Wednesday, December 7, 2022
More

    เสียงคนไทยย้ำให้รัฐบาลทำตามนโยบายที่หาเสียง พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับความเชื่อมั่นอันดับ 1

    ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง เมื่อวันอังคาร ที่ 16 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา รวมทั้งได้มีการประชุม ครม. ครั้งแรกในวันเดียวกัน อันนับว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ครม.ประยุทธ์ 2/1 อย่างเป็นทางการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการประชุมเพื่อทำความรู้จักกันแล้ว ยังได้หารือถึงร่างนโยบาย ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ให้เป็นแนวทางการทำงาน และนโยบายของรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2562


    ในส่วนของนโยบายของรัฐบาลนั้น ได้เริ่มเสียงจากประชาชนออกมาทวงถามถึงนโยบายที่ได้ใช้ในเมื่อตอนหาเสียงเอาไว้ ซึ่งเมื่อดูจากการเผยผลสำรวจเรื่องเสียงของประชาชนทวงสัญญานโยบายเร่งด่วน โดยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) พบว่าส่วนใหญ่ 91.4% ต้องการให้รัฐบาลในการทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้



    โดยนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลที่เคยหาเสียงไว้ที่ประชาชนต้องการให้ทำมากที่สุด 83.3% นโยบายประกันรายได้ ของพรรคประชาธิปัตย์ พืชผลทางการเกษตร เช่น ยางพารา กิโลละ 60 บาท ข้าวไม่ต่ากว่าเกวียนละ 10,000 บาท ปาล์ม 10 บาทต่อกิโลกรัม ตามมาด้วย นโยบายจบปริญญาตรีรับขั้นต่ำ 20,000 บาทต่อเดือน ของพรรคพลังประชารัฐ ที่ 74.2%, นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อเดือน ของพรรคพลังประชารัฐ 70.2% และ พักหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 5 ปี ผ่อนคืนเงินต้น 10 ปี ใช้ภาษีเงินได้หักลดยอดหนี้ได้ ของพรรคภูมิใจไทย 68.4%


    นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอให้มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต้องการเห็นในนโยบายรัฐบาล ซึ่งที่ต้องการมากที่สุดคือเรื่องค่าครองชีพสูง 61.5% รองลงมาคือ ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 55.2%, ความไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ  51.4%,​ ความไม่ปลอดภัยทางถนน อุบัติเหตุ หวาดกลัวแม้ข้ามทางม้าลาย 49.1 รวมถึง ปัญหาคนไทย ตกงาน ถูกแย่งอาชีพ อาชีพไม่มั่นคง 45.4%

    แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ 74.2% ต้องการให้แก้ปัญหาปากท้องก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ

    อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ รัฐมนตรีที่ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุด อันดับที่ 1 คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 73.8%  รองลงมา อันดับที่ 2  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ 7.1% และอันดับที่ 3 นายวิษณุ เครืองาม 4.8% อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ 92.1% ต้องการเอาผิดพรรคการเมืองตามกฎหมาย ถ้าไม่ทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชน


    ผช.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อานวยการสานักวิจัยซูเปอร์โพล กล่าวว่า ปัญหาปากท้องค่าครองชีพ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาตกงาน งานไม่มั่นคง ปัญหาสิทธิเสรีภาพทางการเมือง และการขาดแคลนทุนการศึกษาของคนในครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่สุด พรรคการเมืองทุกพรรคเอาความจริงของความเดือดร้อนของประชาชนมาเป็น โจทย์ตั้งไว้และแก้ไขให้ตรงโจทย์มากกว่าการตั้งเป้าโจมตีโค่นล้มกัน ถ้าสาธารณชนได้เห็นภาพของการจับมือกันระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และแกนนาฝ่ายค้าน น่าจะทา ให้บรรยากาศบ้านเมืองและกำลังใจ สุขภาพจิตของประชาชนทั่วไปดีขึ้นได้บ้าง

    ปัญหาเร่งด่วนที่ฝากรัฐบาลแก้
    ขณะเดียวกัน สวนดุสิตโพล ได้เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยในเรื่อง ปัญหาท่ีประชาชนอยากฝากถึงคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ “ครม.ประยุทธ์ 2” โดยปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไขมากที่สุดคือ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขึ้นเงินเดือน และขึ้นค่าแรง 63.99% รองลงมาเป็นการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร และกระตุ้นการส่งออก 43.26% ส่วนปัญหาสังคม ที่ควรเร่งดำเนินการอันดับแรกคือ ปราบปรามยาเสพติด อาชญากรรม และความไม่ปลอดภัยในชีวิต 61.45% ตามมาด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เช่น ปัญหาปากท้อง สุขภาพร่างกาย เป็นต้น 57.11% ขณะที่ปัญหาการเมือง คือการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชัน และการใช้งบประมาณโครงการต่างๆ 56.32% และเล่นการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ใส่ร้าย โจมตีกัน 33.91%


    ส่วนใหญ่อยากให้แก้ รธน. อย่างเร่งด่วน
    ขณะเดียวกัน นิด้าโพลยังได้สำรวจถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง รัฐธรรมนูญ 2560 จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่ โดยส่วนใหญ่ 37.04% ระบุว่าจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน เพราะการได้มาของนายกรัฐมนตรี และ ส.ว. ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีความยุติธรรม ไม่แตกต่างกับการรัฐประหาร ขัดกับความต้องการของประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพ เกิดความวุ่นวายขึ้นในสภาฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป อยากให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้

    ส่วน 17.15% ระบุว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีแล้ว ควรแก้ไขที่ตัวบุคคลมากกว่าแก้ที่รัฐธรรมนูญ

    โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแก้ไข ส่วนใหญ่ 43.56% ระบุว่าควรใช้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะที่ผู้ระบุว่าควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ ส่วนใหญ่ 43.29% ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลา 1 ปี

    สำหรับความคิดเห็นต่อประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยผู้ที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน และผู้ที่คิดว่าควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ และหรือค่อยแก้ไข ส่วนใหญ่ 56.01% ระบุว่าต้องแก้ไขในประเด็นที่มาและอำนาจสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รองลงมา 42.90% คือประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี