพูดคุยคลายเหงาในคอมมูนิตี้ออนไลน์ (Online Community)
5 อันดับความเชื่อโชคลาง ที่มีผลต่อคนไทยมากสุด
โดยที่ 5 อันดับความเชื่อโชคลางที่มีผลต่อคนไทยมากที่สุด ได้แก่
1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี
2.พระเครื่องวัตถุมงคล
3.สีมงคล
4.ตัวเลขมงคล
5.เรื่องเหนือธรรมชาติ
คนไทยติดตามข้อมูลด้านโชคลาง ผ่านโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ ร้อยละ 73.8
และมีการติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับของสายมู หรือมีความเชื่อโชคลาง (Superstitious) ได้แก่
– โซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ ร้อยละ 73.8
– บุคคลรอบข้าง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง ร้อยละ 59.6
– ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ ร้อยละ 29.7
– หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ร้อยละ 20.1
– สื่อโทรทัศน์ และวิทยุ ร้อยละ 19.6
อินฟลูเอนเซอร์ เข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยมากขึ้น
ทั้งยังพบข้อมูลว่า อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ได้เข้ามามีอิทธิพล และผลต่อการรับรู้ และวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งเหตุผลที่ติดตาม ได้แก่
– เพราะเนื้อหา ร้อยละ 81.9
– เพราะรูปแบบการนำเสนอ ร้อยละ 69.2
– เพราะความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 45.3
ยูทูบ แพลตฟอร์มอันดับหนึ่ง ที่คนไทยใช้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์มากสุด
ขณะที่แพลตฟอร์มซึ่งคนไทยใช้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์มากที่สุด ได้แก่
1.ยูทูบ (Youtube)
2.เฟซบุ๊ก (Facebook)
3.อินสตาแกรม (Instagram)
Social Distancing ทำให้คนไทย เข้าสู่ออนไลน์คอมมูนิตี้มากขึ้น
ส่วนความกังวล และสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทย เข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์คอมมูนิตี้ (Online
Community) มากขึ้น ผ่านหลากหลายกลุ่ม เช่น
1.กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม
2.กลุ่มท่องเที่ยว
3.กลุ่มครอบครัว
4.กลุ่มสุขภาพและความงาม
5.ความบันเทิง ดนตรี ภาพยนตร์
6.ธรรมชาติ
7.ชอปปิ้ง
8.การศึกษา
9.การเงินและการลงทุน
10.สัตว์เลี้ยง
โดยกลุ่มคนเบบี้ บูมเมอร์ส่วนใหญ่ ให้ความสนใจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงกลุ่มสุขภาพและความงาม ผ่านการรับรู้ข้อมูลบนแฟลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และไลน์
กลุ่มคนเจนเอ็กซ์ และกลุ่มคนเจนวาย มีความสนใจกลุ่มอาหาร และเครื่องดื่มรวมถึงการท่องเที่ยวผ่านบนแฟลตฟอร์มไลน์ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม
ส่วนกลุ่มคนเจนซี สนใจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการศึกษาผ่านบนแฟลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม โดยการมีส่วนร่วมในคอมมูนิตี้ ได้แก่
– ติดตามและกดไลค์ ร้อยละ 72.9
– แชร์ข้อมูล ร้อยละ 44.6
– แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 37.2
– ซื้อ-ขายสินค้า ร้อยละ 24.4