สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานที่มีอายุ 20-55 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1,225 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5–23 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 57.12 เป็นหญิง และร้อยละ 42.88 เป็นชาย
เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
ร้อยละ 23.59 มีอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 32.9 มีอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 27.59 มีอายุ 40-49 ปี และ
ร้อยละ 15.92 มีอายุ 50-55 ปี
ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 39.68 เป็นโสด ร้อยละ 54.84 สมรสแล้ว และร้อยละ 5.48 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่
ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 17.56 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 65.72 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 16.72 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
ร้อยละ 30.26 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 34.38 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 10.86 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท
ร้อยละ 13.57 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
ร้อยละ 10.93 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท
สำหรับอาชีพ พบว่า
ร้อยละ 55.16 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.77 อาชีพค้าขาย
ร้อยละ 4.55 อาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.18 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
ร้อยละ 16.35 อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
ร้อยละ 0.99 อาชีพอื่นๆ เช่น สถาปนิก นักศึกษา
ผลการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่า
คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 63.35 ระบุรับประทานอาหารครบทุกมื้อ และอีกร้อยละ 36.65 ระบุรับประทานเป็นบางมื้อ
โดยร้อยละ 50.56 ระบุไม่ค่อยรับประทานมื้อเช้า เพราะไม่มีเวลา ตื่นสาย ไม่หิว ควบคุมน้ำหนัก ไม่หิว เป็นต้น
ร้อยละ 18.79 ระบุไม่ค่อยรับประทานมื้อกลางวัน เพราะควบคุมน้ำหนัก ยังอิ่มจากมื้อเช้า ไม่มีเวลาทาน เป็นต้น และ
ร้อยละ 44.52 ระบุไม่ค่อยรับประทานมื้อเย็น เพราะควบคุมน้ำหนัก ไม่หิว งานยุ่ง ทานกลางวันมาก เป็นต้น
ด้านความชอบอาหารของแต่ละชาติใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) อาหารไทย (ร้อยละ 93.13)
2) อาหารญี่ปุ่น (ร้อยละ 38.35)
3) อาหารจีน (ร้อยละ 19.71)
4) อาหารเกาหลี (ร้อยละ 10.22) และ
5) อาหารอิตาเลี่ยน (ร้อยละ 7.20) เป็นต้น
ส่วนสถานที่ที่ชอบรับประทานอาหาร พบว่า คนกรุงกว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 52.27 ระบุชอบรับประทานอาหารที่บ้านมากกว่า และอีกร้อยละ 47.76 ระบุชอบรับประทานอาหารนอกบ้านมากกว่า
โดยบุคคลที่มักจะรับประทานอาหารด้วยเป็นประจำ ได้แก่ ครอบครัว (ร้อยละ 46.13) แฟน/คนรัก (ร้อยละ 14.66) คนเดียว (ร้อยละ 13.92) เพื่อน (ร้อยละ 13.59) และเพื่อนร่วมงาน (ร้อยละ 11.70) เป็นต้น
สำหรับอาหารที่รับประทานเป็นประจำ พบว่า
ร้อยละ 36.01 ระบุทำรับประทานเอง
ร้อยละ 15.14 ระบุซื้อแบบสำเร็จรูปมารับประทาน และ
ร้อยละ 48.85 ระบุรับประทานนอกบ้าน
โดยอาหารที่นิยมรับประทานเมื่ออยู่นอกบ้านใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) บุฟเฟ่ต์ (ร้อยละ 62.75)
2) อาหารตามสั่ง (ร้อยละ 48.49)
3) ฟาสฟู้ด (ร้อยละ 45.30)
4) ก๋วยเตี๋ยว (ร้อยละ 26.17) และ
5) ข้าวราดแกง (ร้อยละ 22.82) เป็นต้น
ส่วนเครื่องดื่มที่มักจะดื่มคู่กับอาหารที่รับประทานใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) น้ำเปล่า (ร้อยละ 94.18)
2) น้ำอัดลม (ร้อยละ 33.39)
3) ชา-กาแฟสด (ร้อยละ 16.90)
4) น้ำผลไม้ (ร้อยละ 15.67) และ
5) เครื่องดื่มจำพวกชาเขียวสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.68) เป็นต้น
เมื่อสอบถามคนกรุงเทพฯ เกี่ยวกับค่าอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยต่อวัน พบว่า
ร้อยละ 1.51 ระบุน้อยกว่า 100 บาท
ร้อยละ 46.01 ระบุ 100-299 บาท
ร้อยละ 30.31 ระบุ 300-499 บาท
ร้อยละ 13.77 ระบุ 500-699 บาท และ
ร้อยละ 8.40 ระบุตั้งแต่ 700 บาทขึ้นไป
ทั้งนี้ พบว่า คนกรุงเทพฯ มีค่าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยประมาณ 352.62 บาทต่อวัน
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อราคาอาหารในปัจจุบัน พบว่า กว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 55.03 ระบุเหมาะสมดีแล้ว อีกร้อยละ 38.76 ระบุแพงกว่าที่คิด และที่เหลือร้อยละ 6.21 ระบุถูกกว่าที่คิด
ส่วนการจ่ายค่าอาหารเวลาไปรับประทานอาหารกับแฟน/คนรัก พบว่า
ร้อยละ 28.93 ระบุจ่ายเอง
ร้อยละ 23.03 ระบุแฟน/คนรักจ่าย
ร้อยละ 20.74 ระบุผลัดกันจ่าย
อีกร้อยละ 8.28 ระบุหารกันจ่าย และที่เหลือ
ร้อยละ 19.02 ระบุไม่มีแฟน/คนรัก
สำหรับวิธีการจ่ายค่าอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 94.33 ระบุจ่ายด้วยเงินสด ร้อยละ 25.70 ระบุจ่ายด้วยบัตรเครดิต และร้อยละ 3.37 ระบุจ่ายด้วยบัตรเดบิต
และปัจจัยในการตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารของคนกรุงเทพฯ ใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) ความสะอาด (ร้อยละ 70.86)
2) รสชาติ (ร้อยละ 67.84)
3) คุณประโยชน์ (ร้อยละ 54.37)
4) ราคา (ร้อยละ 41.63) และ
5) ความสะดวกรวดเร็ว (ร้อยละ 35.51) เป็นต้น