Sunday, June 11, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    หุ่นยนต์ผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ยุคใหม่

    ขอถามมนุษย์เงินเดือนทุกคนว่าเคยนึกถึงภาพวัยชราของตัวเองออกกันบ้างมั้ย? เชื่อว่ามีหลายคนคิดว่าแก่มาจะได้อยู่สุขสบายเพราะทำงานหนักทุกวันนี้ก็เพื่ออนาคตแต่ก่อนจะไปถึงวันนั้นเคยเช็คสุขภาพของตัวเองหรือยังว่ามีความเสี่ยงบ้างหรือไม่

    เรามักได้ยินกันว่าการนั่งทำงานนานๆนั้นไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพแต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากซึ่งถ้าลุกเดินบ่อยๆอาจจะถูกตำหนิว่าอู้งานได้แต่จากความคืบหน้าของวงการแพทย์เห็นทีจะต้องตื่นตัวเรื่องการดูแลตัวเองบ้างแล้วโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง


    รู้หรือไม่ว่าทุกวันนี้คนไทยประสบปัญหาโรคกระดูกสันหลังมากขึ้นเรื่อยๆจากการนั่งในท่าที่ผิด, ยกของหนัก, แบกหาม, อุบัติเหตุ, บางครั้งเจ็บปวดนิดหน่อยก็อดทนไว้ถูกพบมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิตเพราะช่วงวัยทำงานมัวแต่ไปโฟกัสที่งานพอแก่ตัวลงทำให้กระดูกสันหลังที่ไม่เคยได้รับการใส่ใจคดตัวบิดงอเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลาที่สำคัญคนช่วงวัยนี้กลับยังมีสุขภาพสมองที่ดีแต่ถูกลิมิตด้วยอาการปวดหลังเดินลำบากสิ่งที่จะเกิดตามมาคือหกล้มกระดูกสะโพกหรือต้นขาหักถึงขั้นพิการตลอดชีวิตกลายเป็นภาระของลูกหลานอย่างที่หลายคนมักจะพูดอยู่เสมอ

    แล้วกระดูกสันหลังสำคัญอย่างไรต้องจำให้ขึ้นใจว่ากระดูกสันหลังคือโครงสร้างหลักของร่างกายที่แบกรับแรงส่วนบนของร่างกายในท่ายืน100%แต่พออยู่ในท่านั่งกระดูกสันหลังจะถูกรับแรงเพิ่มขึ้นเกิน100%เมื่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวงการแพทย์เองก็ไม่ได้นิ่งเฉยพยายามคิดหาวิธีหรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์มากที่สุด

    แพทย์ผู้รักษาคือประสาทศัลยแพทย์ทำหน้าที่ผ่าตัดต่อเพื่อลดการกดทับของสมองกระดูกสันหลังเส้นประสาท  เพื่อให้อวัยวะของผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ปกติหรือใกล้เคียงเดิมที่สุดต้องมีการตัดสินใจที่รอบคอบแม่นยำเด็ดขาดและต้องมีแผนอยู่ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบของการผ่าตัดทุกครั้งเพราะความผิดพลาดในการผ่าตัดเกิดได้แค่เพียงหน่วยมิลลิเมตรเท่านั้นประสาทศัลยแพทย์ส่วนใหญ่จะมีความมั่นใจในการทำงานค่อนข้างสูงจากสิ่งที่ถูกสอนและเรียนรู้มาซึ่งบางสถาบันให้ความผิดพลาดในการผ่าตัดถึง 2%

    จากความผิดพลาดที่มากและน้อยในบางเคสทำให้วงการแพทย์เองก็ถามหาความแม่นยำในการผ่าตัดเพราะยิ่งการผ่าตัดตรงเป้าเท่าไหร่โอกาสที่จะทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตก็จะลดลงตามและลดความเสี่ยงในการที่แพทย์จะถูกฟ้องร้องจากผู้ป่วยจึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผ่าตัด

    เทคโนโลยีที่นำเข้ามาในครั้งนี้มีชื่อว่า“หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์”หรือ“หุ่นยนต์เรเนซอง” เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นในประเทศอิสราเอลได้รับการยอมรับจากUSFDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยประสาทศัลยแพทย์ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังและสมองด้วยการกำหนดเป้าและทิศทางการเดินทางของสกรูเพื่อยึดตรึงกระดูกสันหลังให้แข็งแรงไม่ให้เคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็นนับเป็นความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเพราะเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการช่วยผ่าตัดประสาทศัลยศาสตร์ตั้งแต่เดือนกันยายน2559ที่ผ่านมาซึ่งมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดไปแล้ว6รายและผลเป็นที่น่าพอใจ

    “หุ่นยนต์เรเนซอง” ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยการผ่าตัดเท่านั้นจะถูกบันทึกโปรแกรมมาให้ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้จะไม่มีความรู้สึกและตัดสินใจไม่ได้เหมือนกับคนแต่ประสาทศัลยแพทย์ยังคงทำหน้าที่หลักในการผ่าตัดเหมือนเดิมซึ่งหุ่นยนต์จะมีแขนกำหนดทิศทางและระยะเพื่อชี้เป้าให้ประสาทศัลยแพทย์วางสกรูไปยังกระดูกสันหลังโดยไม่ผิดตำแหน่งจากนั้นประสาทศัลยแพทย์จะต้องรับแขนตามคำสั่งของหุ่นยนต์มาประกอบให้ตรงตามความยาวที่กำหนดซึ่งจุดนี้อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้เพราะเมื่อผู้ช่วยหยิบแขนของหุ่นยนต์ผิดและแพทย์ไม่ได้เช็คอีกครั้งแต่ดันประกอบและเจาะสว่านลงไปทันทีอาจะมีผลถึงชีวิตผู้ป่วย

    ฉะนั้นประสาทศัลแพทย์ที่ต้องทำงานร่วมกับหุ่นยนต์จะต้องผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดีและผู้ที่ได้รับใบรับรองการผ่าตัดให้สอนผู้อื่นต่อได้ด้วยก็คือ“ผศ.นท.นพ.สรยุทธชำนาญเวช” ผู้ริเริ่มการนำหุ่นยนต์เรเนซองมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยซึ่งได้นำความรู้มาส่งต่อให้กับทีมประสาทศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดีและในอนาคตจะมีการเพิ่มระบบให้กับหุ่นยนต์เพื่อนำมาใช้ช่วยการผ่าตัดชิ้นเนื้อในสมองการวางขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมองเพื่อรักษาภาวะพาร์กินสันลมชักหรือแม้แต่โรคจิตบางชนิด

    แต่ก็ใช้ว่าผู้ป่วยกระดูกสันหลังจะสามารถรับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ได้ทุกรายเพราะจะเหมาะสมกับผู้ป่วยที่ต้องปักสกรูเข้าไปเพื่อยึดตรึงกระดูกสันหลังให้มั่นคงเท่านั้นซึ่งค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่สูงมากกว่า80,000บาทและถ้าใครที่ยังไม่อยากมีบั้นปลายชีวิตที่จบลงด้วยการผ่าตัด คุณหมอก็แนะนำมาว่าวิธีเบื้องต้นที่จะช่วยดูแลกระดูกสันหลังได้ง่ายๆคือหลีกเลี่ยงการนั่งนานเกิน30นาทีให้ลุกเดินหรือยืนบ้างและควรหาเก้าอี้ที่เอนหลังได้ซึ่งอาจจะช่วยลดแรงกดทับได้ส่วนการใช้หมอนอิงที่หลังยังไม่มีทฤษฎีใดปรากฏว่าจะช่วยลดอาการปวดหลังได้

    ขอปิดท้ายด้วยวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังหรือเปล่าให้ใช้วิธีดูและคลำแกนกระดูกตรงกลางหลังว่าบิดเบี้ยวไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ก้มแตะพื้นแล้วกระดูกสะบักเท่ากันหรือไม่ถ้าเห็นว่ากระดูกผิดรูปปุ๊ปให้รีบไปหาหมอเพื่อเอ็กซเรย์เช็คด่วน!