Wednesday, May 24, 2023
More

    27 ปี รฟม. มุ่งมั่นพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ยกระดับคุณภาพชีวิต-การเดินทางของคนเมือง

    นับเป็นเวลา 27 ปี ที่ รฟม. ยังคงมุ่งมั่นขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า จาก 2 เส้นทาง คือ “MRT สายสีน้ำเงิน” และ “MRT สายสีม่วง” ให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยเติมเต็มการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ให้พร้อมใช้งานและเปิดได้เร็วกว่าแผน พร้อมทั้งเดินหน้าสร้างโมโนเรล 2 สายแรกของประเทศไทย ชมพู-เหลือง และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) รวมถึงต่อขยายเพิ่มอีกใน กทม.-ปริมณฑล 5 เส้นทาง และในภูมิภาคอื่นอีก 4 จังหวัดใหญ่ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน

    รฟม. มุ่งยกระดับการเดินทาง
    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ ไทย (Mass Transit Rapid Authority of Thailand) หรือ รฟม. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2535 โดยมีบทบาทและหน้าที่ในการรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยกระดับการเดินทางของประชาชนให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีภารกิจในการดำเนินกิจการรถไฟฟ้าและธุรกิจอื่นเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการกิจการรถไฟฟ้า



    ขยายเส้นทางเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้สมบูรณ์
    นับจากวันเริ่มก่อตั้งมา รฟม. ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนพร้อมเปิดให้บริการแล้วหลายเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2547

    ตามด้วยรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงช่วงคลองบางไผ่-เตาปูน ที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่  6 สิงหาคม 2559

    และเพื่อให้โครงข่ายการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ามีความครอบคลุมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รฟม. จึงได้ดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน อีก 2 ช่วงเพิ่มเติม คือ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงเตาปูน-ท่าพระ เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพชั้นในได้โดยสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการ ช่วงหัวลำโพง-บางแค 7 สถานี ระหว่างสถานีวัดมังกร-สถานีบางหว้า และจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กันยายน 2562 ส่วนช่วงเตาปูน-ท่าพระ มีกำหนดจะเปิดให้บริการภายในมีนาคม 2563

    นอกจากนี้ ยังต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้เชื่อมโยงสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วง แบริ่ง-สมุทรปราการ ที่ รฟม. รับผิดชอบงานก่อสร้างด้านโยธา จนแล้วเสร็จพร้อมส่งมอบโครงการต่อให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับไปบริหารด้านการเดินรถต่อ โดยได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2561 รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ รฟม. รับผิดชอบการก่อสร้างด้านงานโยธา โดยปรับรูปแบบการบริหารการก่อสร้างรวมถึงบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่กี่ยวข้องจนสามารถก่อสร้างได้เร็วกว่ากำหนด ทำให้สามารถเปิดให้บริการสถานีห้าแยกลาดพร้าวได้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา จากนั้นจะเปิดให้บริการเพิ่มอีก 4 สถานีภายในปลาย 2562 และพร้อมจะเปิดให้บริการตลอดเส้นทางได้ภายในปลายปี 2563

    ผลงาน 3 สะพาน 1 อุโมงค์ 1 ถนนตัดใหม่ บรรเทาปัญหาการจราจร ถ.พหลโยธิน
    นอกจากนี้ รฟม. ยังได้บูรณาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบนถนนพหลโยธิน ได้แก่ การก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธิน สะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตร สะพานรถยนต์ข้ามแยกเสนานิคม และอุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธิน ที่เปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 รวมถึงถนนตัดใหม่เชื่อมระหว่างถนนพหลโยธินกับถนนลำลูกกาที่เปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561


    เดินหน้าพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า ยกระดับการเดินทางของประชาชน
    ในปี 2562 นี้ เป็นปีที่ รฟม. มีอายุครบ 27 ปี ก้าวย่างสู่ปีที่ 28 รฟม. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งส่วนต่อขยาย และเส้นทางใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขณะนี้มีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งเป็นระบรถไฟฟ้า Monorail 2 สายแรกในประเทศไทย และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

    นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างในระยะต่อไป ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานี โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – ลำสาลี (บึงกุ่ม)

    ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัด มีโครงการรถไฟฟ้าในจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา และพิษณุโลก ที่ รฟม. อยู่ระหว่างการศึกษา ออกแบบรายละเอียด เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างในอนาคตอันใกล้นี้

    นอกจากนั้น รฟม. ยังอยู่ระหว่างการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณสถานีสะพานพระนั่งเกล้า กับท่าเรือพระนั่งเกล้า รวมถึงอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีระบบตั๋วร่วมตามมาตรฐาน EMV (Europay, Mastercard และ Visa) ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรมภายในปี 2563

    ทั้งหมดนี้คือภารกิจที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งเน้นและให้ความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และเพื่อให้สามารถยกระดับการเดินทาง รวมถึงคุณภาพชีวิตประชาชน และเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน


    [English]
    MRTA continues mission to deliver urban transportation system
    Mass Transit Rapid Authority of Thailand (MRTA) is a state enterprise that was officially founded on August 21, 1992 to be in charge of operating the Mass Rapid Transit (MRT) system in Bangkok and its  vicinity as well as in other major provinces to help ease traffic  congestion and facilitate the public’s travel experience and to handle any relevant businesses that will benefit both its organization and the public.

    MRTA has provided service of the two MRT lines, The M.R.T Chaloem  Ratchamongkhon Line (Initial Blue Line) and the M.R.T. Chalong Ratchadham (Purple Line) and planned to officially launch service of the two extension sections of MRT Blue Line in September 2019 and March 2020, and the full route of the MRT Green Line Project Mochit – Saphan Mai – Khukhot Section in the end of 2020.

    In addition to the construction of the MRT system, MRTA has also engaged in road infrastructure construction,  including the -fly over at Ratchayothin Intersection, Kaset Intersection, Senanikom Junction, the Ratchayothin Underpass, and New Road.

    This year, MRTA’s three more MRT lines are being constructed to help improve the quality of life of commuters in Bangkok and adjacent provinces, while two extension lines are being planned for execution in a near future.

    In other provinces, MRTA is in the middle of the study to design the MRT system in Phuket, Chiang Mai, Nakhon Ratchasima, and Phitsanulok.

    Apart from The above mentioned, MRTA is designing a transportation facilities development project at Phra Nang Klao Bridge Station and developing an EMV (Europay, MasterCard and Visa) joint ticketing system that is scheduled to materialize in 2020.