ปัจจุบันการวิ่งได้รับนิยมอย่างมากล่าสุดมีนักวิ่งไทยถึง 15 ล้านคนขณะที่ปี 61 จัดวิ่งมาราธอนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์คาดเม็ดเงินสะพัดเฉียด 5 พันล้านบาทส่งให้ธุรกิจรองเท้าวิ่งเติบโตแต่มาตรฐานการจัดงานวิ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาตามให้ทัน
ประเทศไทยมีนักวิ่ง 15 ล้านคนปัจจุบันกระแสการออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นที่นิยมของคนไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อดูสถิติตัวเลขนักวิ่งในไทยจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าในปี 2560 มีจำนวนกว่า 15 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีอยู่ 12 ล้านคน และหากเปรียบเทียบจากปี 2545 ปีแรกๆที่ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) รณรงค์ให้มีการวิ่งออกกำลังกายซึ่งพบว่ามีนักวิ่งประมาณ 5.8 ล้านคนจึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่านักวิ่งในไทยเพิ่มอย่างก้าวกระโดด
คุณณรงค์เทียมเมฆผู้ทรงคุณวุฒิสสส. ได้อธิบายถึงความนิยมในการออกกำลังกายด้วยการวิ่งของคนไทยว่า ก่อนหน้านี้คนที่วิ่งออกกำลังจะนิยมในกลุ่มผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปแต่หลังจากปี 2555 เริ่มมีคนหนุ่มสาวออกมาวิ่งมากขึึ้นจากการฉายภาพยนตร์เรื่องรัก 7 ปีดี 7 หน ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญมาจากปรากฏการณ์ที่พี่ตูนบอดี้สแลมวิ่งระดมทุนโครงการก้าวคนละก้าวทั้ง 2 ครั้งจากกรุงเทพฯ-บางสะพานและเบตง-แม่สายรวมถึงกระแสการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียซึ่งประมาณการตัวเลขผู้ที่วิ่งประจำมีอยู่ 10% ของนักวิ่งทั้งหมด
ปี 61 ไทยจัดมาราธอนเฉียด 1,000 รายการ
ขณะที่นักวิ่งในไทยมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นยังส่งผลให้มีการจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จากการรวบรวมข้อมูลรายการวิ่งทั่วประเทศที่ประกาศผ่านทางเว็บไซต์วิ่งไหนดีทั้งมินิมาราธอนฮาล์ฟมาราธอนมาราธอนรวมทั้งเทรลพบว่าในปี 2561 มีการจัดงานวิ่งทั้งหมด 990 รายการเฉลี่ยสัปดาห์ละ 19 รายการนับว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของการจัดงานวิ่งในไทยทุบสถิติในปี 2560 ที่มีการจัดแข่ง 696 รายการหรือเพิ่มขึ้นมากถึง 294 รายการ
หากประเมินมูลค่าดำเนินการจัดการแข่งขันวิ่งขั้นต่ำในระดับมินิมาราธอน 5-10 กม. อยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท/รายการฮาล์ฟมาราธอน 21 กม. ประมาณ 2 ล้านบาท/รายการและมาราธอน 42.195 กม. ประมาณ 5 ล้านบาท/รายการประมาณการมูลค่าการจัดงานวิ่งในไทยปีนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดรวมกันกว่า 729 – 4,950 ล้านบาท ซึ่งค่าดำเนินการจัดการแข่งขันจะถูกนำไปใช้จ่ายในส่วนต่างๆทั้งเสื้อประจำการแข่งขันเหรียญที่ระลึกของรางวัลอาหารและเครื่องดื่มรวมถึงค่าจ้างเจ้าหน้าที่สนามกรรมการจราจรหน่วยแพทย์ไปจนถึงพนักงานทำความสะอาดนับเป็นการกระจายรายได้ไปสู่หลายภาคส่วน
หนุนธุรกิจรองเท้าวิ่งรุ่ง
อานิสงส์จากทั้งตัวเลขนักวิ่งและการจัดการแข่งวิ่งมาราธอนที่มีมากขึ้นนั้นได้ส่งต่อให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตเป็นเงาตามตัวคุณนรภัทรทรัพย์สุขดี Senior Brand Manager จาก Ari ตัวแทนจำหน่ายรองเท้าวิ่งรายใหญ่ในไทยเปิดเผยว่าปัจจุบันเทรนด์การบริโภคสินค้าประเภทรองเท้าวิ่งมาจากกลุ่มนักวิ่งใหม่หรือ Beginner ในสัดส่วนที่มากกว่านักวิ่งประจำหรือ Serious Runner ขณะที่แบรนด์ผู้ผลิตรองเท้าวิ่งต่างกำลังหันมาให้ความสนใจในการออกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงมากขึ้นโดยที่ Ari Running ได้ดำเนินธุรกิจมากว่า 5 ปีมีการเติบโตปีละ 30% สำหรับปีที่ผ่านมาสามารถจำหน่ายรองเท้าวิ่งได้กว่า 10,000 คู่คิดเป็น 10% ของภาพรวมตลาดรองเท้าวิ่งในประเทศไทยที่ประมาณการว่ามีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี
ไทยออก “มาตรฐานงานวิ่ง” แล้ว
แม้วงการวิ่งมาราธอนในเมืองไทยกำลังขับเคลื่อนไปข้างหน้าหากแต่ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้คือเรื่องการจัดกิจกรรมงานวิ่งจากกรณีที่มีบางรายการไม่มีความพร้อมในการจัดการที่ดีพออย่างเรื่องจุดบริการน้ำดื่มระหว่างเส้นทางแข่งขันหรือแม้แต่การยกเลิกการจัดงานเพียงไม่กี่วันก่อนวันแข่งขันเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดคำถามถึงเรื่องมาตรฐานการจัดงานวิ่ง
พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะรองนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการสสส. เปิดเผยว่าปีนี้ประเทศไทยมีการจัดกิจกรรมวิ่งกว่า 1,000 รายการโดยแต่ละรายการแข่งขันมีนักวิ่งกว่า 1 หมื่นคนในแง่ของผู้จัดก็หลากหลายเช่นกันแต่มีประสบการณ์ในการจัดงานวิ่งที่แตกต่างกันดังนั้นเมื่องานวิ่งเติบโตขึ้นผู้จัดงานอาจไม่ทราบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงจนส่งผลกระทบกับนักวิ่งนับล้านคน
สสส. ร่วมกับสมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทยและสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้มีการจัดทำข้อปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนน(Best Practices for Organizing Road Race) ซึ่งได้ยึดหลักการของสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ(International Association of Athletics Federations: IAAF) เพื่อเป็นแนวมาตรฐานในการจัดกิจกรรมวิ่งที่ยึดหลัก Safe–Fair–Fun
โดยมีประเด็นหลักคือ Safe (ความปลอดภัย) เช่นการปิดถนนการจราจรความปลอดภัยของพื้นผิวถนนการแพทย์และพยาบาลการประกันอุบัติเหตุการให้ความรู้กับนักวิ่งหน้าใหม่การอบรมการวิ่งโดยการทำคลินิกนักวิ่งเพื่อให้นักวิ่งเตรียมความพร้อมร่างกายให้แข็งแรงการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน CPR การป้องกันการบาดเจ็บเพื่อช่วยเหลือทั้งตัวนักวิ่งเองและผู้อื่นการจัดการน้ำดื่มเป็นต้น Fair (ความยุติธรรมความเท่าเทียมกัน) คือการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิ่งที่จัดการรับสมัครที่เป็นระบบมีการบันทึกข้อมูลระบบการจับเวลาที่เป็นมาตรฐานสามารถทราบผลการวิ่งได้ทันทีที่เข้าเส้นชัยและ Fun (ความสนุกสนาน) โดยหลักการของนานาชาติอนุญาตให้มีการสร้างสีสันการแสดงประจำท้องถิ่นและนักวิ่งแฟนซีเพื่อสร้างความบันเทิงระหว่างเส้นทางวิ่ง
อย่างไรก็ตามข้อปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนนที่ออกมายังเป็นเพียงการแนะนำให้ผู้จัดการงานวิ่งไปใช้เพื่อการจัดแข่งขันที่เป็นไปตามมาตรฐานและให้นักวิ่งนำไปศึกษาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเข้าร่วมแข่งขันหากแต่ยังไม่ได้มีผลบังคับใช้หรือกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้จัดงานที่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติซึ่งหลังจากนี้สมาพันธ์ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทยและสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์กำลังเตรียมหารือเพื่อป้องกันปัญหาในการจัดงานวิ่งในอนาคต
เมื่อดูหลักการของ IAAF พบว่าจะมีการมอบป้ายรับรองแก่งานแข่งขันวิ่งประเภทถนนทั่วโลกซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับได้แก่ Gold Label Silver Label และ Bronze Label ที่นับว่าเป็นเครื่องยืนยันถึงมาตรฐานในการจัดงานวิ่งระดับสากลซึ่งอาจเป็นแนวทางที่ไทยนำมาปรับใช้เพื่อรับรองการจัดงานวิ่งในอนาคตทั้งนี้หากการจัดงานวิ่งมีความเคร่งครัดให้เป็นไปตามมาตรฐานผลดีก็จะมีต่อตัวนักวิ่งไทยที่ได้ร่วมงานด้วยความสุขและที่สุดประโยชน์ก็จะย้อนกลับมายังชุมชนหรือหน่วยงานที่มีการจัดงานวิ่งรวมทั้งผลดีต่อประเทศในแง่เศรษฐกิจด้วย
__________
พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ – ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
“สสส. ได้จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมงานวิ่งเพื่อสุขภาพเป็นแนวมาตรฐานในการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อหน่วยงานที่สนใจใช้เป็นคู่มือในการจัดกิจกรรมวิ่งได้ดังนั้นสิ่งที่นักวิ่งควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆในการตัดสินใจเลือกลงสมัครงานวิ่งคือเรื่องความปลอดภัยความยุติธรรม-ความเท่าเทียมและความสนุกสานโดยสามารถศึกษาข้อมูลจากคู่มือเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้จัดงานวิ่งอย่างได้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ”
อธิวัฒน์อภิเลิศรุ่งรัตน์ – นักวิ่งสมัครเล่น
“การตัดสินใจเข้าร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอนแต่ละรายการส่วนใหญ่จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการจัดงานอย่างวิ่งเพื่อการกุศลวิ่งเพื่อเสือดำรวมทั้งของที่ระลึกเสื้อแข่งเหรียญรางวัลที่ต้องมีการออกแบบมาอย่างสวยงามแต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมการจัดงานวิ่งบางรายการยังไม่มีมาตรฐานที่ดีพอไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะทางการวิ่งจุดบริการที่ไม่ตรงตามกำหนดซึ่งมีผลต่อร่างกายผู้วิ่งหรืออาหารและเครื่องดื่มหลังจากวิ่งเสร็จก็เป็นเรื่องหนึ่งที่นักวิ่งพูดคุยกันถ้าบริหารจัดการดีก็จะเป็นที่ประทับใจเพราะค่าสมัครแต่ละรายการใช้เงิน 500-1,000 บาท”
[English]
Millions of Thai Current into Running/Marathon
Thai people have increasingly made running and marathon a preferred choice of exercise and Mahidol University said the number of runners have grown to over 15 million in 2017 from some 12 million reported in 2016.
The Thai Health Promotion Foundation said that, runners have mostly been people aged over 40 years until 2012, when more younger runners showed up, partly due to the popularity of of a Thai blockbuster “Seven Something” (Rak Jed Pee, Dee Jed Hon). Then, when Thai rocker, Artiwara “Toon” Khongmalai, completed his fund-raising marathon in late 2017, that number just soared further.
A survey found there have been 990 of them planned in 2018, compared with 696 programs taken place in 2017. It was estimated that this year’s programs would be be worth between 729 million and 4.95 billion baht.
Ari, a leading distributor of various brands of running shoes, said that many more designs of running shoes have been introduced to runners as proven by its business growth rate, which has been rising constantly over the past five years and stood at 30% in 2017, while the running shoes business is currently estimated to be worth around 10 billion baht a year.
As the popularity of running and marathon has been on a rise, concerns over the standards of each program have also been growing, especially after some programs were found to be improperly organized and some got cancelled a few days before the scheduled dates.
The Thai Health Promotion Foundation already worked with related groups to introduce the Best Practices for Organizing Road Race, which has been based on International Association of Athletics Federations (IAAF) and focusing on the principle of “Safe-Fair-Fun.”