เผยผลวิจัย Customer Journey ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดย AMSAR นิเทศ ม.หอการค้าไทย ในการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภค ภายใต้การสื่อสารการตลาดของซูเปอร์มาร์เก็ตบนวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ผู้บริโภคมากกว่าครึ่ง เปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
ผลการวิจัยเปรียบเทียบข้อมูลการสื่อสารการตลาดของซูเปอร์มาร์เก็ตคู่แข่งก่อนตัดสินใจซื้อ พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่งเปรียบเทียบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้นจากก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเกือบทุกด้าน โดยเปรียบเทียบในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ ได้แก่
1. โปรโมชั่น 1 แถม 1 สินค้าพรีเมียม
2. การใช้วัตถุดิบในประเทศ
3. ประโยชน์ของสินค้าสุขภาพ
4. สินค้าลดราคา
5. ความสะอาด/ปลอดภัย
อีกทั้ง 5 เหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ตในระดับมาก ได้แก่ 1. การเพิ่มช่องทางชำระเงินออนไลน์/แอปพลิเคชัน 2. คูปองส่วนลด 3. โปรโมชั่น 1 แถม 1 สินค้าพรีเมียม 4. คูปองส่วนลดจากร้านค้าพันธมิตร 5. การลดราคาช่วงนาทีทอง โดยช่องทางที่คนซื้อ คือ 1. การชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่น 2. การชำระเงินออนไลน์ 3. เคาน์เตอร์สาขาในซูเปอร์มาร์เก็ต 4. เฟซบุ๊ก ตามลำดับ
การบอกต่อหลังการซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตในช่วงโควิด-19
จากผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีการบอกต่อหลังการซื้อสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตได้แก่ 1.โปรโมชั่นกับคนรอบข้าง 2. ประสบการณ์การซื้อ 3. แชร์โปรโมชั่นลดราคา 4. การได้รับคูปองส่วนลด โดยช่องทางการบอกต่อในที่ส่วนตัว คือ บอกต่อเพื่อน – ญาติ ในขณะที่ผู้บริโภคมีการรีวิวประสบการณ์การซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมในระดับปานกลาง
ผู้บริโภคหันใช้ช่องทางออนไลน์ในการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงโควิด-19
ขณะเดียวกัน ช่องทางการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันและออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ โดยผลการวิจัย พบว่า การเพิ่มช่องทางชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นและออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.80 รองลงมาก คูปองส่วนลด อย่างไรก็ดีผลการศึกษา ก็ยังพบว่า ผู้บริโภคยังซื้อซ้ำผ่านสาขาซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.50 ซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.5 เพราะมีความพึงพอใจหลังซื้อ การได้รับคูปองส่วนลด และรู้สึกปลอดภัยจากการใช้บริการ
ผลวิจัยชี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปโดยเฉพาะการซื้อซ้ำ
จากผลการศึกษาการสื่อสารของซูเปร์มาร์เก็ต เช่น การรับรู้ การเปรียบเทียบ การตัดสินใจซื้อ การแสดงความชื่นชอบ การซื้อซ้ำ และการบอกต่อ พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการซื้อซ้ำที่เปลี่ยนมากที่สุด รองลงมาคือการบอกต่อหลังการซื้อ และการกลับมาซื้อซ้ำ เพราะได้รับส่วนลด รวมไปถึงพนักงานดูปลอดภัยจากโรค
นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วงมีการแพร่ระบาดโควิด-19 ผู้บริโภคติดตามข่าวสารและรับรู้การสื่อสารการตลาดของซูเปอร์มาร์เก็ตด้านมาตรการความปลอดภัย เพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆ โดยผู้บริโภครับรู้ด้านพนักงานสวมใส่หน้าอนามัยตลอดเวลา เพิ่มขึ้นจากก่อนการแพร่ระบาดของโรคร้อยละ 76.36 รองลงมารับรู้ด้านการเว้นระยะห่าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.36 และสินค้าลดราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.60 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะผู้บริโภครับรู้มาตรการหยุดเชื้อ อยู่บ้าน จึงติดตามข่าวสารมาตรการป้องกันโรคระบาดของซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างใกล้ชิด