- MyCloudFulfillment จับมือกับผู้ลงทุน ECG-RESEARCH, Gobi Partners, NVest Venture และ SCB 10X พร้อมก้าวสู่ความเป็น 1 ด้าน อีคอมเมิร์ซแห่งอนาคต
ทำความรู้จักกับMyCloudFulfillment สตารท์อัพสัญชาติไทยที่ก้าวไกลในระดับสากล
MyCloudFulfillment เป็นบริษัทคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจร ให้บริการ Fulfillment ที่มาพร้อมกับระบบจัดการออเดอร์ (OMS) และระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) ช่วยร้านค้าจัดการ เก็บ แพ็ค ส่งสินค้า และเชื่อมต่อ API เข้ากับช่องทางการขายต่าง ๆ ได้แบบอัตโนมัติ โดยลูกค้าหลัก ๆ ได้แก่ API Lazada, Shopee เป็นต้น ด้วยรูปแบบบริการที่ยืดหยุ่นมีบริการแพ็คสินค้าที่สามารถ customize ได้ตามต้องการ เช่น แพ็คแบบพิเศษ QC สินค้า จัดเซ็ท เพิ่มมูลค่าสินค้าที่มากกว่าแค่รับแพ็คสินค้าทั่วไป อีกทั้งยังช่วยจัดการ Supply Chain จัดการคำสั่งซื้อ และ นำข้อมูลการขายมาใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้ ทำให้บริษัทมี SKU ในระบบมากกว่า 100,000 SKUs, มียอดออเดอร์สูงสุดต่อวันถึง 50,000 ออเดอร์, โดยที่ออเดอร์เติบโตขึ้นจากปีที่แล้วกว่า 6 เท่า และ ภายในครึ่งปีที่ผ่านมามีมูลค่าซื้อขายสินค้าผ่านคลังกว่า 500 ล้านบาท
มองการตลาดแบบผู้บริหารหนุ่มไฟแรง
คุณนิธิ สัจจทิพวรรณ กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง MyCloudFulfillment บริษัท อี-เอ็มพาวเวอร์เมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า
“ปัจจุบันแนวโน้มตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์หรือ อีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ปี 2563 มูลค่าตลาดทั่วโลกจะอยู่ที่ 75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากปี 2562 มีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 3,468 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.6% จากปี 2562 เช่นกัน
ทั้งนี้ความน่าสนใจในตลาดอีคอมเมิร์ซ คือรายได้ของทั่วโลกในปี 2563 มาจากภูมิภาคเอเชียมูลค่าอยู่ที่ 45 ล้านล้านบาท เติบโต 29% จากจำนวนผู้ใช้ถึง 2,133 ล้านคน คิดเป็น 61.5% ของผู้ใช้ทั่วโลก สะท้อนขนาดตลาดที่ใหญ่สุดในโลก หากมองเจาะลึกลงไปในภูมิภาคเอเชีย ยังพบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่มูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงสุดถึง 44% ซึ่งมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะอยู่ที่ 2แสนล้านบาท โตขึ้นมาถึง 42% จากปีที่แล้ว โดยตลาดที่มีกำลังซื้อ คนมีศักยภาพในการใช้จ่ายสูงอันดับหนึ่ง ได้แก่ คนอินโดนีเซีย มีอัตราการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซต่อผู้ใช้ต่อปีที่ 219 เหรียญสหรัฐ คิดเป็น 6,856 บาทต่อคนต่อปี และที่รองลงมาก็คือ คนไทย 215.67 เหรียญสหรัฐ คิดเป็น 6,752 บาทต่อคนต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังมีอัตราคาดการณ์ของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ต่ำกว่าอินโดนีเซียอยู่มาก นั่นหมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเป็นตลาดที่ คนมีกำลังซื้อ และ ยังขยายได้อีกมากในอนาคต”
อีคอมเมิร์ซธุรกิจแห่งอนาคต
“โดยทุกข้อมูลทุกตัวเลข ชี้ชัดว่า ธุรกิจอีคอมเมิรซ์เป็นเทรนด์ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกในอนาคต โดยโปรดักส์ที่น่าสนใจของสายธุรกิจนี้ คือ อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มที่ผ่านการบรรจุภัณฑ์, อุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน และ ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ซื้อ (New normal) และ จากกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ที่เข้ามาทดลองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งติดใจกับการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนธุรกิจที่น่าจับตามองคือ ความงามเครื่องสำอาง,ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย, และ ธุรกิจกลุ่มสุขภาพและอาหารเสริม เนื่องจากมีการเติบโตที่น่าสนใจช่วงโควิด ถึงจะลดตัวลงนิดหน่อยจากการกลับมาของหน้าร้าน แต่จะกลับมาเติบโตได้ดีบนออนไลน์อีกครั้งแน่นอน ท้ายสุดแล้วผลกระทบของวิฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา เป็นเหมือนปฎิกิริยาตัวเร่งให้เกิด The future of commerce หรือการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการขายในโลกอนาคต (New Future) หรือ Data Commerce พร้อมทั้งเผยให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในจุดที่หอมหวานที่สุดในการประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ทั้งนี้ เงินทุนจะนำไปใช้ 2 ส่วน ส่วนแรกคือการพัฒนาระบบการจัดการด้านข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และส่วนที่สองคือการขยายฐานพันธมิตรทางธุรกิจเพิ่มเติม โดยเราร่วมมือกับ agency และ E-commerce enabler ชั้นนำต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ครบวงจร รวมถึงพาตเนอร์พิเศษที่ร่วมกันพัฒนาโซลูชั่น เช่นรูปแบบ white label logistics ที่เราร่วมมือกับ SCG ด้านการขยายคลังสินค้า หรือ รูปแบบที่จับมือกับ SCB 10X ในการทำโซลูชั่นเพื่อร้านค้าในการทำ social commerce เพื่อยกระดับประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค เพราะเราเชื่อมั่นว่าการทำให้ลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นภารกิจสำคัญของเรา”
รับเงินลงทุน Series A มูลค่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากผู้ลงทุน ได้แก่ ECG-RESEARCH, Gobi Partners, NVest Venture และ SCB 10X
ทางด้าน ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัดและผูจัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนผู้ลงทุนของ MyCloudFulfillment กล่าวว่า “ตลาดอีคอมเมิร์ซ และตลาดโลจิสติกส์ในเมืองไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูงและน่าจับตามองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 มีความเข้มข้น และด้วยบริการคลังสินค้าออนไลน์ จัดเก็บ แพ็คสินค้า ของ MyCloudFulfillment มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการพัฒนารูปการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ อีกทั้งสามารถยกระดับการให้บริการไปสู่ระดับอาเซียนเพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง ที่สำคัญมีศักยภาพที่จะก้าวไปเป็นผู้นำด้าน Fulfillment ที่มากกว่าแค่ เก็บ แพ็ค ส่งบนเวทีในระดับภูมิภาคได้ ประกอบกับ SCB 10X ให้ความสำคัญกับสตาร์ทอัพไทยและธุรกิจโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เราให้ความสนใจ เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนรอบ Series A ของทางMyCloudFulfillment ร่วมกับผู้ลงทุนรายอื่น ๆ ซึ่งนอกจากการสนับสนุนด้านเงินลงทุนแล้ว เรายังมีแผนในการพัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ Social commerce ในอนาคตรวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการและลูกค้าอีกด้วย” โดยมีเป้าหมายที่จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปพัฒนาระบบการจัดการด้านข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และขยายธุรกิจเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศ
Partners ของ MyCloudFulfillment เล่าถึงโลกการขายในอนาคตและความร่วมมือ
นายไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า จากผลกระทบที่เราได้รับจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ออเดอร์เราเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เอสซีจี ให้ความสำคัญกับเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอยู่เสมอ จากที่ทาง MyCloudFulfillment ได้นำเสนอไปเกี่ยวกับ อนาคตของโลกการค้า (Future of Commerce) ทำให้เราต้องวางแผนและพร้อมปรับตัวรับมือกับทุกสถานการณ์ สิ่งที่เราต้องทำคือ ปรับตัวให้เร็ว และ ทำตัวให้ยืดหยุ่น เราจึงพาร์ทเนอร์ร่วมกับMyCloudFulfillment เพื่อช่วยกันปรับตัวไปสู่โลกอนาคต ถึงแม้ตลาด E-Commerce จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดก็ตามแต่เราต้องมีวิธีการรับมือ ซึ่งการเก็บรวบรวมดาต้าที่ดีจะช่วยนำมาสร้างมูลค่าให้ผู้ประกอบเติบโตและไปต่อได้ในโลกอนาคต
เอสซีจีเล็งเห็นศักยภาพและผลงานที่ดีของ MyCloudFulfillment เราจึงเลือกจับมือด้วย เราเก่งเรื่อง hardware และเครือข่ายโลจิสติกส์ทั่วประเทศ แต่ MyCloud เก่งเรื่อง software และการจัดการ Fulfillment สำหรับลูกค้า B2C หรือ Online หากเราทั้งสองร่วมมือกัน เราทั้งคู่ก็จะไปข้างหน้าได้เร็วกว่า คุ้มค่ากว่า ซึ่งทั้งหมด เพื่อช่วยก้าวข้ามขีดความสามารถด้านการให้บริการ และตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนสนับสนุนให้ Ecosystem ของสตาร์ทอัพเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนตามแนวทางของเอสซีจีต่อไป
3 สิ่งควรระวัง เพื่อให้ร้านค้าอยู่รอดในโลกอีคอมเมิร์ซแห่งอนาคต ในแบบวิธีคิดของ MyCloudFulfillment
1. Understand lifestyles not trend ต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้าก่อน ไม่ใช่เทรนด์ เนื่องจากยุคดิจิทัลเทรนด์ตลาดหรือผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเชิงลึกจะทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้อย่างยั่งยืน เช่น ผู้บริโภคซื้อแอลกฮอล์ หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และมองหาสินค้าอื่นเพื่อดูแลสุขอนามัย สะท้อนความต้องการสินค้าอื่นอย่างต่อเนื่อง เพราะไลฟ์สไตล์กลัวเชื้อโรค รักสุขภาพไม่เปลี่ยน แต่ความต้องการสินค้าเปลี่ยนได้
“หากผู้ประกอบการยึดติดที่ตัวสินค้าจะขายดีแค่ช่วงเวลาหนึ่งแต่การเข้าใจปัญหาลูกค้า จะสามารถขายดีได้อย่างต่อเนื่อง”
2. Understand journey not channels ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าก่อนเลือกช่องทาง การเข้าใจเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภค (Customer journey) มีความสำคัญมาก เพื่อให้พ่อค้าแม่ขายสามารถนำเสนอสินค้าและบริการ โปรโมชั่น ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Marketplace อย่าง Lazada, Shopee, JD Central Social Commerce อย่าง Facebook, Instagram หรือ ช่องทางเว็ปไซต์ ได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
“ปัจจุบันทุกช่องทางจำหน่ายมีความสำคัญเท่าๆกัน เพราะตอบโจทย์คนละอย่างกัน ไม่มีช่องทางออฟไลน์ หรือออนไลน์สำคัญกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน, Shopee, Lazada หรือ Facebook เพราะแต่ละช่องทางมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าทุกช่องทางจะเหมาะกับทุกคน เช่น Marketplace เป็นการค้นหาสินค้าใหม่ๆ โซเชียลคอมเมิร์ซเป็นช่องทางอ้างอิงว่าสินค้าน่าเชื่อถือ และ Website หรือ Line @ เป็นช่องทางช่วยทำให้เกิดการซื้อซ้ำ แต่ละช่องทางคาแรกเตอร์ต่างกัน ผู้คนที่เข้ามาในช่องทางแต่ละอันก็คาดหวังไม่เหมือนกัน เส้นทางการซื้อสินค้า (Customer journey) ต่างกัน หากคุณทำช่องทาง Marketplace แพง ๆ หวังกำไร โพสขายของหนัก ๆ บนโซเชียลมีเดีย และ ทำเว็บไซต์ตัวเองหรือไลน์ไว้เพื่อหาลูกค้าใหม่ ธุรกิจคุณไปต่อได้ยากแน่ ๆ เพราะใช้แต่ละช่องทางผิดจุดประสงค์ ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ก่อน เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการ โปรโมชั่นที่สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า”
3. Understand patterns not numbers ต้องเข้าใจรูปแบบไม่ใช่ตัวเลข การขายสินค้าออนไลน์ค่อนข้างมีรูปแบบชัดเจน อย่างการจัดโปรโมชั่น 11 11, 12 12 ของ Marketplace แบรนด์ต่างๆ หรือสถานการณ์ก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะรู้ทิศทางสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ สินค้าขายดี เช่น สินค้าแฟชั่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เมื่อถูกกระทบจากโควิดยอดขายจึงหดตัว เป็นต้น
“ไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการยึดติดกับตัวเลขที่คาดการณ์ไปล่วงหน้า เพราะความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอน แม้จะมีดาต้า เราก็ไม่สามารถคาดการณ์อนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่การเข้าใจแพทเทิร์น ทำให้รู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำเราจะไม่พลาดอีก เช่น หากเกิดโรคระบาดอีกครั้ง จะทราบว่าสินค้าหมวดไหนจะตก อันไหนจะเติบโต ที่สำคัญคุณต้องไว้วางใจผู้อื่นมากขึ้นอย่าถือทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง กระจายการทำงานที่ไม่ถนัดให้คนที่เค้าถนัดทำ คุณจะได้สามารถโฟกัสเฉพาะแค่สิ่งที่ถนัดได้ และหากเกิดวิกฤตอีก จะได้ยืดหยุ่นพอที่จะปรับแปลงบริบทได้แบบทันท่วงที ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการนำเงินไปลงทุน ต้องกระจายความเสี่ยง อย่าเพิ่งลงทุนหวังผลระยะยาวและความคุ้มค่า ลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นก่อนดีกว่า”