Sunday, June 11, 2023
More
    spot_imgspot_imgspot_imgspot_img

    ธุรกิจออนไลน์รุกตลาดอาหาร รับยุค 4.0

    เทรนด์การเติบโตของฟู้ดเดลิเวอรี่ยังมีแนวโน้มสดใส สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนเมืองรุ่นใหม่ที่เน้นความสะดวกสบาย

    และเข้าถึงโซเชียลมากขึ้น ขณะเดียวกันเทรนด์การจองร้านอาหารออนไลน์ก็ตอบสนองความต้องการทั้งในแง่ผู้บริโภค


    และผู้ประกอบการได้อย่างดี ส่งผลให้ตลาดอาหารออนไลน์ยังคงมีการแข่งขันอย่างดุเดือด


    ผู้ประกอบการพึ่งพาฟู้ดเดลิเวอรี่มากขึ้น
    ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ถือเป็นธุรกิจสำคัญที่แข็งแกร่งและแพร่หลาย มีขนาดใหญ่และแข่งขันสูง เรียกได้ว่า ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนตลอดมา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์มูลค่าตลาดธุรกิจอาหารในปี 2561 อยู่ที่ 411,000-415,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4-5 จากปี 2560 โดยการขยายตัวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันของต้นทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าเช่าพื้นที่ในทำเลศักยภาพและต้นทุนค่าแรง ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องตั้งราคาอาหารในระดับสูง เพื่อให้ครอบคลุมภาระต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น

    ขณะเดียวกันก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวตามตลาดผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และความหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งทำให้เกิดบริษัทใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเพิ่มเติม เช่น Line Man, GrabFood, Foodpanda ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ในรูปแบบ Third Party หรือแม้แต่การเข้ามาของ eatigo แพลตฟอร์มการจองร้านอาหารออนไลน์ ที่เป็นเครื่องมือเชื่อมต่อลูกค้าและร้านอาหารโดยผ่านการใช้ส่วนลดเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าไปทานช่วงเวลาที่ต้องการ

    บริษัทเหล่านี้ต่างใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางที่ง่ายและสะดวกสบาย ผู้ประกอบการสามารถขยายช่องทางการขาย อีกทั้งยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคมากขึ้น

    ผลสำรวจจาก 100% Home Delivery/Takeaway in Thailand โดยยูโรมอนิเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า ธุรกิจเดลิเวอรี่และเทคอะเวย์ มีมูลค่าสูงถึง 26,000 ล้านบาทเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา โดยผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและให้การยอมรับร้านอาหารแบรนด์ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เชนมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะพึ่งพาอาศัย Third Party ในการเดลิเวอรี่

    โดยแบ่งสัดส่วนการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่ออกเป็น สั่งกลับบ้านร้อยละ 84 และสั่งไปที่ทำงานร้อยละ 16 โดยร้อยละ 74 ของยอดการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่จะเกิดขึ้นในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ แสดงให้เห็นว่า คนเมืองยุคปัจจุบัน เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการจราจรติดขัดในช่วงวันหยุด ขณะเดียวกันก็ยังมีความต้องการรับประทานอาหารอร่อยๆ ที่ถูกปาก ถูกใจ กอปรกับการครอบครองสมาร์ทโฟนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเรื่องสามัญ


    เทรนด์คนเมืองรับกระแสจองร้านอาหารออนไลน์
    ด้านผลสำรวจพฤติกรรมการสั่งอาหารออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงเปิดเทอมต้นปีที่ผ่านมา ระหว่างเดือนม.ค.-ก.ค. ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จาก Foodpanda ผู้ให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ระดับโลก พบว่า ปี 2561 การสั่งอาหารออนไลน์ในกลุ่มนักเรียน-นักศึกษามหาวิทยาลัยมีเพิ่มมากขึ้น 25% เมื่อเทียบกับปี 2560 เเสดงให้เห็นถึงเทรนด์ในการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายและความสนใจในการสั่งอาหารออนไลน์ที่สูงขึ้น โดยช่วงเวลาที่นัก-ศึกษามหาวิทยาลัยสั่งอาหารมากที่สุดคือช่วงมื้อเย็น มียอดสั่งซื้อที่ 40% ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน ออเดอร์ที่สั่งในช่วงเวลานี้ตกอยู่ที่ 48% ของจำนวนออเดอร์ทั้งหมดในหนึ่งวัน

    ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารจากหลากหลายกลุ่มลูกค้าและประเภท ที่ใช้บริการจาก eatigo พบว่า แพลตฟอร์มการจองร้านอาหารออนไลน์สามารถตอบสนองความต้องการทั้งในแง่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้อย่างดี

    คุณจิรยุว์ ณ ระนอง ผู้บริหารร้าน Chu & Chocolate Bar หนึ่งในผู้ที่ใช้บริการจากแพลตฟอร์ม eatigo เปิดเผยว่า eatigo สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้มากพอสมควร ทั้งในแง่ของการรักษาลูกค้าเก่าและสร้างฐานลูกค้าใหม่ อีกทั้งเพิ่มจำนวนลูกค้าหมุนเวียนภายในร้าน ลูกค้าบางคนไม่กล้าที่จะเข้ามาใช้บริการในบางวันหรือบางช่วงเวลาที่ร้านดูโล่ง แต่การจองร้านอาหารออนไลน์สามารถเติมพื้นที่เหล่านั้นได้ อีกทั้งทำให้สร้างรายได้มากขึ้น วัตถุดิบในร้านไม่ศูนย์เปล่า และเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะได้ลองเข้ามารับประทาน และสัมผัสบรรยากาศภายในร้านมากขึ้น

    ด้านคุณสุทธิรัตน์ กาญจนพันธุ์ General Manager ร้านอาหาร Kyochon เปิดเผยว่า ทางร้านต้องการเพิ่ม Awareness สำหรับร้าน โดย eatigo เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ได้ลูกค้าใหม่ที่มองหาโปรโมชั่น และร้านใหม่ๆ ซึ่งผลตอบรับทำให้ธุรกิจโตขึ้น โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกที่ใช้บริการ ร้านได้ลูกค้าใหม่เยอะมาก หลังจากนั้นส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มาทานซ้ำเป็นส่วนใหญ่ ช่วยเพิ่มปริมาณลูกค้าในช่วง ออฟพีคไทม์ ได้เป็นอย่างดี

    ผลตอบรับจากการจองร้านอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสังคม แสดงให้เห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ชื่นชอบการจองร้านอาหารในรูปแบบนี้ เพราะนอกจากจะประหยัดเวลา ลูกค้ายังได้รับประโยชน์ในแง่โปรโมชั่นการจอง รวมถึงการใช้งานแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ง่าย หรือแม้แต่การเข้ามาของแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ที่ต้องการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ก็ช่วยส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่มยอดขายและขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งทำให้ธุรกิจอาหารพร้อมสำหรับการแข่งขันในยุค 4.0 นี้
    __________
    คุณอพิเกียรติ ลีรัตนขจร – ผู้บริหารร้านอาหาร Sushi Yama
    “ปกติแล้วกิจการร้านอาหารจะมีช่วงที่เรียกว่า พีคไทม์ และ ออฟพีคไทม์ อยู่ eatigo เป็นเครื่องมือในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามารับประทานอาหารที่ร้านในช่วง ออฟพีคไทม์ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทำให้ยอดขายดีขึ้น มีฐานลูกค้ามากขึ้นรวมทั้งได้ลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้น อีกทั้งได้รับความสะดวกสบายในการจัดการร้านได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถเข้าไปดูข้อติชม การให้คะแนนร้าน ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้สะดวกและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที”


    [English]
    Food Business on Aggressive Online Approach in 4.0 Era

    Food business in Thailand has long been a strong and well-established sector that contributes to the country’s sustained economic growth after all these years.  Kasikorn Research Center estimated that Thailand’s food business should be worth around 411-415 billion baht in 2018, up 4%-5% from a year ago.  The expansion has been attributed to higher prices driven by rising cost.

    Consumers’ demand for convenience and variety than led to the introduction of new businesses, such as Line Man, GrabFood and Foodpanda, that focus on the food delivery service.  The 100% Home Delivery/Takeaway in Thailand study by Euromintor suggested that the food delivery and takeaway sector was worth 26 billion baht in 2017.

    Food business operators have also found Eatigo, a third-party online service, which helps connect diners with restaurants and offers discount to boost traffic, a means that effectively satisfies both consumers and operators.