จากข้อมูลการสำรวจโดยกิลเลียดไซแอนซ์และสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี พบว่า ร้อยละ 82 ของผู้ให้บริการด้านเอชไอวี เผยว่าผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี มาสถานพยาบาลน้อยครั้งหรือเลยวันนัด ขณะที่ร้อยละ 45 รายงานว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงมาสถานพยาบาลลดน้อยลงเช่นกัน
ไทยหนึ่งในสามประเทศในภูมิภาคเชีย-แปซิฟิกที่บรรลุเป้าหมาย 90-90-90
รายงานโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติล่าสุด พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสามภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้บรรลุเป้าหมาย 90-90-90 ทางด้านการตรวจรักษาเอชไอวี ขณะที่การติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทยลดลง จากโครงการเชิงรุกที่ประสบผลสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการความชุกของเอชไอวีสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอีกด้วย
55% ของผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ต้องพบเจอปัญหาการรักษาในช่วงแพร่ระบาดโควิด
ประเทศไทยได้เป็นหนึ่งในสิบประเทศของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในการสำรวจครั้งนี้ เพื่อประเมินผลกระทบช่วงการระบาดโควิด-19 ในการเข้ารับบริการด้านเอชไอวี ทั้งการตรวจหาการติดเชื้อ การรักษา และการป้องกัน จากจำนวนผู้ร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 1,265 คน ได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี บุคคลที่มีความเสี่ยง และผู้ให้บริการด้านเอชไอวี ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามถึง 83 คน เป็นคนไทย
โดยผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี 55% เผยว่า ต้องพบเจอกับปัญหาติดขัดในการเข้าถึงการรักษา และร้อยละ 47 เผยว่า การใช้ยาต้านไวรัส ต้องลดลงหรือหยุดการใช้ยาไปเลย ขณะที่ร้อยละ 60 ของผู้ให้บริการ เผยว่า การออกใบสั่งเพื่อป้องกันให้ผู้ที่มีความเสี่ยงลดลงด้วยเช่นกันในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19
ถึงจะพบกับข้อจำกัดการเข้าถึงยารักษาเอชไอวี แต่ไม่ได้กังวลถึงการได้รับการดูแลระยะยาว
ร้อยละ 29 ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ และร้อยละ 31 ของผู้ที่มีความเสี่ยงนั้น แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองในเชิงบวกอย่างรวดเร็วของหน่วยงานด้านสาธารณสุขไทย เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในการสร้างหลักประกันการให้บริการ ซึ่งในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สปสช. และสำนักงานประกันสังคม ได้เอาแนวทางให้การออกใบสั่งยาในการรักษา จ่ายยาต้านไวรัสให้แก่ผู้ติดเชื้อเป็นเวลา 6 เดือน
ส่วนร้อยละ 57 ของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ และผู้มีความเสี่ยง เผยว่า ไม่ได้ใช้โทรเวชกรรมหรือบริการพูดคุยผ่านระบบออนไลน์ระหว่างผู้รับบริการและแพทย์ การปรึกษาทางโทรศัพท์ถือเป็นการบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงร้อยละ 56 ตามด้วยการจ่ายยาทางไกล ร้อยละ 24 และการปรึกษาผ่านการพูดคุยแบบเห็นหน้า ร้อยละ 17
“การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ระบบสาธารณสุขต้องนำกลยุทธ์ต่างๆ ออกมาใช้อย่างทันท่วงที เพื่อจะได้ไม่ทำให้การให้บริการแก่ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อฯ และผู้ทีมีความเสี่ยง ต้องหยุดชะงัก รวมทั้งไม่เพิ่มภาระให้แก่โรงพยาบาลอีกด้วย การให้บริการโทรเวชกรรม ทั้งด้านการรักษา และการป้องกันเอชไอวี ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้ปรับใช้นวัตกรรมทางดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอาจเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านเอชไอวีในอนาคตอีกด้วย” แพทย์หญิงนิตยา ภานุภาค ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวีกล่าว