Sunday, June 11, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    เมื่อความศรัทธาหลอมรวมกับการพัฒนา สู่การสร้างตำหนักเจ้าแม่ทับทิมบนพื้นที่อุทยาน 100 ปี

    ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ความศรัทธาที่อยู่คู่ชาวชุมชนสามย่านมาเนิ่นนานกว่าครึ่งศตวรรษ เตรียมย้ายที่ประทับสู่อุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    เปิดประวัติความเป็นมาศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง

    จากการเล่าขานของคนในชุมชนสามย่าน ศาลเจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่บนพื้นที่สะพานเหลือง ณ บริเวณซอยจุฬาลงกรณ์ 30 แห่งนี้ มาตั้งแต่ปี พ.. 2505 อีกทั้งมีหลักฐานว่า กระถางธูปพระราชทาน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานแก่ศาลเจ้าแม่ทับทิม มาตั้งแต่ปี พ.. 2454


    ข้อมูลจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมระบุว่าเจ้าแม่ทับทิมเป็นเทวดาจีนที่สำคัญองค์หนึ่งในไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาช้านานจนกลมกลืนกลายเป็นเทพสำคัญองค์หนึ่งของไทยนามแม่ย่านางแต่ในภาคที่เป็นเทพนารีของจีนเรียกกันว่าเจ้าแม่ทับทิมจึงกล่าวได้ว่าแม่ย่านางของไทยมีที่มาจากเจ้าแม่ทับทิมของจีนนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม แม้ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ได้รับความศรัทธาจากคนในชุมชนมากว่าครึ่งศตวรรษ ทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดังและศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ศาลไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถาน ชนิดศาลเจ้าในกรุงเทพมหานคร ปี พ.. 2554 จึงอาจเกิดปัญหาของการอนุรักษ์ศาลเจ้าตามมาได้

    จุฬาฯ สร้างศาลเจ้าแม่ทับทิม ณ อุทยาน 100 ปีศูนย์รวมทางใจแห่งใหม่ใกล้ชุมชน

    ล่าสุด สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมดำเนินการปรับปรุงพื้นที่บริเวณหมอน 33 อันเป็นที่ตั้งเดิมของศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยของนิสิตและบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่ชุมชนอัจฉริยะ “Smart Living” เพื่อสร้างย่านที่พักอาศัยที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนและส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่สู่สังคมเมือง

    โดยมีการพูดคุยหารือร่วมกันมาเมื่อ 2 ปีที่แล้วและติดตามเรื่องตลอดมา ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ได้ออกหนังสือขอให้ผู้ดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ย้ายออกจากพื้นที่บริเวณหมอน 33 เพื่อเตรียมการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว

    อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการอนุรักษ์และเสริมสร้างวัฒนธรรมสืบต่อไป สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ จึงดำเนินการสร้างพื้นที่ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่ โดยเชิญนักออกแบบและทีมก่อสร้างเชิงอนุรักษ์นิยมที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ คำนึงถึงความดั้งเดิมพร้อมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยและหลักฮวงจุ้ยที่มีผู้เชี่ยวชาญให้การแนะนำ ในพื้นที่สวยงามแห่งใหม่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งห่างจากที่เดิมเพียง 250 เมตรเพื่อให้เป็นศูนย์รวมทางใจแห่งใหม่ใกล้ชุมชนสะดวกสะอาดปลอดภัยใส่ใจสุขภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

    ตำหนักเจ้าแม่ทับทิม สถาปัตยกรรมร่วมสมัย แห่งอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ

    สำหรับศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่นี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกบริเวณทางเข้าสู่ลานอเนกประสงค์ ของอุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยใช้วัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมสะอาดปลอดภัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนในชุมชนและคนที่ศรัทธามาสักการะคงแนวความคิดของสถาปัตยกรรมจีนเช่นเดิมประกอบด้วย

    • ประตูหน้าศาลเจ้าซ่อมแซมของเดิมและปรับปรุงให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้านซ้ายและด้านขวามีเสาลอยรับหลังคาทางเข้าคงรูปภาพที่เล่าเรื่องเซียนด้วยปูนปั้นซึ่งใช้วิธีการอนุรักษ์ในการนำของเดิมมาใช้ประดับใหม่
    • ด้านในเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้ามีการนำคำสอนที่จารึกในศาลเจ้าเก่ามาประดับไว้ที่เสาเช่นเดิมพร้อมทั้งเพิ่มเติมในส่วนของคำแปลให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจถึงคำสอนต่างๆ
    • หลังคามีการปรับเปลี่ยนเป็นหลังคา Skylight นำแสงเข้าสู่บริเวณที่บูชาด้านซ้ายขวาเป็นซุ้มมังกรเขียวเสือขาวโดยบูรณะซ่อมแซมบางส่วนเพื่อความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้านข้างนี้เปิดหลังคาให้ลมพัดผ่านได้เป็นการระบายอากาศทิศเหนือทิศใต้ด้วยระบบเปิดใช้ลมธรรมชาติซุ้มทางเข้ายกเป็นสามตับมีลวดลายมังกรคู่เล่นแก้วประดับอยู่บนสันหลังคาโค้งสำเภามีลายดอกไม้จีนประดับแทรกอยู่กับเกลียวคลื่นด้านข้างสันหลังคามีอุบะปูนปั้นดอกไม้ร้อยเลียนแบบเครื่องมงคลจีน

    • การสักการบูชา ปรับเปลี่ยนจากการจุดธูปเทียนแบบเดิมที่มีฝุ่นควัน โดยคำนึงถึงการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องบูชาโคมประทีปแบบไฟฟ้าไร้ควัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ส่วนลานสำหรับประกอบพิธีกรรมและตั้งเตาเผากระดาษเงินกระดาษทองสำหรับศาลเจ้าที่ไร้มลพิษและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจะออกแบบโดยอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    อนุรักษ์พัฒนาหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว

    ทั้งนี้ ในส่วนของการก่อสร้างตำหนักแม่ทับทิมแห่งใหม่ได้ เป็นผลงานจากศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 14 ซึ่งมีมีความรู้ทางด้านอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปวัฒนธรรมโบราณมีความชำนาญและมีความเข้าใจขนบธรรมเนียมแบบจีนเป็นอย่างดีพร้อมทั้งได้รับการไว้วางใจให้สร้างผลงานด้านการอนุรักษ์ที่ทรงคุณค่าต่างๆภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลากหลายสถานที่อาทิการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์สองรัชกาลเรือนไทยจุฬาซ่อมแซมเทวาลัยหอประชุมจุฬาตึกจักรพงษ์เป็นต้น

    รวมทั้งได้รับการสำรวจและศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 สาขาสถาปัตยกรรมไทยมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ละเอียดอ่อนด้วยการทำการรังวัดเก็บสภาพประเมินคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี

    กระบวนการและขั้นตอนการย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมที่จะอัญเชิญไปที่แห่งใหม่บริเวณ ด้านหน้าอุทยาน100 ปีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่อุดมสมบูรณ์ศาลเจ้าหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออกด้านหน้าตำหนักเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่โดยได้รับการดูแลจากซินแสที่มีความชำนาญและให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน

    โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือตำหนักเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่นี้ เกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีความพร้อมทั้งบรรยากาศที่ดีโดยรอบมีความร่มเย็น ติดถนนใหญ่ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งที่จอดรถในร่ม ห้องน้ำ มีความพร้อมสำหรับผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาสักการบูชา คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563 โดยในระหว่างนี้มีการจัดพื้นที่สำหรับอัญเชิญเจ้าแม่ทับทิมสู่ที่ประทับชั่วคราวเพื่อยังคงสามารถเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง


    ขอบคุณภาพจาก สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU)