สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ สำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย อัตราการมีบุตรของวัยรุ่นและการลงโทษเด็กด้วยวิธีรุนแรงที่บ้าน มีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกันแนวโน้มที่น่ากังวลด้านภาวะโภชนาการของเด็กและอัตรการเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมที่ลดลง
อัตราการมีบุตรของวัยรุ่นในประเทศไทยลดลง รวมทั้งการใช้ความรุนแรงลดลงเช่นเดียวกัน
จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย MICS โดยมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและสตรีในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ พัฒนาการ การศึกษา และการคุ้มครองเด็ก จาก 40,660 ครัวเรือนทั่วประเทศ ทำการสำรวจระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน 62 พบว่า อัตราการมีบุตรของวัยรุ่นในประเทศไทยลดลงอย่างมาก จาก 51 คนต่อ 1,000 คนในปี 2558 เหลือเพียง 23 คน ต่อ 1,000 คน ในปี 2562 สำหรับอัตราเด็กอายุระหว่าง 1 – 14 ปีที่ถูกลงโทษด้วยวิธีรุนแรงในบ้านลดลงเช่นกัน จากร้อยละ 75 ใน 2558 เหลือร้อยละ 58 ในปี 2562
เด็กไทยมีสภาวพเตี้ยแคระแกร็น ผอมแห้ง และมีน้ำหนักเกิน ที่เพิ่มสูงขึ้น
จากผลสำรวจที่มีแนวโน้มน่ากังวลทางด้านโภชนาการของเด็กในประเทศไทยพบว่า อัตราเด็กเตี้ยแคระแกร็น ผอมแห้ง และมีน้ำหนักเกิน มีแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งต่อการพัฒนาด้านสมองของเด็ก สุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็กในระยะยาว จากการสำรวจพบว่า โภชนาการในเด็กไทยอายุน้อยกว่า 5 ปี
– ร้อยละ 13 มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น ซึ่งเป็นผลจากการขาดสารอาหารที่มีประโยชน์เป็นระยะเวลานาน
– ร้อยละ 8 มีภาวะ ผอมแห้ง
– ร้อยละ 9 มีน้ำหนักเกิน
ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มจากปี 2558 ที่ภาวะเตี้ยแคระแกร็นอยู่ที่ร้อยละ 11 ผอมแห้ง ร้อยละ 5 น้ำหนักเกิน ร้อยละ 8
ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ครอบครัว ชาติพันธ์ ส่งพัฒนาการเด็กที่ลดลง
ผลสำรวจยังพบอีกว่า แม้นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก แต่มีทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน ร้อยละ 14 ที่ไม่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งลดลงจากในปี 58 ที่ร้อยละ 23 ทำให้เห็นถึงความเลื่อมล้ำที่น่ากังวล โดยความแตกต่างขึ้นอยู่กับการอยู่อาศัย ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ครอบครัว ระดับการศึกษาของแม่ รวมถึงชาติพันธ์ เช่น เด็กที่ต้องอาศัยในครัวเรือนที่หัวหน้าครอบครัวพูดภาษาไทยไม่ได้ เด็กที่อาศัยในครอบครัวยากจน มักจะขาดสารอาหารมากกว่าเด็กกลุ่มอื่น โดยอัตราของเด็กเตี้ยแตระแกร็น คิดเป็นร้อยละ 19 , 18 และ 16 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ สำหรับกรุงเทพฯ เด็กที่ภาวะเตี้ยแคระแกร็น และน้ำหนักเกินมากกว่าภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 17
พบเด็กไทยร้อยละ 82 ไม่ได้เข้าเรียนในระดับมัธยมต้น ผลมากจากครอบครัวที่ยากจน
ในส่วนของด้านการศึกษา ในขณะที่เด็กเกือบทุกคนในประเทศเข้าเรียนและจบชั้นประถมศึกษา แต่อัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลายลดลงอย่างชัดเจนในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจน โดยพบว่า การเข้าศึกษาในระดับมัธยมต้นลดลงถึงร้อยละ 82 ส่วนการศึกษาในระดับมัธยมปลาย ลดลงร้อยละ 53 ซึ่งภาคใต้มีอัตราการเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายต่ำกว่าภาคอื่น