สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ ดัชนีความเครียดของคนไทยในกรุงเทพฯ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,210 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 12 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.37 เป็นหญิง และร้อยละ 44.63 เป็นชาย
เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
ร้อยละ 28.88 มีอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 29.88 มีอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 25.31 มีอายุ 40-49 ปี
ร้อยละ 15.93 มีอายุ 50-55 ปี
ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 38.57 เป็นโสด ร้อยละ 56.62 สมรสแล้ว และร้อยละ 4.81 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่
ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.71 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 52.27 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.02 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
ร้อยละ 53.45 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 27.93 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 8.31 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท
ร้อยละ 5.41 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
ร้อยละ 4.90 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท
สำหรับอาชีพ พบว่า
ร้อยละ 39.61 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 21.30 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.23 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
ร้อยละ 7.90 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 7.22 อาชีพค้าขาย
ร้อยละ 3.74 อาชีพอื่นๆ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัย นักศึกษา ลูกจ้างของรัฐ แม่บ้าน
ผลการสำรวจการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ พบว่า คนกรุงเทพฯ
ร้อยละ 35.60 ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ 1-2 วันต่อสัปดาห์
ร้อยละ 38.66 ใช้บริการ 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 19.45 ใช้บริการ 5-6 วันต่อสัปดาห์ และ
ร้อยละ 6.29 ใช้บริการทุกวัน 41.28
สำหรับรถสาธารณะที่โดยสารบ่อยที่สุด พบว่า
ร้อยละ 37.61 ระบุโดยสารแท็กซี่บ่อยที่สุด
ร้อยละ 35.13 ระบุรถเมล์
ร้อยละ 20.22 ระบุรถไฟฟ้า
ร้อยละ 5.55 ระบุใช้บริการร่วมเดินทาง (Uber/Grab) และ
ร้อยละ 1.49 ระบุอื่นๆ ได้แก่ รถตู้ มอเตอร์ไซค์ รถส่วนตัว รถสองแถว เป็นต้น
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการรถสาธารณะในด้านต่างๆ พบว่า ใน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด ได้แก่
1) ด้านความรู้เรื่องเส้นทางของพนักงาน (ร้อยละ 48.02)
2) ด้านความสะดวกสบาย (ร้อยละ 43.05) และ
3) ด้านราคาค่าโดยสาร (ร้อยละ 36.48) เป็นต้น
ส่วนใน 3 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยถึงน้อยที่สุด ได้แก่
1) ด้านจำนวนรถที่พร้อมให้บริการ (ร้อยละ 22.18)
2) ด้านมารยาทในการขับรถ (ร้อยละ 17.79) และ
3) ด้านความสะดวกสบาย (ร้อยละ 14.55) เป็นต้น
สำหรับปัญหาสำคัญของรถสาธารณะใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) ความปลอดภัย (ร้อยละ 55.80)
2) สภาพรถไม่ได้มาตรฐาน (ร้อยละ 49.42)
3) ปริมาณรถไม่เพียงพอ (ร้อยละ 36.98)
4) ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ร้อยละ 35.82) และ
5) ความสามารถของพนักงานขับรถ (ร้อยละ 24.46) เป็นต้น
เมื่อสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อความจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนรถโดยสารมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ พบว่า กว่าครึ่ง คือ ร้อยละ 57.28 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 42.72 ระบุไม่เห็นด้วย
ส่วนความคิดเห็นต่อการนำรถโดยสารส่วนตัวมาเป็นรถสาธารณะให้ประชาชนเดินทางง่ายขึ้น และไม่เพิ่มจำนวนรถบนถนน พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70.31 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 29.69 ระบุไม่เห็นด้วย
สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยี เช่น เรียกรถผ่านแอพพลิเคชั่น บนมือถือ ทำให้การเดินทางสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 85.44 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 14.56 ระบุไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ ยังมีความคิดเห็นต่อการที่รัฐควรสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้การเดินทางสะดวกขึ้น และเปิดเสรีในการให้บริการอย่างแท้จริง พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 82.05 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 17.95 ระบุไม่เห็นด้วย
ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ Uber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing)ในประเด็นการรู้จัก Uber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing)พบว่า
ร้อยละ 18.51 ระบุรู้จักและเคยใช้บริการ
ร้อยละ 51.32 ระบุรู้จัก แต่ไม่เคยใช้บริการ และ
ร้อยละ 30.17 ระบุไม่รู้จัก
สำหรับผู้ที่รู้จักและเคยใช้บริการ Uber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing)พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่ คือ
ร้อยละ 89.55 ระบุเคยใช้บริการ โดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และ
ร้อยละ 10.45 ไม่ได้ใช้บริการในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บริการUber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing) ในด้านต่างๆพบว่า ใน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด ได้แก่
1) ด้านความสะดวกสบาย (ร้อยละ 89.09)
2) ด้านการปฏิบัติตนของพนักงานขับรถ (ร้อยละ 85.46) และ
3) ด้านมารยาทในการขับรถและด้านความปลอดภัยในการเดินทางในสัดส่วนที่เท่ากัน (ร้อยละ 83.18)
ส่วนใน 3 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยถึงน้อยที่สุด ได้แก่
1) ด้านจำนวนรถที่พร้อมให้บริการ (ร้อยละ 21.91)
2) ด้านราคาค่าโดยสาร (ร้อยละ 4.55) และ
3) ด้านความรู้เรื่องเส้นทางของพนักงานขับรถ (ร้อยละ 3.64) เป็นต้น
เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่รู้จักและเคยใช้บริการ Uber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing) ในด้านความคิดเห็นต่อการที่จะให้เมืองไทยมีรถโดยสารสาธารณะแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing) (คล้ายๆ หรือแบบเดียวกับ Uber)พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 93.58 ระบุเห็นด้วย และร้อยละ 6.42 ระบุไม่เห็นด้วย
ส่วนความคิดเห็นการที่รัฐควรดำเนินการอย่างไรกับ Uber หรือการเดินทางแบบร่วมเดินทาง (Ridesharing) พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 79.59 ระบุควรสนับสนุนให้มีกฎหมายรองรับ ร้อยละ 8.41 ระบุควรห้ามไม่ให้มีบริการแบบร่วมเดินทาง และร้อยละ 12.00 ระบุไม่ต้องทำอะไร
สำหรับข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุงการให้บริการของรถสาธารณะใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) ปรับปรุงมารยาทและความสุภาพของผู้ให้บริการเช่น พนักงานขับรถ พนักงานเก็บค่าโดยสาร(ร้อยละ 24.51)
2) ปรับปรุงมาตรฐานของรถและสภาพรถ / ตรวจสอบสภาพรถอยู่เสมอ(ร้อยละ 19.61)
3) เพิ่มจำนวนรถโดยสารให้เพียงพอต่อความต้องการ(ร้อยละ 14.71)
4) ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับเช่น ขับให้ดี มีมารยาท ไม่ขับเร็วเกินไป(ร้อยละ 12.75) และ
5) ปรับปรุงพัฒนาการให้บริการให้มีมาตรฐาน(ร้อยละ 6.27) ตามลำดับ