Friday, December 9, 2022
More

    นักดื่มไทยลด 28.4% สิงห์อมควันหาย 19.1% จากการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต

    ผลจากการปรับเพิ่มราคาสินค้าจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 พบว่า ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ของชาวไทยลดลง โดยตลอดปี 2561 ค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 3.0

    ข้อมูลจากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า คนไทยมีอัตราการดื่มสุราและสูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ดื่มสุราลดลงจาก 18.6 ล้านคน หรือร้อยละ 34.0 ในปี 2558 เป็น 15.9 ล้านคน หรือร้อยละ 28.4 ในปี 2560 ขณะที่ผู้สูบบุหรี่ลดลงจาก 10.96 ล้านคน หรือร้อยละ 19.9 เป็น 10.68 ล้านคน หรือร้อยละ 19.1 ในช่วงเวลาเดียวกัน


    สถานการณ์ที่ดีขึ้นสะท้อนถึงประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ทั้งมาตรการด้านภาษี/ราคา การลดการเข้าถึงของผู้บริโภค อาทิ การควบคุมวันเวลาและสถานที่จำหน่าย การกำหนดอายุของผู้ซื้อและผู้ขาย การควบคุมการโฆษณา และการรณรงค์ผ่านช่องทางต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

    ขณะเดียวกัน ตลอดปี 2561 ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงจาก 142,230 ล้านบาท ในปี 2560 เป็น 139,624 ล้านบาท ในปี 2561 หรือลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ลดลงจาก 56,459 ล้านบาท เป็น 54,738 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.0 ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มราคาสินค้าเป็นเท่าตัวจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2560 ส่งผลให้การบริโภคของประชาชนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2560 สอดคล้องกับรายได้จากภาษีสรรพสามิตที่ลดลง ประกอบกับมีการรณรงค์งดสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง

    โดยในปี 2561-2562 มีการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่สำคัญ ได้แก่
    1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดวิธีการ หรือลักษณะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการใช้เครื่องจ่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ พ.ศ. 2561 เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในร้านค้าสะดวกซื้อเพื่อจูงใจให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากขึ้นโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันท่ี 31 ตุลาคม 2561

    2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนด ประเภทหรือช่ือของสถานท่ีสาธารณะ สถานท่ีทำงาน และ ยานพาหนะ ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือท้ังหมดของสถานที่ และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 เพื่อปกป้องสิทธิและสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562

    3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบและ ผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นการบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ1 เป็นประเทศแรกในเอเชียและ เป็นประเทศท่ี 11 ของโลก โดยจะมีผลบังคับใช้วันท่ี 10 กันยายน 2562 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความดึงดูดของผลิตภัณฑ์ ป้องกันไม่ให้ใช้ซองบุหรี่ในการโฆษณา ป้องกันไม่ให้ใช้สีหรือ ข้อความบนซองบุหรี่สื่อสารข้อมูลผิดๆ และทำให้ภาพคำเตือน อันตรายของบุหรี่บนซองมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้ถึง 111,794 คนต่อปี สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นกรณีซองบุหรี่แบบเรียบในกลุ่ม นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาทั่วประเทศ 1,239 คน ของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ พบว่า ซองบุหรี่แบบเรียบจะส่งผลให้กลุ่มวัยรุ่นไม่อยากซื้อบุหรี่ มากกว่าซองบุหรี่แบบเดิมถึง 57% และทำให้เห็นอันตรายจาการสูบบุหรี่มากกว่าซองบุหรี่แบบเดิมถึง 47.5%

    4. การดำเนินการรณรงค์ขับเคลื่อนโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 โดยใช้กลไกในพื้นที่ดำเนินการ อาทิ อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 1 คน เป็นผู้รณรงค์ชักชวน ประชาชนในพื้นที่อย่างน้อย 3 คน ลด ละ เลิกบุหรี่ และสามารถเลิกบุหรี่ได้ต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน ปัจจุบันมีประชาชนเข้าร่วม โครงการฯ 2,285,808 คน คิดเป็นร้อยละ 76.19 และมีผู้เลิกบุหรี่ได้ 6 เดือนข้ึนไป จำนวน 96,941 คน นอกจากนั้น ยังมีการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ร่วมกันกำหนด มาตรการทางสังคม และพัฒนาระบบการบริการ เพื่อการ ควบคุมการสูบบุหรี่ในพื้นท่ี โดยใช้ 5 ปฏิบัติการสาคัญ คือ (1) สร้างบุคคลต้นแบบ (2) เพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ (3) สร้างคลินิก เลิกบุหรี่ (4) เพิ่มกติกาทางสังคม และ (5) บังคับใช้กฎหมายผ่านกลยุทธ์ ประกอบด้วยสร้างเสริมและส่วนร่วม