Sunday, December 11, 2022
More

    ส่องผลงาน “รากเหง้า” นิทรรศการศิลปะและการออกแบบจากม.หอการค้าไทย

    ส่องผลงานในนิทรรศการ “รากเหง้า” ของคณาจารย์จากคณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งผนึกกำลังจัดงานกับพันธมิตร ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม ดิ เอ็มควอเทียร์ และ บริษัท บีพีเอส กรุงเทพฯ จำกัด

    เริ่มจากผลงานของ ดร.จักรพันธ์ สืบแสน ดุษฎีบัณฑิต คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้คร่ำหวอดในแวดวงแอนนิเมชันสร้างสรรค์ผลงานหลากหลายให้หลายองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ในระดับประเทศและต่างประเทศ ในนิทรรศการรากเหง้าครั้งนี้


    ดร.จักรพันธ์ ได้นำขนมปังที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในสังคมไทยไปแล้ว มาตีความโดยใช้ผิวเนื้อของขนมปังมาผนวกกับความงามของนางแบบและเคลื่อนที่ย้ายพิกัดของภาพนำมาทับซ้อนกันทำให้เป็นนามธรรมและต้องการชี้ให้ผู้ชมเห็นว่าในความงามที่อยู่รอบตัวเราอาจจะมีความน่ากลัวหลบซ่อนอยู่

    ในสายงานเดียวกัน อาจารย์ภัสวิชญ์ จริตงาม พ่อมดวิชวลเอ็ฟเฟ็กซ์ของเมืองไทย ผู้มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับฮอลลีวู๊ดได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความฝันในวัยเยาว์ของตนผ่านภาพยนต์จากต่างประเทศที่ได้ชมในโทรทัศน์มาผลักดันในทางรังสรรค์ผลงานวิชวลเอฟเฟคผ่านเทคนิค3Dให้ออกมาประหนึ่งสร้างความเป็นจริงขึ้นมาใหม่ตามบทภาพยนต์

    มาแนะนำให้รู้จักกันต่อกับอีกสองศิลปินนักออกแบบ ผลงานแนวน่ารักสดใส อ.มนธรรม การย์บรรจบ ผู้หักเหจากครั้งเริ่มต้นเรียน Fine Art ไปสู่ Applied Art และทำงานต่อในสายงานคนเบื้องหลังสำนักข่าวดังของไทยแห่งหนึ่งจนสุดท้ายพลิกผันตัวกลับเข้าสู่วงการศึกษา

    ในนิทรรศการรากเหง้าเขาได้นำความร่วมสมัยของสังคมไทยผ่านประสบการณ์ของตนจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ได้มีการพบเห็นในสังคมไทยจากสื่อต่างๆมาถ่ายทอดเป็นตัวการ์ตูนที่สะท้อนภาพความทรงจำในวัยเยาว์ของตัวของเขาเอง​ผลงานที่ปรากฏจึงเป็นผลงานแนวไอโซเมติกแคแรกเตอร์การ์ตูนน่ารัก

    ศิลปินนักออกแบบอีกคนเป็นบัณฑิตใหม่ป้ายแดงจากรั้วสวนสุนันทากำลังจะรับปริญญา ถือว่าเป็นคนหนุ่มที่มีอนาคตไกล ยอดนักปั้น Z-Brush เจ้าของฉายา พี่สุชาติ ไปทุกที่ อาจารย์ อัคคภาคย์ ยังคุณ ได้ดึงแนวคิดของเยาวชนทั่วไปที่อาจจะมีความวิตกในการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และต้องการคงความเป็นเด็กเอาไว้

    รวมถึงการต้องการมีตัวตนที่ไม่ต้องการยืดติดกับกรอบประเพณีเดิมๆให้ออกมาเป็นงานประติมากรรม 3 มิติ โดยตีความจากเรื่องเล่าในแง่มุมต่างๆทั้งของไทยและต่างชาติ​สะท้อนออกมาเป็นการ์ตูนสามมิติ

    ขอแนะนำศิลปินคู่ที่สาม ของ “รากเหง้า” ตอนนี้กระแสศิลปินหญิงเริ่มเพิ่มแรงสั่นสะเทือนที่แรงขึ้นไปทั่วโลก เมื่อเทศกาลเวนิสเบียนนาเล่ย์ จับธีมที่เป็นเรื่องที่เฉพาะเพศหญิงเท่านั้นที่รูกันเป็นหลัก ตัวภัณฑารักษ์เองก็เป็นผู้หญิง ศิลปินที่ร่วมงานแสดงเกิน 90% ก็เป็นผู้หญิง ของเรารากเหง้าก็ไม่น้อยหน้ามีศิลปินหญิงร่วมอยุ่ด้วยสองท่าน

    ดร.จุรีพร เพชรกิ่ง ศิลปินจากเทศกาล BAB 2019 ได้หยิบยกสื่งของรอบตัวในสังคมเกษตกรของไทยมาต่อยอดมาเป็นงานในเชิงรูปธรรมที่สื่อให้เห็นถึงการเติบโตที่รวดเร็ดของนวัตกรรมในสังคมไทย

    เช่นเดียวกันกับผลงานของ อาจารย์ ชลลดา ยุระยาตร์ ศิลปินนักออกแบบที่จบการศึกาษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่กล่าวถึง วัฒนธรรมการกินอยู่ในสังคมเกษตกรกรรมของไทยผ่านออกมาในรูปแบบการวาดภาพแบบเรียลลิสติกต์

    และตั้งคำถามให้ผู้ชมตีความว่าอาหารเหล่านั้นมีอยู่จริงหรือเป็นการปรุงแต่งให้เข้ากับยุคสมัยโดยดึงเอาอาหารและสัตว์ต่างที่มีอยู่รอบๆตัวมาประกอบขึ้นเป็นชิ้นงาน

    ผศ.นริส พิเชษฐพันธ์ ช่างภาพ นักออกแบบผู้มีประสบการณ์ในสายเอเจนซี่โฆษณามายาวนานก่อนผันตัวมาเป็นอาจารย์อย่างเต็มตัว ได้ถ่ายทอดศิลปะและวัฒนธรรมผ่านเลนส์กล้อง โดยสะท้อนให้เห็นถึงการผนวกความใหม่และเก่าของสังคมไทยโดยใช้สถานที่และเทคนิคของการถ่ายงานเน้นการสื่อสารกับผู้ชม ในขณะที่ ผศ นริสใช้ภาพถ่ายที่หยุดนิ่งเวลา

    แต่อาจารย์จักรพันธ์ ธนธีรานนท์ ก็ทำงานที่เล่นกับเรื่องของเวลาด้วยการถ่ายภาพแบบ Time-lapse คือการที่ถ่ายภาพต่อเนื่องจนดูเหมือนกับเป็นภาพเคลื่อนไหว เสร็จแล้วจึงนำมาติดตั้งเป็นวีดิทัศน์ สัมพันธ์กับพื้นที่แสดงงาน บอกผ่านเรื่องราวของมุมมองในอดีต

    เทียบเคียงกับมุมมองในปัจจุบัน ที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างตัวศิลปินกับ อาป๊า หรือบิดาผู้ล่วงลับ ผ่านสายตาของตัวศิลปินเองที่เห็นสารัตถะแห่งวิถีชีวิตที่เป็นไปของตนเองจากรากเหง้าในอดีตที่หล่อหลอมให้ปรากฏเป็นปัจจุบัน

    นิทรรศการรากเหง้า

    – วันนี้ – 22 ส.ค.65

    – 10:00-22:00 น. (เข้าชมฟรี)

    – ชั้น M อาคาร C ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ (BTS พร้อมพงษ์)

    – FB : https://web.facebook.com/UTCCDigitlArts/