สำรวจเทรนด์ดิจิทัลไลฟ์ของ 4 ประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) อย่างไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ผ่านบทวิเคราะห์ของ Deloitte หลังยกให้ SEA เป็นผู้นำเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล
4 แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ใช้งานใน SEA
ผลการศึกษาของ Deloitte พบว่าผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ปัจจุบันได้รับประโยชน์อย่างมากจากเทคโนโลยีดิจิทัลด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดย 4 โมบายล์แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมที่สุด ของชาว SEA จะเป็น
– เอนเตอร์เทนเมนต์
– อี-คอมเมิร์ซ
– บริการในชีวิตประจำวัน
– บริการด้านการเงิน
คนไทย “อิน” กับโซเชียลมีเดียที่สุดใน SEA
ด้านเทรนด์การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของบ้านเรา พบว่าคนไทยชอบเสพความบันเทิงดิจิทัลเป็นอย่างมาก เช่น บริการสตรีมมิ่งเพลงและวิดีโอ ทั้งยังพบว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ใช้ซึ่ง “อิน” กับการเล่นโซเชียลมีเดียมากที่สุดใน SEA ด้วยสถิติการใช้งานโดยเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง 55 นาที ทั้งยังพบว่าร้อยละ 55 ของคนไทยที่ชอปปิงบนโลกออนไลน์ มีการซื้อสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดีย
สิงคโปร์ หนึ่งในผู้นำดิจิทัลไลฟ์ของ SEA
ดิจิทัลไลฟ์นับเป็นเทรนด์ที่กำลังเฟื่องฟูอย่างมากในสิงคโปร์ เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง และมีแอปพลิเคชันบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกแง่มุมของการใช้ชีวิต และการทำงาน ซึ่งช่วยเพิ่มมิติในด้านต่าง ๆ ให้กับชีวิตดิจิทัล จนส่งให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งใน “ผู้นำดิจิทัลไลฟ์” ของ SEA
มาเลเซียมีการเติบโตด้านการทำธุรกรรมออนไลน์กว่า 200%
ด้วยจำนวนประชากรราว 30 ล้านคน มาเลเซียนับเป็นหนึ่งในตลาดอีคอมเมิร์ซที่น่าสนใจของ SEA เนื่องจากมีการเติบโตที่รวดเร็ว และมีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย ตามที่ระบุไว้ในรายงานของ Deloitte
อย่าง อีวอลเล็ต Touch ‘n Go หนึ่งในตัวเลือกการให้บริการออนไลน์เพย์เมนต์บนแพลตฟอร์มลาซาด้ามาเลเซีย รวมถึงเป็นผู้ให้บริการอีวอลเล็ตชั้นนำในประเทศ พบว่ามีการเติบโตของปริมาณการทำธุรกรรมมากกว่า 200% และมูลค่าของการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นสูงถึง 90% ในช่วงเทศกาลชอปปิง 11.11 ที่ผ่านมา
ธุรกิจชอปปิงออนไลน์ของอินโดนีเซียเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ตามรายงานของ Deloitte พบว่าธุรกิจชอปปิงออนไลน์ของอินโดนีเซียเติบโตอย่างก้าวกระโดด และคาดว่าจำนวนผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยในช่วงเทศกาล 11.11 ปีนี้ DANA หนึ่งในผู้นำด้านแพลตฟอร์มการชำระเงินทางมือถือของประเทศอินโดนีเซีย ได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการชำระเงิน โดยร่วมมือกับผู้ค้าออนไลน์ และออฟไลน์มากกว่า 60 ราย
รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อีกสามราย ได้แก่ ลาซาด้า, Bukalapak และ Blibli ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งาน DANA มากกว่า 45 ล้านคน ตั้งแต่บริษัทก่อตั้ง ยิ่งกว่านั้น DANA ยังให้บริการในกลุ่มธุรกิจดั้งเดิม (brick-and-mortar merchants) มากกว่า 200,000 ราย เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้ สามารถให้บริการชำระเงินแบบไร้การสัมผัส เพื่อสร้างความสะดวกสบาย และปลอดภัยให้กับลูกค้า