รีไฟแนนซ์บ้าน สิทธิประโยชน์ที่เอื้อให้กับผู้กู้ซื้อบ้าน

ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่งจะเริ่มฟื้นฟูหลังต้องฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะงักไปจากเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 ดังนั้นสำหรับคนที่ยังมีภาระในการผ่อนชำระค่าบ้าน หนี้บัตรเครดิต ขาดสภาพคล่องทางการเงินในธุรกิจครอบครัว จึงมีความจำเป็นต้องหาหนทางที่จะเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

หนึ่งในวิธีที่พูดถึงก็คือ การรีไฟแนนซ์บ้าน นั่นเอง แต่นั่นหมายความว่าผู้กู้ต้องถือกรรมสิทธิ์เหนือสินทรัพย์หลักประกันที่นำมาค้ำประกันกับธนาคาร และขั้นตอนต่อไปผู้ที่ต้องการทำเรื่องขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ควรศึกษาข้อมูล รายละเอียด ประโยชน์ ขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนที่จะทำการตัดสินใจทำ เพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขการรีไฟแนนซ์บ้านของธนาคารที่เราติดต่อไว้ นั้นดีและตอบโจทย์ที่สุด

‘รีไฟแนนซ์บ้าน’ คืออะไร?

รีไฟแนนซ์บ้านเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อทางการเงินประเภทหนึ่งที่สถาบันการเงิน หรือ ธนาคาร ได้จัดเสนอให้แก่ลูกค้าที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้สินเชื่อบ้านก้อนเดิมเพื่อจะได้ลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน ปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเดิมจะลอยตัวหลังพ้นระยะโปรโมชั่นในปีแรก ดอกเบี้ยลอยตัวจะสูงมากไม่ว่าจะเป็นแบบ MRR หรือ MLR

สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านนั้น สามารถสมัครได้ถ้าผู้กู้เองเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน, คอนโด ทาวน์เฮ้าส์, ทาวน์โฮม, ตึกแถวหรือ อาคารพาณิชย์ เป็นต้น โดยมีการใช้สินทรัพย์นี้เป็นตัวค้ำประกันในการรีไฟแนนซ์บ้าน

ก่อนที่จะตัดสินใจทำ “รีไฟแนนซ์บ้าน” ควรคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าคุ้มค่ากับดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านว่าถูกลงหรือไม่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น มีดังนี้ เบี้ยปรับการถ่ายถอนจำนองก่อนครบกำหนดประมาณ 0-3%, ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้, ค่าประเมินหลักทรัพย์, ค่าประกันอัคคีภัย, ค่าจดจำนองใหม่ 0.01% และค่าอากร 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ เป็นต้น

รีไฟแนนซ์บ้านได้วงเงินเท่าไร

ปัจจุบันธนาคารส่วนใหญ่จะกำหนดวงเงินกู้ของ refinance บ้าน สูงสุดไม่เกิน 90-95% ของราคาประเมิน และถ้าหากต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงินก็ย่อมทำได้ และเมื่อได้รับการอนุมัติก็สามารถนำเงินที่ได้จากรีไฟแนนซ์บ้านไปจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่ จากนั้นจะเหลือเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ที่สามารถนำไปใช้ปิดหนี้บัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน หรือ เป็นเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ

เมื่อสินเชื่อบ้านที่ทำกับธนาคารเดิมครบ 3 ปี ผู้กู้สามารถทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าปรับให้กับธนาคารเก่า และสามารถทำได้มากกว่าหนึ่งครั้งทุก ๆ 3-5 ปี (ขึ้นกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้) หากพบว่าหลังทำการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับดอกเบี้ยใหม่ที่ได้รับนั้นถูกกว่าคุ้มค่าและช่วยประหยัดเงินได้เป็นหลักแสนถึงหลักล้าน

แต่ถ้ายอดหนี้ของสินเชื่อบ้านคงเหลือน้อยมาก+เหลือระยะเวลาผ่อนแค่ 1-2 ปีก็ปลดหนี้ ไม่แนะนำให้ทำรีไฟแนนซ์บ้าน

ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์บ้าน

การรีไฟแนนซ์บ้านไม่ว่ากับธนาคารใหม่ที่ไหนก็ตาม ย่อมดีต่อลูกค้าที่เดิมมีภาระหนี้บ้านก้อนโตที่ทำกับธนาคารเก่า ดังนี้

  • ภาระในการผ่อนค่าบ้านต่อเดือนลดลง ทำให้ครอบครัวมีเงินเหลือเพิ่มขึ้นเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน
  • ลดระยะเวลาในการเป็นหนี้สินสั้นลง เพราะดอกเบี้ยลดลงทำให้สามารถจ่ายเงินต้นได้มากขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่งสามารถยืดเวลาผ่อนชำระหนี้ได้นานขึ้น
  • ได้ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านถูกลง
  • ได้เงินก้อนอเนกประสงค์เพื่อใช้จ่ายในอนาคตจากการขอรีไฟแนนซ์บ้านเพิ่มวงเงิน

วิธีรีไฟแนนซ์บ้าน

สำหรับวิธีรีไฟแนนซ์บ้านมีขั้นตอนในการสมัครที่ไม่ยุ่งยาก ดังนี้

  • ให้ศึกษา และตรวจสอบสัญญาสินเชื่อเงินกู้บ้านฉบับเดิมว่าสามารถเริ่มขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ได้เมื่อไรโดยไม่ผิดสัญญาอันเป็นเหตุให้ต้องเสียค่าปรับไปเปล่า ๆ
  • ขณะเดียวกันให้ตรวจสอบว่าควรรีไฟแนนซ์บ้านที่ไหนดี มองหาโปรโมชั่นดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านที่ถูกที่สุดที่แต่ละธนาคารจะให้ได้ ทำการเปรียบเทียบ และคำนวณว่าจะช่วยประหยัดค่าดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านได้มากที่สุดเท่าไร
  • นอกจากดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านที่ต่ำที่สุดแล้ว ก็ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านที่จะต้องเสียไปเมื่อสมัครสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับแต่ละธนาคาร

เมื่อทำการเลือกได้แล้วว่าจะทำรีไฟแนนซ์กับที่ไหน ถัดมาการเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบทั้งของผู้กู้ และผู้ร่วมกู้ (ถ้ามี) ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมจะมีดังนี้

เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน ของคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารแสดงรายได้

  • สลิปเงินเดือน หรือ หนังสือรับรองการทำงาน (ตัวจริง)
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 3-6 เดือน
  • สำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน

  • สำเนาแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน เป็นต้น
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง/หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่น ทด.13 หรือ ทด.14
  • สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน
  • สำเนาหนังสือกู้เงินธนาคารเดิม
  • สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด
  • แผนที่ตั้งของหลักประกันโดยสังเขป
  • เมื่อพร้อมแล้วให้ยื่นสมัครขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านพร้อมส่งมอบเอกสารครบชุดกับธนาคารใหม่เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติต่อไป

หลังจากได้รับการอนุมัติและการติดต่อจากธนาคารใหม่ ผู้กู้ต้องติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามยอดหนี้สินคงเหลือพร้อมนัดวันไถ่ถอนที่กรมที่ดิน โดยธนาคารใหม่ก็จะนำสัญญา refinance บ้านฉบับใหม่ไปให้ผู้กู้เซ็นพร้อมกับทำสัญญาจำนองที่ กับกรมที่ดินในวันเดียวกัน

คุณอาจเป็นผู้ที่เหมาะกับการรีไฟแนนซ์บ้าน

คนที่เหมาะสมที่จะทำ refinance บ้าน จะเป็นคนกลุ่มเหล่านี้

  • คนที่ทำสินเชื่อบ้านกับธนาคารเดิม และผ่อนมานาน 3 ปีแล้ว
  • คนที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของครอบครัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายผ่อนบ้านในแต่ละเดือน จะได้มีเงินส่วนต่างเหลือเพื่อใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ
  • คนที่ไม่ต้องการเสียค่าดอกเบี้ยแพง ๆ
  • คนที่ต้องการเพิ่มวงเงินกู้เพื่อเอามาซ่อมแซม หรือ ตกแต่งบ้าน
  • คนที่ต้องการผ่อนบ้านหมดเร็ว ๆ เพื่อจะได้เป็นเจ้าของบ้านที่ปลอดหนี้สิน

วิธีรีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้ม

หากต้องการทำรีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เราขอแนะนำให้ใช้บริการจาก Refinn ที่จะช่วยให้ขั้นตอนในการสมัครขอสินเชื่อง่ายขึ้น และฟรีค่าบริการให้แก่ลูกค้าทุกคน

Refinn มีบริการช่วยเปรียบเทียบโปรโมชันรีไฟแนนซ์บ้านทุกชนิดจากธนาคารชั้นนำต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน และเมื่อเลือกธนาคารใหม่ที่จะขอสินเชื่อได้แล้ว ก็สามารถยื่นสมัครได้เลยที่ Refinn ที่มีทีมงานมากประสบการณ์คอยติดตามผล และให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่จนกระทั่งรู้ผลอนุมัติ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์บ้าน

คำถามที่พบเจอบ่อย ๆ เกี่ยวกับรีไฟแนนซ์บ้านมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน แต่ในบทความนี้เราจะไขข้อข้องใจ 2 เรื่องคือ

ถ้ามีประวัติเสียด้านการเงิน รีไฟแนนซ์บ้านได้ไหม ?

หากผู้ที่จะขอรีไฟแนนซ์บ้านมีประวัติเสียด้านการเงินในเครดิตบูโร จะส่งผลเสียต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ดังนั้นผู้ที่ต้องการทำเรื่องยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ควรมีวินัยในการผ่อนชำระให้ตรงเวลา รักษาประวัติให้เป็นปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระ เป็นเวลาต่อเนื่อง 1-3 ปี จึงจะสามารถกลับมาขอสินเชื่อใหม่ได้อีกครั้ง

ลดดอกเบี้ยบ้านหรือรีไฟแนนซ์บ้านคุ้มกว่ากัน

การจะตัดสินใจว่าวิธีไหนคุ้มค่ากว่ากันระหว่าง “ลดดอกเบี้ยบ้าน” กับธนาคารเดิม หรือ “รีไฟแนนซ์บ้าน” กับธนาคารใหม่ เราไม่สามารถตอบได้ทันที จนกว่าจะมีการเปรียบเทียบหลังจากได้คำนวณมูลค่าของดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายของทั้งสองวิธีว่าแตกต่างกันมากแค่ไหน

แต่ถ้าหากว่าดอกเบี้ยที่ขอลดกับธนาคารเดิมนั้นใกล้เคียง และไม่ค่อยแตกต่างจากดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ก็ไม่ควรเปลี่ยนธนาคาร เพราะอาจจะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำรีไฟแนนซ์บ้าน แถมยังต้องมาวุ่นวายในการเตรียมเอกสารใหม่เพื่อยื่นสมัครทำสินเชื่ออีกด้วย

สรุปเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน

การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้สินที่ผู้กู้ต้องแบกรับในแต่ละเดือนให้ลดน้อยลง เพราะได้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกลง และยังสามารถกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลงหรือยาวขึ้นก็ได้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ทำให้สภาพคล่องทางการเงินภายในครอบครัวดีขึ้น

เราหวังว่าข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ประสงค์จะยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน และเพิ่มโอกาสให้คุณ เพื่อให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากธนาคารง่ายยิ่งขึ้น ด้วยบริการจาก Refinn