Sunday, September 24, 2023
More

    3 วิธีการตรวจวิเคราะห์น้ำเสียที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องรู้

    การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และทุกชีวิตอยู่รอบโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียยังเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่หากละเลยเมื่อไหร่ก็อาจส่งผลเสียต่อโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในแง่ของกฎหมาย การผลิตสินค้า และการประกอบการ ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมขาดทุน เสียผลประโยชน์มหาศาล หรือเกิดเป็นคดีความที่ส่งผลต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตได้เช่นกัน

    ดังนั้น สำหรับใครที่ต้องการเปิดโรงงานอุตสาหกรรม แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะตรวจวิเคราะห์น้ำเสียอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ลองมาทำความรู้จัก 3 วิธีการตรวจวิเคราะห์น้ำเสียและคุณภาพน้ำเบื้องต้นที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องรู้กัน


    การตรวจสอบทางกายภาพ

    การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียเริ่มต้นจากการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของน้ำ โดยสามารถตรวจสอบได้จากการสังเกตถึงสี กลิ่น ความขุ่น และอุณหภูมิ การตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยวิธีนี้สามารถทำได้โดยการตักน้ำจากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาประมาณ 1 – 2 ลิตร จากนั้นจึงนำเทอร์โมมิเตอร์และจานวัดความโปร่งแสงมาพิจารณาถึงลักษณะทางกายภาพทั้งหมด

    โดยส่วนใหญ่แล้ว หากน้ำมีการปนเปื้อนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีกลิ่นที่รุนแรง สีที่ดำเข้ม อีกทั้งยังมีความโปร่งแสงที่น้อยจนแสงไม่สามารถลอดผ่านได้ จำเป็นที่จะต้องทำระบบบำบัดการส่งน้ำไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติ

    การตรวจสอบทางชีวภาพ

    นอกจากจะตรวจสอบลักษณะทางกายภาพแล้ว การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียยังสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการตรวจสอบถึง ‘ชีวภาพ’ หรือ ‘สิ่งมีชีวิต’ ที่อยู่ภายในน้ำ เช่น มีการตรวจสอบถึงเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรค และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตภายในแหล่งน้ำธรรมชาติและเป็นสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดสารพิษ ตลอดจนการเน่าเสียของน้ำ

    การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งธุรกิจสามารถติดต่อใช้บริการจากบริษัทที่รับตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบคุณภาพทางชีวภาพได้

    การตรวจสอบทางเคมี

    การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียด้วยวิธีการทางเคมีสามารถทำได้เบื้องต้นโดยการใช้ Test Kit จากนั้นจึงหยดสารต่าง ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เพื่อดูถึงลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

    ส่วนใหญ่แล้ว การตรวจสอบวิเคราะห์น้ำด้วยวิธีนี้จะครอบคลุมไปถึงการตรวจสอบค่า pH สารเคมีอย่างน้ำมัน ไขมัน โลหะหนัก ของแข็ง รวมไปถึงปริมาณออกซิเจนภายในน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่า COD หรือ Chemical Oxygen Demand ซึ่งเป็นค่าที่บอกว่าสารเคมีต้องใช้ออกซิเจนมากเท่าไหร่เพื่อย่อยสลายสิ่งแปลกปลอมภายในน้ำ ซึ่งหากยิ่งค่า COD สูงเท่าไหร่ แปลว่าน้ำยิ่งมีการปนเปื้อนและจำเป็นต้องบำบัดมากเท่านั้น

    อย่างไรก็ดี การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียจำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนเครื่องมือพิเศษในการประมวลผลที่แม่นยำ ดังนั้น หากไม่อยากพลาดโอกาสธุรกิจสำคัญ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อเข้าใจวิธีการตรวจวิเคราะห์น้ำเสียเบื้องต้นแล้ว อย่าลืมติดต่อผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบคุณภาพและวางแผนการบำบัดน้ำเสียให้ดีด้วย