Thursday, May 25, 2023
More

    พฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์ของคนกรุง

    สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องกิจกรรมของคนกรุงเทพฯ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2560 กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานที่มีอายุ 20-55 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1,239 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24 มีนาคม–5 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

    ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.3 เป็นหญิง และร้อยละ 47.7 เป็นชาย
    เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
    ร้อยละ 24.71 มีอายุ 20-29 ปี 
    ร้อยละ 29.09 มีอายุ 30-39 ปี 
    ร้อยละ 29.34 มีอายุ 40-49 ปี และ
    ร้อยละ 16.86 มีอายุ 50-55 ปี


    ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 29.82 เป็นโสด ร้อยละ 63.24 สมรสแล้ว และร้อยละ 6.94 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ 

    ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.80 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 46.24 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.96 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี 

    ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
    ร้อยละ 31.77 มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท 
    ร้อยละ 39.6 มีรายได้ 15,001-20,000 บาท 
    ร้อยละ 11.8 มีรายได้ 20,001-25,000 บาท 
    ร้อยละ 8 มีรายได้ 25,001-30,000 บาท และ
    ร้อยละ 8.83 มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท

    สำหรับอาชีพ พบว่า 
    ร้อยละ 31.36 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 
    ร้อยละ 25.61 อาชีพค้าขาย 
    ร้อยละ 15.8 อาชีพรับจ้างทั่วไป 
    ร้อยละ 11.99 อาชีพเจ้าของธุรกิจ 
    ร้อยละ 10.22 อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
    ร้อยละ 5.02 อาชีพอื่นๆ เช่น แม่บ้าน สถาปนิก นักศึกษา

    ผลสำรวจพฤติกรรมการชมโทรทัศน์ของคนกรุงเทพฯ พบว่า คนกรุงเทพฯ มีช่องทางในการติดตามรายการต่างๆ ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ (ร้อยละ 89.17) Facebook (ร้อยละ 62.41) หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 47.13) Youtube (ร้อยละ 39.05) และ Instagram (ร้อยละ 17.87) เป็นต้น โดยมีรายการที่ติดตามรับชมใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ข่าว/วิเคราะห์ข่าว (ร้อยละ 29.42) ละคร (ร้อยละ 23.87) กีฬา (ร้อยละ 12.57) วาไรตี้ (ร้อยละ 11.03) และเกมโชว์ (ร้อยละ 8.44) เป็นต้น สำหรับช่วงเวลาที่คนกรุงเทพฯ รับชมรายการโทรทัศน์มากที่สุด ได้แก่ เวลา 21.00-23.59 น. (ร้อยละ 33.96) รองลงมา คือ เวลา 18.00-20.59 น. (ร้อยละ 23.64) เวลา 06.00-08.59 น. (ร้อยละ 21.85) เวลา 09.00-11.59 น. (ร้อยละ 11.29) และเวลา 24.00-02.59 น. (ร้อยละ 4.63) เป็นต้น 

    เกี่ยวกับการรับชมรายการประเภทข่าว ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 43.11 รับชม 5-7 วันต่อสัปดาห์ รองลงมา คือ ร้อยละ 29.99 รับชม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 8.96 รับชม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 1.96 รับชม 1-3 ครั้งต่อเดือน ร้อยละ 4.81 รับชมน้อยกว่าเดือนละครั้ง และอีกร้อยละ 11.17 ไม่เคยติดตามข่าวสารเลย โดยผู้ที่รับชมรายการประเภทข่าวระบุวิธีในการติดตามรับชมว่า ติดตามเนื้อหาของข่าวโดยไม่สนใจว่าผ่านช่องทางใด คิดเป็นร้อยละ 51.60 ที่เหลืออีกร้อยละ 48.40 ติดตามผ่านช่องต่างๆ เป็นหลัก

    สำหรับช่องรายการโทรทัศน์ที่ติดตามรับชมรายการข่าวใน 5 อันดับแรก ได้แก่ ช่อง 3 (ร้อยละ 81.95) ช่อง 7 (ร้อยละ 72.93) ช่อง 9 (ร้อยละ 22.38) ช่องเวิร์คพอยท์ (ร้อยละ 20.72) และช่องไทยรัฐ (ร้อยละ 16.67) ส่วนช่อง Spring News คิดเป็นร้อยละ 2.85 เป็นต้น ส่วนรายการโทรทัศน์ที่ติดตามเป็นประจำใน 5 อันดับแรก ได้แก่ เรื่องเล่าเช้านี้ (ร้อยละ 67.89) สนามข่าว 7 สี (ร้อยละ 56.12) ข่าวสามมิติ (ร้อยละ 44.89) ทุบโต๊ะข่าว (ร้อยละ 13.89) และไทยรัฐนิวส์โชว์ (ร้อยละ 9.84) เป็นต้น ด้านพิธีกรข่าวที่ติดตามเป็นประจำใน 5 อันดับแรก ได้แก่ พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ (ร้อยละ 55.41) อนุวัต เฟื่องทองแดง (ร้อยละ 50.32) กิตติ สิงหาปัด (ร้อยละ 48.10) พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี (ร้อยละ 16.93) และกำภู ภูริภูวดล (ร้อยละ 12.30) เป็นต้น
    เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ติดตามรายการข่าวมากถึงมากที่สุด พบว่า ปัจจัยด้านการนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง น่าเชื่อถือ คิดเป็นร้อยละ 90.51 ปัจจัยด้านการนำเสนอข่าวอย่างครบถ้วน และตรงประเด็น คิดเป็นร้อยละ 82.21 ปัจจัยด้านการนำเสนอข่าวแบบเจาะลึก คิดเป็นร้อยละ 81.37 ปัจจัยด้านการนำเสนอข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไวทันต่อสถานการณ์ คิดเป็นร้อยละ 81.00 ปัจจัยด้านการเล่าข่าวเป็นกันเอง ดูแล้วไม่เครียด สนุกสนาน อ่านข่าวสนุก มีสีสัน คิดเป็นร้อยละ 79.13 ปัจจัยด้านผู้ดำเนินรายการมีบุคลิกภาพที่ดี มีความรู้ น่าเชื่อถือ คิดเป็นร้อยละ 75.04 และปัจจัยด้านผู้ดำเนินรายการมีน้ำเสียงที่น่าฟัง รายงานข่าวดี พูดชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 74.26 เป็นต้น