Sunday, June 11, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    เผยชาวญี่ปุ่นทำงานในไทยลดลง 22% สวนทางชาวจีนที่เพิ่มขึ้นถึง 31%

    ที่ผ่านมาชาวญี่ปุ่นเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในไทยมากที่สุดมาโดยตลอด คิดเป็น 18% ของจำนวนชาวต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยทั้งหมด แต่กำลังจะลดลง ซีบีอาร์อี พบว่า ชาวจีนเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มมากขึ้น จากการโยกย้ายฐานผลิตออกนอกประเทศจีน รวมถึงชาวฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันตามความต้องการครูที่เชียวชาญภาษาอังกฤษ


    ชาวญี่ปุ่น ทำงานในไทยลดลง เนื่องจากฐานการผลิตที่ย้ายออกไปในประเทศเพื่อนบ้าน

    ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะทำงานในภาคการผลิต การส่งออก ค้าปลีก ยานยนต์ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ ส่วนสาเหตุที่จำนวนชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในไทยลดลง เกิดจากอุตสาหกรรมที่เติบโตสูงมานาน คนในท้องถิ่นมีความสามารถในการทำงานแทนชาวต่างชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงค่าแรงที่ถูกกว่าชาวต่างชาติ และการย้านฐานการผลิตออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและกัมพูชา

    ชาวจีนและฟิลิปินส์ ทำงานในประเทศไทยเพิ่มจำนวนมากกว่าเดิมถึง 38%

    การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างรวดเร็วในช่วงปลายทศวรรษ 2520 จนถึงช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี 2540 คนญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ไทยมีจำนวนประชากรญี่ปุ่นนอกประเทศเป็นอันดับ 4 และมีอันดับสูงที่สุดในปี 2558 รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย ในปัจจุบัน จำนวนชาวญี่ปุ่นได้ลดลงถึง 22% โดยลดลงจาก 36,666 คนในปี 2558 มาเป็น 28,560 คนในไตรมาส 3 ปี 2563 แต่ทางกลับกัน ชาวฟิลิปปินส์และชาวจีนเป็นชาวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 38% (จาก 13,146 คน เป็น 18,472 คน) และ 31% (จาก 18,812 คน เป็น 25,811 คน) ตามลำดับ ระหว่างปี 2558 – ไตรมาส 3 ปี 2563

    เผยลักษณะงานที่ชาวจีนและชาวฟิลิปปินส์เข้ามาทำงานในไทย

    ชาวจีนส่วนใหญ่ทำงานในภาคการผลิต เนื่องจากบริษัทเอเชียรายใหญ่ยังคงย้านฐานการผลิตจากจีนอย่างต่อเนื่องเพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษีของสหรัฐ รวมถึงการที่กลุ่มประเทศอาเซียนนำเสนอตัวเองในฐานะฐานผลิตใหม่ รองลงมาก็คือชาว ชาวฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่แล้วจะเข้ามาทำงานเป็นครู เนื่องจากมีความเชียวชาญด้านภาษาอังกฤษและมีค่าแรงที่ถูกกว่าชาวยุโรป ชาวอเมริกัน ชาวออสเตรเลีย โดยชาวฟิลิปปินส์มีบทบาทสำคัญในโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนสองภาษาในกรุงเทพฯ