Saturday, June 10, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    Co-Working Space เติบโดด้วยเศรษฐกิจแบ่งปัน

    Co-Working Space หรือพื้นที่สำนักงานร่วม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลกมาระยะหนึ่งแล้ว และมีให้เห็นอย่างเด่นชัด พร้อมๆ กับการเติบโตและความรุ่งเรืองของธุรกิจสตาร์ทอัพในเมืองไทย ที่หลายบริษัทไม่นิยมเช่าสำนักงานเป็นการถาวร เพื่อลดต้นทุน ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของบรรดาผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องการความสะดวกและคล่องตัวในการทำงานใจกลางเมือง ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสและต่อยอดการทำงาน ด้วยการเก็บเกี่ยวคอนเนคชั่นกับฟรีแลนซ์คนอื่นๆ ด้วย 

    Sharing Economy 
    กำลังมาแรง ซึ่งหลายธุรกิจประสบความสำเร็จจากแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปันนี้ เช่นเดียวกับการนำพื้นที่สำนักงานมาแบ่งให้เช่าในระยะสั้น มีทั้งรูปแบบของการใช้งานชั่วคราวและสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานประจำ โดยมีรูปแบบการคิดค่าบริการทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี มีค่าบริการที่แตกต่างกันไป โดยผลสำรวจจาก Techsauce & CAAP พบว่าอาจเริ่มที่ขั้นต่ำ 160 บาทต่อวันต่อคน เรื่อยไปจนถึง 450 บาทต่อวันต่อคน ขณะที่รายเดือนค่าบริการอยู่ที่ 1,200-8,700 บาท ส่วนใหญ่รองรับ 20-50 ที่นั่ง


    Co-Working Space แห่งแรกที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ปี 2554 คือ Hubba เอกมัย ซอย 4 ซึ่งสร้างจุดขายของการเป็น Entrepreneurs Hub หรือศูนย์กลางของผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความสำเร็จภายใต้ระบบนิเวศการทำงานที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและสตาร์ทอัพ

    ต่อมาในปี 2557-2558 ถือเป็นช่วงที่ Co-Working Space เปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก ก่อนที่ในระยะเวลาต่อมา หลายแห่งจะขยายสาขาไปเปิดบริการในโลเกชั่นอื่นๆ เพิ่มขึ้น 

    ปัจจุบันเริ่มมี Co-Working Space จากต่างแดนมาบุกตลาดในไทย อย่างน้อยที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างเป็นทางการมีอยู่ 2 ราย นั่นคือ JustCo จากสิงคโปร์โดยความร่วมมือกับแสนสิริ อีกรายที่เพิ่งเปิดให้บริการ คือ Spaces จากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ให้บริการทั้งในยุโรป อเมริกา ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

    นอกจากนี้ยังมีผู้ให้บริการที่เป็นศูนย์รวม Co-Working Space ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกสามารถใช้บริการ Co-Working Space แห่งใดก็ได้ที่อยู่ภายในเครือข่ายทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ทั่วโลก เช่น Servcorp รวมถึงผู้ให้บริการที่รวบรวม Co-Working Space ไว้ให้ผู้ใช้งานได้เลือกสรร และจับจองตามความสะดวกและความต้องการอย่าง Regus ที่เปิดให้จองผ่านแอพพลิเคชั่นได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว 

    ทำให้ปัจจุบันนี้มี Co-Working Space ที่เป็นกิจจะลักษณะและเต็มรูปแบบในกรุงเทพฯ มีอยู่เกือบ 50 แห่ง (ไม่นับรวมพื้นที่สำนักงานทั่วไป ที่กันพื้นที่บางส่วนมาให้เช่าในรูปแบบนี้ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก)

    Gig Economy แรงขับเคลื่อนสำคัญ 
    Gig Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาการทำงาน บริหารและจัดสรรเวลา ตลอดจนลำดับความสำคัญของงานตามที่ต้องการ ซึ่งมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Co-Working Space เติบโต โดยในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลจากรายงาน Freelance in America (FIA) ระบุว่า มีแรงงานอเมริกันกว่า 36% หรือราว 57.3 ล้านคน ประกอบอาชีพอิสระและส่วนใหญ่เป็นคนที่เกิดในยุคมิลเลนเนียล ขณะที่ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2558 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ราว 21 ล้านคนทั่วไทย 

    สำหรับในบ้านเรา ผลสำรวจจาก Spaces กับกลุ่มนักธุรกิจกว่า 100 คนทั่วไทย พบว่า 58% ต้องการการทำงานที่ยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังพบว่าอาชีพบางกลุ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อาชีพที่ปรึกษา คิดเป็น 27% และอาชีพอิสระ 31% ซึ่งต่างทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมอันหลากหลาย โดย 1 ใน 5 ของผู้ให้สัมภาษณ์ยังระบุว่า ในปีที่ผ่านมามีกลุ่มคนที่ทำงานนอกเวลาหรือพาร์ทไทม์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

    โนแอล โค้ก ผู้อำนวยการใหญ่ Spaces ประจำประเทศไทย ไต้หวัน และเกาหลี กล่าวว่า “คนยุคมิลเลนเนียลจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารในการทำงานตลอดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกในการมองหาสถานที่ ที่จะช่วยสร้างสรรค์แรงบันดาลใจใหม่ๆ ในระหว่างการทำงาน เช่น ห้องรับรองธุรกิจ พื้นที่ Co-Working Space ให้เช่าระยะสั้นๆ หรือพื้นที่ที่สามารถแวะเข้ามานั่งทำงานได้ตลอด แต่เมื่อความต้องการของคนทำงานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจต่างๆ ในไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์การทำงานแบบใหม่นี้เช่นกัน”

    โลเกชั่นต้องดี แฟซิลิตี้ต้องพร้อม กิจกรรมต้องเพียบ 
    ปัจจัยสำคัญในการปั้น Co-Working Space ให้ประสบความสำเร็จ ก็คือ ‘โลเกชั่น’ ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง (Central Business District : CBD) ที่เดินทางสะดวก โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชน อย่างบีทีเอส และเอ็มอาร์ที ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงง่าย ที่สำคัญต้องปลอดภัย ไม่อยู่ในซอยลึกเกินไป เพราะผู้ใช้บริการที่อยากทำงานจนดึกดื่นจะคำนึงถึงอันตรายจากการเดินทางกลับไปยังที่อยู่อาศัย บ้างตั้งอยู่ในโครงการที่อยู่อาศัยและไลฟ์สไตล์ เช่น Hubba-To ที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าฮาบิโตะ, T77 ซอยสุขุมวิท 77 หรือบางแห่งปักหลักอยู่ใจกลางสยามสแควร์อย่าง Growth Cafe & Co. สยามสแควร์ ซอย 2 เป็นต้น

    ทั้งนี้โลเกชั่นยอดนิยมสำหรับ Co-Working Space ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สยาม-ชิดลม, ราชเทวี-พญาไท, สีลม-สาทร, อโศก-นานา, ทองหล่อ-พร้อมพงษ์, เอกมัย-พระโขนง และ อารีย์-สะพานควาย และมีการกระจายตัวไปในชุมชนที่อยู่อาศัยในย่านอื่นๆ อีก เช่น ลาดพร้าว รามคำแหง และรัชดา เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการของพื้นที่ทำงานร่วมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ได้จำกัดอยู่ในใจกลางเมืองเท่านั้น

    ส่วน Facility ต้องมีการจัดสรรไว้อย่างครบครัน โดยเฉพาะอุปกรณ์สำหรับสำนักงาน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องสแกนเอกสาร ตลอดจน ห้องประชุม ห้องครัว ห้องสมุด ตู้จดหมาย ตู้เก็บของ สวนพักผ่อน และโซนผ่อนคลายสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น 

    นอกจากนี้ยังนำแฟซิลิตี้ที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นตามความต้องการที่หลากหลาย เช่น The  Rabbit Hub มี Quiet Zone โซนสำหรับคนที่ต้องการทำงานแบบเงียบๆ A Tabel For Group Study โซนสำหรับสอนหนังสือได้นานๆ ไม่ต้องเกรงใจใคร ขณะเดียวกันราว 76% จะเปิดบริการนาน 10 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของสมาชิกที่ต้องการเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น

    บางแห่งเพิ่ม คาเฟ่ เพื่อให้บริการสมาชิกและลูกค้าภายนอก นอกจากนี้ยังมีแฟซิลิตี้อื่นๆ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เป็น Digital Nomad ที่ปรารถนาการทำงานทุกที่ ทุกเวลา ด้วยบริการโฮสเทล เช่น Inn Office ที่มีห้องพักจำนวน 25 ห้อง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับจัดอีเวนท์และเวิร์คช้อปต่างๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาชีพ สัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และต่อยอดองค์ความรู้ ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ในเครือข่ายของผู้ใช้บริการให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานหรือสมาชิกได้เสริมทักษะ และพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อต่อยอดความรู้ความสามารถ และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและการทำงานกับผู้ที่มีแนวความคิดเดียวกัน ส่งเสริมให้ Co-Working Space คึกคักและมีชีวิตชีวา

    การเติบโตของ Co-Working Space ใจกลางกรุง จึงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตา และสะท้อนให้เห็นว่า ชนชั้น Gig ในมหานครบางกอกกำลังก่อตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน

    [English]
    Mushrooming Coworking Space Attributed to Thai Economic Growth Momentum

    People around the world have been familiar with the concept of coworking space for a while as its emergence has been more widespread along the economic growth of each country, including Thailand.

    As more and more companies have abandoned the idea of office space leasing to cut cost, many freelancers have found coworking space an alternative for convenience and flexibility as well as the opportunities to connect with fellow freelancers.

    Before the concept of Sharing Economy became widely known nowadays, Bangkok was introduced to its first coworking space by Hubba, a homegrown project which was opened in 2011 on Soi Ekamai 4 and focused on its selling point as an “Entrepreneurs Hub” that has successfully draw people with inspiration and various talents from Thailand and overseas to become members of this then-new ecosystem.  Then, there came a wave of new coworking space projects across the city, particularly during 2014 and 2015.

    At present, more foreign-born coworking space projects can be found in Thailand, including JustCo from Singapore and Spaces from the Netherlands.  Some players have also come up with new initiatives to attract members, such as Servcorp which invited a number of coworking space providers to their location to allow members to choose the brand they prefer and Rugus which introduced a mobile application to make it easier and faster for members to book space.

    The National Statistical Office reported that there were around 21 million freelancers in Thailand in 2015, while a survey by Spaces suggested that the growth outlook of coworking space remains bright as 58% of respondents said they still prefer flexibility while one in five said they have recognized an increasing number of parttimers and second jobbers in the past year.