ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “COVID-19” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย
ซึ่งจากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย พบว่า ผลสำรวจเป็นดังนี้
– ร้อยละ 32.86 มีความกังวลมาก
– ร้อยละ 35.32 ค่อนข้างมีความกังวล
– ร้อยละ 18.33 ไม่ค่อยมีความกังวล
– ร้อยละ 13.49 ไม่มีความกังวลเลย
ขณะที่ความกลัวที่จะติดเชื้อไวรัส COVID-19
– ร้อยละ 23.97 มีความกลัวมาก
– ร้อยละ 36.67 ค่อนข้างมีความกลัว
– ร้อยละ 22.14 ไม่ค่อยมีความกลัว
– ร้อยละ 17.22 ไม่มีความกลัวเลย
สำหรับความถี่ในการใส่หน้ากาก (ทุกชนิด) เพื่อป้องกันตัวเองพบว่า
– ร้อยละ 32.54 ใส่หน้ากากในทุกที่ตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน
– ร้อยละ 25.71 ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาอยู่ในที่ชุมชน
– ร้อยละ 20.56 ไม่ใส่หน้ากากเลย
– ร้อยละ 13.02 ใส่หน้ากากเป็นบางครั้ง
– ร้อยละ 7.14 แทบจะไม่ได้ใส่หน้ากากเลย
– ร้อยละ 0.71 ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาที่ตนเองมีอาการเจ็บป่วย
– ร้อยละ 0.32 ใส่หน้ากากเฉพาะเวลาที่ต้องมีการใกล้ชิดกับผู้ป่วย
เมื่อถามถึงสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดใจมากเมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 พบว่า
– ร้อยละ 31.43 ระบุว่าคนที่กลับจากประเทศเสี่ยงไม่กักตนเอง
– ร้อยละ 28.41 ระบุว่า การขาดแคลน และ/หรือมีการกักตุนหน้ากากอนามัย
– ร้อยละ 21.75 ระบุว่า จำนวนคน ติดไวรัส COVID-19 ในไทยเพิ่มขึ้น
– ร้อยละ 21.11 ระบุว่า ภาครัฐไม่ตัดสินใจเด็ดขาด มีแต่มาตรการรายวันในการแก้ไขปัญหา
– ร้อยละ 17.14 ระบุว่า ภาครัฐไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ไม่ยอมกักตนเอง
– ร้อยละ 16.43 ระบุว่าราคาหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์เจลล้างมือแพงเกินเหตุ
– ร้อยละ 9.92 ระบุว่า ข่าวปลอมเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19
– ร้อยละ 9.84 ระบุว่าการขาดแคลนแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
– ร้อยละ 9.21 ระบุว่า จำนวนคนติดไวรัส COVID-19 ในโลกเพิ่มขึ้น
– ร้อยละ 8.33 ระบุว่า ไม่หงุดหงิดใจเมื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับ COVID -19
– ร้อยละ 8.25 ระบุว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19 ที่สับสน
– ร้อยละ 7.70 ระบุว่าประชาชนตื่นตระหนกเกินเหตุ
– ร้อยละ 6.11 ระบุว่า นักการเมืองบางคนนำ COVID-19 มาเป็นประเด็นทางการเมือง
– ร้อยละ 4.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงมาตรการที่รัฐบาลควรมีเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศไทย พบว่า
– ร้อยละ 35.95 ระบุว่ารัฐบาลควรสั่งไม่ให้คนต่างชาติจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้าประเทศ
– ร้อยละ 32.70 ระบุว่าลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่กลับจากประเทศเสี่ยงแต่ไม่กักตนเอง
– ร้อยละ 28.02 ระบุว่าลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่กักตุนหน้ากากอนามัย
– ร้อยละ 25.08 ระบุว่า ลงโทษจริงจังและหนักขึ้นสำหรับคนที่ขายหน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์เจลล้างมือในราคาแพงเกินกว่าเหตุ
– ร้อยละ 23.17 ระบุว่า รัฐบาลควรมีศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 ที่ชัดเจน
– ร้อยละ 18.17 ระบุว่ารัฐบาลควรทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะครั้งใหญ่
– ร้อยละ 14.37 ระบุว่า รัฐบาลควรทำความสะอาดอาคารสนามบินครั้งใหญ่
– ร้อยละ 13.02 ระบุว่ารัฐบาลควรสั่งปิดประเทศ
– ร้อยละ 7.62 ระบุว่ารัฐบาลควรสั่งปิดสถานที่ชุมชนเช่นโรงเรียนมหาวิทยาลัยโรงหนังสนามกีฬาเป็นต้น
– ร้อยละ 2.38 ระบุว่า รัฐบาลควรแจกหน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์เจลล้างมือให้แก่ประชาชน
– ร้อยละ 8.02 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ