กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ออกรายงานตัวเลข Big Data ที่เผยให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย
iSEE : ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
แพลตฟอร์ม “iSEE ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG Data) รายบุคคล ที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเด็ก และเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และด้อยโอกาสมากกว่า 4 ล้านคน
ใช้การเชื่อมโยงข้อมูลเด็ก และครอบครัวกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ 6 กระทรวง ได้แก่
– กระทรวงศึกษาธิการ
– กระทรวงการคลัง
– กระทรวงมหาดไทย
– กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
– กระทรวงแรงงงาน
– กระทรวงสาธารณสุข
รวมถึงข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อช่วยให้สามารถ “มองเห็น” สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือให้กับหน่วยงานต่าง ๆ นำไปใช้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในอนาคต
กรุงเทพฯ อันดับ 1 จังหวัดมีเด็กนอกระบบการศึกษามากสุดในไทย
อย่างด้าน 5 จังหวัดแรกที่มีจำนวนเด็กนอกระบบการศึกษามากที่สุด ปี 2561 (สำรวจในกลุ่มอายุ 3-17 ปี) โดยอ้างอิงจากระบบสารสนเทศ iSEE ของกสศ. พบดังนี้
1.กรุงเทพฯ
– 34.03%
– จำนวนเด็กทั้งหมด 899,958
– เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา 306,273
2.ตาก
– 14.18 %
– จำนวนเด็กทั้งหมด 132,040
– เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา 18,718
3.นนทบุรี
– 13.64 %
– จำนวนเด็กทั้งหมด 190,233
– เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา 25,945
4.ชลบุรี
– 13.51 %
– จำนวนเด็กทั้งหมด 277,142
– เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา 37,455
5.ภูเก็ต
– 13.34 %
– จำนวนเด็กทั้งหมด 82,990
– เด็กที่ไม่มีข้อมูลในระบบการศึกษา 11,070
ผู้ปกครองของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง มีรายได้ลดลง เพราะโควิด-19
อีกทั้งกสศ.ยังเผยว่าผู้ปกครองของนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง ล้วนมีแนวโน้มที่จะมีรายได้ลดลง ถูกพักงานชั่วคราว และถูกเลิกจ้าง จากวิกฤตโควิด-19 และข้อมูลในปี 2562 ยังพบว่า
– สัดส่วนค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของกลุ่มครอบครัวเปราะบาง / ต่อรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ร้อยะละ 22
– สัดส่วนภาระค่าเดินทางและค่าเครื่องแบบของนักเรียนในครัวเรือนยากจน / ต่อค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมดสูงถึงร้อยละ 60
อ่านรายงานตัวเลขที่แสดงถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในด้านต่าง ๆ ที่รอการแก้ไขของสังคมไทย ได้ที่ https://isee.eef.or.th/