ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หลายประเทศชูนโยบายการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็ให้ความสนใจต่อนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความพร้อมและสนใจซื้อ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคที่จะเร่งให้เกิดยานยนต์ไฟฟ้าเร็วๆ นี้

ไทยพร้อมใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือยัง?
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เผยผลสำรวจ อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ร้อยละ 37 ของผู้ที่กำลังจะซื้อรถยนต์มีความสนใจที่จะซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicles-EVs) เป็นคันต่อไป โดยลูกค้าในฟิลิปปินส์ ไทย และอินโดนีเซีย คือกลุ่มที่มีความต้องการซื้อมากที่สุด
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การเสนอแรงจูงใจที่เหมาะสมจะส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วภูมิภาคให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอันดับแรก และด้านความสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้าเป็นปัจจัยอันดับที่สอง อีกทั้งลูกค้ามีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถยนต์แบบทั่วไป
ผู้บริโภคร้อยละ 75 พร้อมที่จะเปลี่ยนจากรถยนต์ทั่วไปเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าถ้ามีการยกเว้นภาษี รวมถึงแรงจูงใจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าในอาคารที่อยู่อาศัย การมีช่องทางขับขี่พิเศษสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และการไม่เสียค่าที่จอดรถ
แม้ว่าจำนวนผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีค่อนข้างน้อย แต่ความต้องการใช้มีสูง ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากกว่าเมื่อ เทียบกับรถยนต์ระบบสันดาปที่ใช้น้ำมัน การพัฒนาแบตเตอรี่ที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาลง ใช้เวลาชาร์จน้อยลง สามารถวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้นต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง รวมถึงในอนาคตราคาแบตเตอรี่อาจมีแนวโน้มลดลง จนมีผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าปรับลงมาใกล้เคียงกับรถยนต์ระบบสันดาปในอนาคต ซึ่งตอบโจทย์เทรนด์ทั่วโลกที่ต้องการลดใช้พลังงาน


ความเข้าใจต่อเทคโนโลยี EVs
แม้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีความต้องการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสูง โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ ไทย และอินโดนีเซีย แต่ยังมีอุปสรรคหลายด้าน อาทิ การขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ความกังวลใจเรื่องแบตเตอรี่ซึ่งเป็นอุปสรรคหลักของการตัดสินใจซื้อ เช่นเดียวกับที่ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า
นายวิเวก ไวทยา รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบขับเคลื่อนของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เปิดเผยว่า ความเข้าใจเรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปัจจุบันไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงซึ่งสูงกว่ามาก ในทางตรงกันข้าม ความเชื่อที่ว่า ราคาที่สูงของรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นอุปสรรคนั้นกลับไม่มีผล เพราะผู้บริโภคมีความกังวลด้านความปลอดภัยและการชาร์จไฟมากกว่า ซึ่งหากภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐสามารถขจัดอุปสรรคนี้ได้ ความเป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะมีสูงขึ้น
ด้านนายยูตากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโส ระดับภูมิภาคของนิสสัน เปิดเผยว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงแนวทางการดำเนินการในระยะยาวที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละตลาด โดยบริษัทเตรียมนำ Nissan LEAF รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสมบูรณ์แบบเข้ามาทำตลาดในไทยภายในปีนี้ด้วย
ขณะที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า อนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับความร่วมมือของภาคเอกชนและภาครัฐในเรื่องของการชาร์จไฟ ซึ่งคิดว่าต้องใช้เวลาอีกนาน โตโยต้าจึงเน้นรถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยระบบไฮบริด เนื่องจากเชื่อมั่นว่าจะแพร่หลายได้ง่ายมากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ
ส่วนบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จํากัด ระบุว่า อยู่ระหว่างจัดทำโรดแมปเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทรนด์มาแน่นอน แต่รถยนต์ไฟฟ้าล้วนๆ คงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก บริษัทจึงสนใจที่จะพัฒนารถปลั๊กอินไฮบริด โดยจะใส่ระบบไฟฟ้าในรถยนต์แต่ละรุ่น ส่วนจะนำมาขายในไทยเมื่อไรนั้น คงต้องศึกษาความเหมาะสมต่อไป

เช่นเดียวกับบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับคณะกรรมการบีโอไอถึงเงื่อนไขและความเป็นไปได้ในการดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย

เช่นเดียวกับบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับคณะกรรมการบีโอไอถึงเงื่อนไขและความเป็นไปได้ในการดำเนินการลงทุนเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่เท่านั้นที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า แต่รวมไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และส่วนประกอบรายย่อยด้วย โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตส่วนประกอบรถยนต์รายสำคัญรายหนึ่งของโลก จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่ควรเร่งเรียนรู้เทคโนโลยี และปรับการผลิตเพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้ใช้งานและเทรนด์โลกของในอนาคต
คุณวิเวก ไวทยา รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบขับเคลื่อนของฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน
“ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันจะมีความกังวลด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการชาร์จไฟ มากกว่ากังวลเรื่องราคา ซึ่งหากภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐบาลสามารถขจัดอุปสรรคเหล่านี้ลงได้ ความเป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะมีอยู่สูง”

[English]
Future of Electric Vehicles Remain Unanswered
Unresolved air pollution has been one reason for many countries to pursue an electric vehicle (EV) project while a study shows one-third of Asian consumers have shown interest and readiness to purchase this type of vehicle.
A recent survey by Frost & Sullivan, a business consulting firm, suggested that 37% of Asians are currently interested in owning EVs, with those in the Philippines, Thailand and Indonesia having the highest purchasing power. The reasons behind their motivation to purchase EVs included safety, convenience and financial readiness.
Despite Southeast Asian consumers’ apparent demand for EVs, there remain several obstacles that come to play, such as the lack of accurate knowledge and understanding about this kind of automotive, concerns over the use of battery and some consumers’ fragile confidence in the safety standards of EVs.
Nissan’s senior vice-president for Asia and Oceania, Mr. Yutaka Sanda, said that the drastic growth of EVs requires close collaboration between the public and the private sector while Toyota Motor Thailand agrees that the future of EVs relies on such cooperation, particularly in the area of the recharging of the battery, which looks likely to take more time to be fully developed.
Mitsubishi Motors Thailand said that the company has been working on the roadmap for EVs, which it believes is the future trend although a complete version of EVs may be difficult to be developed, while Mazda Sales (Thailand) revealed that it has been discussing with the Board of Investment of Thailand about the possible investment in the EV sector.