เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ร่วมกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน หลังสคช.จัดประชุมแนะนำโครงการพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ณ จังหวัดลำปาง
ดันนครลำปาง และเมืองสุโขทัยธานี สู่เมืองน่าอยู่ยั่งยืน
หลังได้รับการจัดสรรงบประมาณในปี พ.ศ. 2563 เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ
1.สร้างต้นแบบกลไก และกระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
2.พัฒนาระบบติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
3.ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนของ 6 เมืองนำร่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
ภายใต้ โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคต (Sustainable Future City: SFC) (ความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สคช. และ JICA ระหว่างปี 2558-2561) ซึ่งโครงการพัฒนาเมืองฯ ได้คัดเลือกเมืองนำร่องเพิ่มเติม 2 แห่งได้แก่ เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เพื่อร่วมกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับท้องถิ่นในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และแผนงานโครงการระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาทาง สคช. ได้ร่วมมือกับทางวิชาการกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ในการดำเนิน โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองในอนาคต (Sustainable Future City: SFC) ภายใต้หลักการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยท้องถิ่นตามแนวทางของรัฐบาล โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่โครงการ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางในการร่วมตัดสินใจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้องสนับสนุนการดำเนินการ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2558 ในเมืองนำร่องระยะที่ 1 จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
– เทศบาลนครขอนแก่น
– เทศบาลนครเชียงราย
– เทศบาลนครพิษณุโลก
– เทศบาลเมืองกระบี่
– เทศบาลเมืองน่าน
– เทศบาลเมืองพนัสนิคม
และต่อมาในปี 2562 ได้ขยายความร่วมมือระยะที่ 2 จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC) ได้แก่ เทศบาลเมืองชุมพร และเทศบาลเมืองระนอง ก่อนมาล่าสุดอย่างเทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี
หลังทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้ร่วมประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางในการแนะนำโครงการพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินงานพัฒนาในเขตเทศบาลนครลำปางเป็นพื้นที่ดำเนินการในปี 2563 ซึ่งมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง และท้องถิ่น ตลอดจนสถาบันการศึกษา และผู้แทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ของจังหวัดลำปาง รวม 60 คน โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมที่สำคัญ ประกอบด้วย
1.การแนะนำโครงการพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน นำเสนอขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนพัฒนาเมืองในอนาคตให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน
2.ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุน และเข้าร่วมกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเมืองฯ ในเมืองอื่น ๆ ในรายต่อไป