ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 หดตัวที่ -12.2% เนื่องจากอนิสงส์การใช้จ่ายและการลงทุนทางภาครัฐ
ปัจจัยที่ทำให้เศษฐกิจไตรมาส 2/2563 หดตัวติดลบ 12.2%
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 หดตัวที่ -12.2% (น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ -13.0% ถึง -17.0%) เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ที่พลิกกลับมาขยายตัวในไตรมาสนี้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการช่วยเหลือเยียวยา 5,000 บาท ต่อเนื่อง 3 เดือน โครงการ ‘เราไม่ทิ้งกัน’ ขณะที่อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 ในไตรมาส 2/2563 ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำ และงบประมาณรายจ่ายลงทุน ก็สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ดี ส่งผลให้ภาคก่อสร้างยังคงขยายตัวได้ในไตรมาส 2/2563
เศรษฐกิจไทยหดตัวลึกที่สุดในไตรมาส 2/2563 และทยอยหดตัวลงในช่วงเดือนที่เหลือ
คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวมากที่สุดในไตรมาส 2/2563 และทยอยหดตัวลงในช่วงที่เหลือของปีซึ่งในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยคงเผชิญความไม่แน่นอนสูงจากปัจจัยได้แก่
1 เศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยง จากสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯและการเมืองในสหรัฐฯ
2 แรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตามสภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลก
3 ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ
คาดตลอดปี 63 จะติดลบถึง 6.0%
ใช่ช่วงสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน ภาครัฐควรจะมีมาตราการดูแลเศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยที่อ่อนลง ดูแลผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการรายย่อยเป็นหลัก โดยในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะหดตัวมากกว่าคาดการณ์ที่ -6.0%