Mintel เผยผลการวิจัย แนวโน้มพฤติกรรมการเข้าร่วมเทศกาลของคนไทย หลังสถานการณ์โควิด-19 การเฉลิมฉลองเทศกาลกับครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รัก ยังคงเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทย
สำรวจผู้บริโภค อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,500 คน ในเดือนธันวาคม 2565 ดำเนินงานภาคสนาม โดย Dynata
พบว่า คนไทย กว่า 8 ใน 10 (82%) ยอมรับว่าการได้พบปะสังสรรค์กับผู้อื่น เพื่อเฉลิมฉลองเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของเทศกาล
ขณะที่ผู้บริโภคสูงวัย ต้องการเฉลิมฉลองไปกับวันหยุดตามประเพณี เช่น วันสงกรานต์ (57%) กลุ่มคนยุค Gen Z และยุค Millennials ต่างมองหาโอกาสฉลองวันหยุดแบบวิถีตะวันตก ซึ่งเกือบ 1 ใน 4 (22%) ของชาว Millennials และ Gen Z กล่าวว่า พวกเขาฉลองคริสต์มาส วันวาเลนไทน์ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (19% และ 23% ตามลำดับ)
โดย วิกฤตอัตตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมของชาวไทยกว่า 46% ลดการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจนถึงเดือนธันวาคม 2565
นอกจากนี้ งานวิจัยของ Mintel ยังแสดงให้เห็นว่าคนไทย 7 ใน 10 คน เลือกที่จะเฉลิมฉลองช่วงงานเทศกาล รวมถึงโอกาสพิเศษต่าง ๆ ที่บ้าน ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคไทย ทำอาหารเพื่อรับประทานเองที่บ้าน (47%) มากกว่า รับประทานอาหารนอกบ้าน (31%)
ดร.วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสด้านไลฟ์สไตล์ บริษัท มินเทล ประเทศไทย กล่าวว่า “แม้ว่าขณะนี้ผู้บริโภคชาวไทยมองว่าสถานการณ์ COVID-19 เริ่มไม่เป็นที่กังวลแล้ว แต่พวกคนไทยยังคงเผชิญอยู่กับวิกฤตเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุทำให้ผู้คนจำนวนมากเฉลิมฉลองเทศกาลวันหยุดอยู่ที่บ้าน อย่างไรก็ตามบางแบรนด์ได้หาวิธีที่จะตอบสนองต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค เช่น การปล่อยแคมเปญดีลพิเศษให้ผู้บริโภคสามารถเฉลิมฉลองอย่างสะดวกสบายโดยไม่ต้องใช้จ่ายให้มากเกินความจำเป็น
“แบรนด์ต่างๆ และร้านค้าปลีก สามารถตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภคโดยการมอบสินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอบริการจัดส่งอาหารพร้อมรับประทาน ชุดอุปกรณ์แบบทำเอง หรือคลาสทำอาหารออนไลน์ อย่างไรก็ตาม อาหารตามเทศกาลในรูปแบบอาหารพร้อมรับประทานที่สื่อถึงความสดใหม่และเน้นย้ำคุณสมบัติด้านสุขภาพที่ชัดเจน (เช่น ปริมาณโซเดียมที่ต่ำ) ก็สามารถดึงดูดใจได้เช่นเดียวกัน
“แม้จะได้ผลกระทบจากเศรษฐกิจ แต่ผู้บริโภคมากกว่า 9 ใน 10 (94%) ยังเยินดีใช้จ่ายในช่วงเทศกาล รายงานนี้ชี้ให้เห็นว่าแบรนด์สามารถดึงดูดผู้บริโภคด้วยองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความคิดถึงอดีตเพื่อดึงดูดผู้บริโภคได้ เนื่องจากคนไทยกว่า 82% เห็นด้วยว่าวันหยุดทำให้นึกถึงความรู้สึกในวันวานได้”
“แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงความคิดถึงวันวานที่ทำให้ผู้บริโภคสูงอายุสามารถกลับไปนึกถึงความสุขในวัยเด็กกับการสร้างแคมเปญที่ทำให้หวนระลึกถึงการเฉลิมฉลองในอดีตและนำประสบการณ์เหล่านั้นกลับมาในปัจจุบันอีกครั้ง กระตุ้นให้ผู้บริโภคเชื่อมโยงความรู้สึกอบอุ่นและความคิดถึงเข้ากับแบรนด์ นำไปสู่ความผูกพันและสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ในที่สุด” คุณไข่มุก กล่าวเสริม