เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เผยผลการศึกษาแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกในปี 2020 การเตรียมพร้อมรับมือในรูปแบบใหม่และการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธุรกิจการค้าปลีก ตั้งแต่ก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ธุรกิจค้าปลีกบางแห่งมีการเติบโต ในขณะบางแห่งต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงของด้านธุรกิจค้าปลีกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้แก่การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจความสำคัญของจุดยืนองค์กรมุ่งเน้นการลงทุนทางด้านตลาดและอำนาจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค
รูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงพัฒนาเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์เป็นสิ่งที่จำเป็น
ก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 ร้านค้าปลีกได้รับความนิยมอย่างสูงสุด ร้านค้าที่มีหน้าร้านยังสามารถกลับมาเติบโตได้ แต่ในขณะนี้จะเห็นได้ว่าการเพิ่มยอดขายทางหน้าร้านเป็นไปได้ยาก ธุรกิจที่ยังไม่ปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์หรือช่องทางสินค้าจะดำเนินการได้ยากลำบากขึ้น แต่ละองค์กรจึงจำเป็นต้องปรับตัวและเรียงลำดับความสำคัญขององค์กรใหม่ นอกจากนี้ในการซื้อขายสินค้า ธุรกิจยังจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยอื่นให้ดีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการขายออนไลน์ การจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine learning) และการใช้เครื่องจักรในระบบปฏิบัติการอัตโนมัติ
แบรนด์ที่ทำประโยชน์ให้สังคม เติบโตมากกว่าถึง 2.5 เท่า
สำหรับผู้บริโภคจะตัดสินแบรนด์สินค้าจากจุดยืนขององค์กร แบรนด์สินค้าที่สามารถทำประโยชน์กับประชาชนจะมีการเติบโตมากกว่าแบรนด์ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ถึง 2.5 เท่า(ในระยะ 12 ปี) ฉะนั้นผู้ประกอบค้าปลีกจึงจำเป็นต้องสร้างความโปร่งใสให้กับองค์กรแบรนด์ที่สนับสนุนเกื้อกูลลูกค้าและพนักงานของตนมากกว่าแบรนด์อื่นที่ได้รับความวางในจากสังคม
ทบทวนต้นทุนการทำธุรกิจและรัดเข็ดขัดในสถานการณ์โควิด-19
ผู้ประกอบการค้าปลีกส่วนใหญ่ต่างเห็นว่าการลดต้นทุนโดยใช้วิธีดั้งเดิมไม่เพียงพอต่อการประคองผลประกอบการและฟื้นฟูธุรกิจ รวมไปถึงการรัดเข็ดขัดให้ตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมาตราการที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและให้มีความชัดเจน หากต้องการที่จะมีกำไรในปีถัดๆไป และคาดหวังว่าจะได้เห็นองค์กรลงทุนเพิ่มคุณค่าให้กับต้นทุนที่มีอยู่ นอกจากนั้นการพิจารณาบทบาทค่าใช้จ่าย การจัดการสินค้าคงคลังและการวางแผนต้นทุนในการขนส่งและรับสินค้า อาจจะได้เห็นผู้ค้าปลีกเริ่มบททวนมูลค่าสินทรัพย์ ขององค์กร โดยเฉพาะร้านค้า พนักงาน และกลยุทธ์มัดใจลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ Customer loyalty
ตัวเลือกผู้บริโภคกลายเป็นที่เพ่งเล็งร้านค้าปลีกต่างเน้นสินค้าที่มีความต้องการของผู้บริโภคสูง
ปัจจุบัน ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการตัวเลือกที่หลากหลายเท่ากับความพร้อมของสินค้าในคลังและการเข้าถึงง่าย โดยเฉพาะช่วงล็อคดาวน์ ร้านสินค้าอุปโภคและบริโภคต่างหาวิธีลดจำนวนชนิดสินค้าลง และเน้นเฉพาะสินค้าที่มีความต้องการสูง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดการเงินทุนหมุนเวียนขององค์กรให้ดีขึ้น ในอนาคต ธุรกิจค้าปลีกที่แข่งขันและอยู่รอดได้มี 2 ประเภทได้แก่ธุรกิจที่เสนอสินค้าที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและธุรกิจที่เสนอขายสินค้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้บริโภค
ซึ่งในปี 2020 แนวโน้มทางธุรกิจค้าปลีก ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า องค์กรต้องมีความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ในการมัดใจลูกค้า (Customer loyalty) และหาวิธีและลักษณะการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าใหม่ๆ ที่มีจุดยืนที่ชัดเจนและโปร่งในการดำเนินธุรกิจ