ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ (CASR) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ผู้สูงวัยไทยใส่ใจสังคมมากน้อยแค่ไหน” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8,14-15, 29 พฤษภาคม และ 4-5 มิถุนายน 2563 จากผู้สูงอายุไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค 1,250 ตัวอย่าง
เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไทยในช่วง 3 เดือนก่อนมีการประกาศ พรก. สถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
ผู้สูงวัย 65.36% ไม่เคยออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว
การสำรวจกิจกรรมที่ผู้สูงวัยไม่เคยทำในชีวิตประจำวัน พบว่า
– ร้อยละ 65.36 ไม่เคยทำกิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว (เช่นดูหนัง ทานข้าว)
– ร้อยละ 54.08 ไม่เคยทำงานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ (เช่นชนไก่ แข่งนกขัน เล่นหวย/ซื้อสลากกินแบ่ง)
ผู้สูงวัย 80.96% ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก อยู่ภายในบ้าน
การสำรวจกิจกรรมที่ผู้สูงวัยทำทุกวันในชีวิตประจำวัน พบว่า
– ร้อยละ 80.96% ทำกิจกรรมภายในบ้านที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก (เช่น ฟังวิทยุ ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ / หนังสือ)
– ร้อยละ 74.96 ทำกิจกรรมในบ้านที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย (เช่นทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร ทำสวนครัว / สวนดอกไม้)
– ร้อยละ 64.64 ออกกำลังกาย (เช่นการเดิน โยคะ แอโรบิค ว่ายน้ำ เต้นรำ / รำไทย)
ผู้สูงวัย 23.68% เป็นสมาชิกขององค์กรผู้สูงอายุ
ในส่วนการสำรวจการเป็นสมาชิก / องค์กรของกลุ่มผู้สูงวัย พบว่า
– ร้อยละ 76.32 ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่ม / องค์กรใด
– ร้อยละ 23.68 ระบุว่าเป็นสมาชิกของกลุ่ม / องค์กร
โดยในกลุ่มผู้สูงวัยร้อยละ 23.68 ที่ระบุว่าตัวเองเป็นสมาชิกของกลุ่ม / องค์กร ยังสามารถแบ่งได้เป็น
– ร้อยละ 52.70 เป็นสมาชิกองค์กรของผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณ (เช่นสมาคมผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุองค์การทหารผ่านศึก เป็นต้น)
– ร้อยละ 46.28 เป็นสมาชิกขององค์กรทางวิชาชีพ (เช่นสหกรณ์ สมาคมแพทย์ เป็นต้น)
– ร้อยละ 5.07 เป็นสมาชิกองค์กรทางสังคม หรือทางนันทนาการ (เช่นโรตารี่ ไลอ้อนส์ ซอนต้า เป็นต้น)
– ร้อยละ 3.04 เป็นสมาชิกองค์กรณ์ทางการเมือง (เช่นพรรคการเมือง)
– ร้อยละ 1.35 เป็นสมาชิกองค์กรด้านชาติพันธุ์ / เชื้อชาติ (เช่นหอการค้าไทย–จีน สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมปักษ์ใต้ เป็นต้น)
ผู้สูงวัย 16.48% ระบุว่าเข้าร่วมงานอาสาสมัครในสถานที่ชุมชน
การสำรวจการเข้าร่วมงานอาสาสมัครในวัด / ศาสนสถาน หรือในชุมชนของผู้สูงวัยพบว่า
– ร้อยละ 83.52 ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด / ศาสนสถาน หรือในชุมชน
– ร้อยละ 16.48 ระบุว่าเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด / ศาสนสถาน หรือในชุมชน
โดยในกลุ่มผู้สูงวัยร้อยละ 16.48 ที่ระบุว่าตัวเองเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด / ศาสนสถาน หรือในชุมชน ยังสามารถแบ่งได้เป็น
– ร้อยละ 49.03 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
– ร้อยละ 40.29 เป็นกรรมการวัด / ศาสนสถาน / โบสถ์
– ร้อยละ 11.17 เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)
– ร้อยละ 6.80 เป็นอาสาสมัครอื่น ๆ เช่นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครตำรวจบ้าน กรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
– ร้อยละ 0.49 เป็นอาสาสมัครโครงการธนาคารเวลา
ผู้สูงวัยร้อยละ 44.72 ระบุว่าใช้ Line เป็นโซเชียลมีเดียหลัก
จากผลสำรวจเผยว่าผู้สูงวัยส่วนมากไม่ใช้สื่อทางสังคม (Social Media) แต่ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร โดยการใช้โซเชียลมีเดียของของผู้สูงวัยที่ตอบแบบสอบถามพบว่า
– ร้อยละ 44.72 ใช้ Line
– ร้อยละ 30.56 ใช้ Facebook
– ร้อยละ 29.60 ใช้ YouTube
– ร้อยละ 4.80 ใช้ Instagram
– ร้อยละ 3.44 ใช้ Twitter
ผู้สูงวัย 30.64% ระบุว่า ไม่มีใครช่วยเหลือการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสำรวจความช่วยเหลือที่ผู้สูงวัยได้รับ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร พบว่า
– ร้อยละ 30.64 ไม่มีใครคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 28.00 มีลูกสาวคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 25.04 มีหลานคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 21.36 มีลูกชายคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 9.20 มีเพื่อนคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 3.04 มีคู่สมรสคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 1.76 มีญาติคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 1.52 มีสะใภ้คอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 1.36 มีน้องสาวคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 1.20 มีลูกเขยคอยช่วยเหลือ
– ร้อยละ 0.88 ได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลอื่น ๆ เช่นเพื่อนบ้าน พนักงานร้านโทรศัพท์
– ร้อยละ 0.56 มีน้องชายคอยช่วยเหลือ