Wednesday, December 6, 2023
More

    เด็กไทยเปย์เก่ง! ชอปปิงออนไลน์เพิ่มขึ้น 5 เท่า

    เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่กลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่และกลุ่มใหญ่บนโลกออนไลน์ โดยผลสำรวจชี้ว่าเด็กไทยซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น 5 เท่า จาก 1.02% เป็น 5.64% ซึ่งนับเป็นความสนใจอันดับ 4 รองมาจาก การเล่นโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง และการเล่นเกมส์

    เปิดพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ของเด็กไทย 
    ข้อมูลทางสถิติของ Kaspersky Lab บริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตระดับโลก ระบุว่า หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เด็กทั่วโลกหันมาเป็นผู้บริโภคในการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น พวกเขาสนใจในการซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วมากกว่า 3 เท่า นั่นคือ จาก 2% เพิ่มเป็น 9%


    โดยข้อมูลแสดงให้เห็นถึงการเติบโตในการใช้งานซื้อของออนไลน์ในแถบรัสเซียและประเทศในโซน CIS หรือกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เช่น อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย คาซัคสถาน เป็นต้น คิดเป็น 23% ตามมาด้วยโซนอเมริกาเหนือ 15% ยุโรปและตะวันออกกลางคิดเป็น 11% ส่วนเอเชียและละตินอเมริกาคิดเป็น 9%

    สำหรับประเทศไทย เด็กให้ความสนใจกับการซื้อของออนไลน์เติบโตขึ้น 5 เท่า จาก 1.02% เป็น 5.64% ซึ่งนับเป็นความสนใจอันดับ 4 รองมาจาก การเล่นโซเชียล มีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง และการเล่นเกมส์ (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 1)


    จากรายงานแสดงให้เห็นว่า เด็กๆ ก็เหมือนผู้ใหญ่ที่ชอบและสนุกกับการค้นหาของที่อยากได้ผ่านทางออนไลน์ ดังนั้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องแนะนำและสนับสนุนเด็กๆ ให้ชอปปิงออนไลน์อย่างถูกวิธีและเป็นประโยชน์ โดยปราศจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากมีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการชำระเงินให้กับพวกหลอกลวงออนไลน์ หรือเข้าไปในกับดักของพวกต้มตุ๋นหรือทำให้โดนหลอกเอาเงินไป ซึ่งผู้ปกครองควรจะต้องคอยสอดส่องและเฝ้าติดตามเวลาที่เด็กๆ ท่องโลกออนไลน์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

    Nike และ Apple แบรนด์ดังขวัญใจเด็กทั่วโลก
    แม้การเติบโตด้านการชอปปิงออนไลน์ของเด็กจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ แต่สิ่งที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ เว็บไซต์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดทั่วโลก ได้แก่ AliExpress Amazon และ Ebay โดยเฉพาะเว็บไซต์ในประเทศจีน เด็กๆ จะให้ความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องทุกปี

    สำหรับประเภทสินค้า ด้านสปอร์ตจะเป็น Nike กับ Adidas ที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ส่วนสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ Apple กับ Samsung และสินค้าแฟชั่นต่างๆ ได้แก่ Gucci Vans Supreme Zara และ Bershka (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 2)


    อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่า การค้นหาสินค้าออนไลน์หรือแม้แต่การเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องจบด้วยการซื้อของ พวกเด็กๆ อาจเพียงแค่เข้าไปดูในรายการของที่อยากได้ และนำมาบอกเพื่อนๆ และครอบครัว เพราะฉะนั้นการที่เด็กๆ ให้ความสนใจในการซื้อของออนไลน์เพิ่มมากขึ้นก็ไม่ควรจะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมและให้คำแนะนำในความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและสิ่งที่ควรระวังพื้นฐานทั่วไป

    เศรษฐกิจดิจิทัลไทยโตอันดับ 2 ในอาเซียน
    ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ซึ่งถือได้ว่าประชากรมีส่วนร่วมในการใช้งานออนไลน์มากที่สุด โดยตลาดอีคอมเมิร์ซตั้งเป้าการซื้อของออนไลน์ในส่วนของค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็น 10% ภายในปี 2566 ซึ่งเด็กในปัจจุบันจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน เพราะพวกเขาเริ่มการซื้อของออนไลน์ด้วยตัวเองเร็วขึ้น (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 3)


    ขณะเดียวกันผลสำรวจล่าสุดจาก VISA คาดว่าในอนาคตคนไทยจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่ผู้บริโภคนิยมใช้เงินสดในการทำธุรกรรมเพียง 43% สะท้อนให้เห็นเทรนด์การใช้จ่ายเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช่แค่การ Transform อุตสาหกรรม แต่ยังเป็นการ Transform พฤติกรรมการใช้จ่ายตั้งแต่วัยเรียนอีกด้วย

    ด้าน Kaspersky Lab ได้ให้คำแนะนำเพื่อความปลอดภัยจากการใช้งานในการท่องเว็บไซต์ซื้อของออนไลน์ต่างๆ อย่างการเตือนเด็กๆ ว่าหากมีการใช้งานไวไฟสาธารณะและชำระเงินออนไลน์ จะทำให้ถูกการขโมยข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย ดังนั้นไม่ควรใช้ไวไฟสาธารณะในการซื้อของออนไลน์

    นอกจากนี้ผู้ปกครองควรตกลงกับเด็กๆ ว่าก่อนที่จะทำการซื้อของออนไลน์จะต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ไม่ควรให้ข้อมูลบัตรเครดิตกับเว็บไซต์ที่น่าสงสัยหรือไม่คุ้นเคย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากอาชญากรทางไซเบอร์ อีกทั้งให้หลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลใดๆ จากร้านค้าไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์หรือผ่านทางออนไลน์

    Cyber bully ภัยที่ต้องระวัง
    ขณะเดียวกันปัญหาซึ่งตามมาจากการใช้สื่อออนไลน์ของเด็ก ไม่ใช่เพียงแต่เงินในกระเป๋าของผู้ปกครองจะรั่วไหลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมการรังแกกันผ่านไซเบอร์ (Cyber bullying) ซึ่งนับเป็นความรุนแรงรูปแบบใหม่ เพราะการใช้พื้นที่ของโลกไซเบอร์ต่างกับการรังแกรูปแบบอื่น ซึ่งไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ถูกกระทำ จึงถูกนำมาใช้เป็นช่องทางโจมตี

    ผลวิจัยจากดีแทคและคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์มีจุดเริ่มต้นจากการรังแกทางวาจา ไปสู่ทางร่างกาย ไปสู่ทางสังคม แล้วก็ทางสังคมจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการการรังแกทางไซเบอร์ ซึ่งเทคโนโลยีทำให้รูปแบบการการรังแกมีความรุนแรงมากขึ้น

    นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานที่เกิดการกลั่นแกล้งกัน ประมาณ 2 ใน 3 เกิดขึ้นในห้องเรียน ส่วนใหญ่มาจากเพศชาย ลักษณะการแกล้งมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีแนวโน้มเป็นกลุ่ม สามารถเห็นได้ชัดเจนในกลุ่ม LGBT ซึ่งมักเป็นผู้ถูกกระทำ โดยมักถูกกลั่นแกล้งทางวาจา ทางเพศและทางไซเบอร์อย่างเห็นได้ชัด (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 4)

    ล่าสุด ดีแทคพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ Safe Internet เพื่อให้เด็กและครอบครัวใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Parent Zone ผู้ให้บริการด้านความรู้เด็กในยุคดิจิทัลสัญชาติอังกฤษ ประกอบด้วยเกมทดสอบความเข้าใจโลกออนไลน์ คลังคำศัพท์ แบบฝึกหัด และคำแนะนำสำหรับครู ตลอดจนผู้ปกครอง

    ทั้งนี้ ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และอันตรายจากการท่องอินเทอร์เน็ต สะท้อนให้เห็นว่าเด็กใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของสังคมพวกเขา ทำให้การจัดการกับปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ดังนั้นผู้ปกครองเองควรหันมาใส่ใจเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จำเป็นต้องเข้ามาดูแล เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ดีต่อสังคมอินเทอร์เน็ต


    ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ – ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
    “เมื่ออินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลและให้โอกาสต่างๆ มากมายกับเยาวชน เด็กกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าพวกเขาจะใช้จ่ายหรือไม่ก็ตาม พวกเขาจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันหากต้องการป้องกันการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ อาจต้องเริ่มจากการป้องกันกลั่นแกล้งทางสังคมกายภาพจริง พร้อมกับการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการรังแก เพราะหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กโตขึ้นในอนาคต การใช้กำลังจะถูกปลูกฝังว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และอาจแปรสภาพไปสู่การข่มขู่และการละเมิดอื่นๆ”


    [English]
    Young Thais’ online shopping value quintuple over year
    Statistical data collected by Kaspersky Lab showed more young citizens around the world have become active online consumers in the past year.   

    The report showed a significant growth in e-commerce in Russia and CIS (the Commonwealth of Independent States, or CIS, which was formed when the former Soviet Union or Russia totally dissolved in 1991) countries, where the growth rate was 23%, followed by North American (15%), Europe and the Middle East (11%), and Asia and Latin American (9%).

    In Thailand, young consumers’ interest in online purchases quintupled to 5.64% from 1.02%.

    The report suggested that young people are like adults when it comes to having fun doing online shopping, and parents should provide advice and support for them to do it correctly and safely.

    Among issues parents should watch out for their children while going online are personal data protection and cyberbullying.

    Nevertheless, while young shoppers’ interests vary, AliExpress, Amazon and Ebay are only a few e-commerce websites popular among them.  

    In terms of products, such sports brands as Nike and Adidas have been the most popular searches on e-commerce platforms, while Apple and Samsung have been so for electronic goods and Gucci, Vans, Supreme, Zara and Bershka have been the most searched brands for fashion products.

    Meanwhile, Thailand’s e-commerce market, which is the second largest in Southeast Asia — after Indonesia, is expected to grow 10% by 2023.

    A survey by Visa suggested Thailand will become a completely cashless society in a near future as only 43% of Thai consumers currently prefer using cash.