รายงานการส่งออกชาไทยจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบชาสำเร็จรูปได้รับความนิยมมากสุด ตามด้วยชาเขียว และชาดำ
ไทยส่งออกชาสำเร็จรูปปี 2563 อยู่ที่ 19,605,063 ดอลลาร์
โดยสรุปภาพรวมการส่งออกใบชาในช่วง 7 เดือนแรก ปี 2563 (ม.ค.-ก.ค.) ได้แก่
1.ชาสำเร็จรูป
– 4,971,111 กิโลกรัม
– มูลค่า 19,605,063 ดอลลาร์
2.ชาเขียว
– 492,999 กิโลกรัม
– 4,663,670 ดอลลาร์
3.ชาดำ
– 601,818 กิโลกรัม
– 2,810,489 ดอลลาร์
สำหรับปี 2562 ที่ผ่านมาไทยส่งออกชาสำเร็จรูป
– 7,032,328 กิโลกรัม
– มูลค่า 24,577,655 ดอลลาร์
มีตลาดหลัก คือ
– กัมพูชา 31%
– เมียนมา 20%
– และสหรัฐอเมริกา 18%
ส่วนการส่งออกชาดำ
– 2,256,078 กิโลกรัม
– มูลค่า 9,627,122 ดอลลาร์
มีตลาดหลัก คือ
– อินโดนีเซีย 40%
– สหรัฐอเมริกา 18%
– กัมพูชา 14%
การส่งออกชาเขียว
– 1,057,772 กิโลกรัม
– มูลค่า 9,487,872 ดอลลาร์
มีตลาดหลัก คือ
– อินโดนีเซีย 38%
– เนเธอร์แลนด์ 12%
– มาเลเซีย 9%
ไทยเป็นประเทศที่สามารถเพาะปลูกชาในระดับอุตสาหกรรมได้
โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยว่าไทยถือเป็นประเทศที่สามารถเพาะปลูกชาในระดับอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากไร่ชาภาคเหนือมีจำนวนมาก ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่กรมฯ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าชา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการชาร่วมแสดงสินค้าในงานไทยเฟกซ์
อุตสาหกรรมชาไทยก็เริ่มมีการสร้างแบรนด์สินค้าของคนไทยเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เป็นในลักษณะ OEM ซึ่งจะเน้นผลิตเพื่อส่งขายเป็นวัตถุดิบหรือเป็นชาสำเร็จรูป โดยถือเป็นโอกาสดีในการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาไทย ผ่านการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าชาโดยเฉพาะการผลิตชาอินทรีย์
เพราะปัจจุบันผู้บริโภคทั้งในไทย และต่างประเทศนิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น กรมฯ จึงเน้นส่งเสริมการพัฒนาความพร้อมของอุตสาหกรรมชาตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งภาคการผลิต และภาคบริการต่อเนื่อง และการใช้ประโยชน์จาก FTA ในการลดต้นทุนการส่งออกในต่างประเทศ