นิด้าโพล เผยผลสำรวจประชาชนเรื่อง “ใครจะเดือดร้อน หากมีโควิด-19 รอบ 2” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 7 กันยายน จากประชาชนที่มีอายุ 18 ขึ้นไปกระจายทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง จากรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) สุ่มด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
คนไทยส่วนใหญ่ระบุ กลุ่มหาเช้ากินค่ำเดือดร้อนที่สุดหากเกิดโควิด-19 รอบใหม่
จากการสำรวจประชาชนเมื่อถามถึงกลุ่มที่จะเดือดร้อนที่สุดหากเกิดการระบาดโควิด-19 รอบที่ 2 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่
– ร้อยละ 43.12 ระบุว่า คนจนที่หาเช้ากินค่ำ
– ร้อยละ 14.68 ระบุว่า พ่อค้า – แม่ค้าทั่วไป
– ร้อยละ 9.66 ระบุว่า กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม บริษัททัวร์ ไกด์ ร้านอาหาร
– ร้อยละ 8.59 ระบุว่า ผู้ที่ปัจจุบันยังคงตกงานอยู่
– ร้อยละ 7.53 ระบุว่า กลุ่มผู้เปราะบางในสังคม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
– ร้อยละ 5.02 ระบุว่า พนักงานบริษัท/พนักงานโรงงาน
– ร้อยละ 2.66 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษา
– ร้อยละ 2.59 ระบุว่า บุคลากร ทางการแพทย์/สาธารณสุข
– ร้อยละ 2.51 ระบุว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
– ร้อยละ 1.44 ระบุว่า เกษตรกร
– ร้อยละ 1.29 ระบุว่า กลุ่มแรงงานต่างด้าว
– ร้อยละ 0.76 ระบุว่า ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ
– ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
คนไทยเชื่อ รัฐไม่มีงบประมาณในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบหากเกิดการระบาดรอบใหม่
เมื่อถามถึงความเห็นต่อมาตรการและงบประมาณ การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบหากเกิดการระบาดโควิด-19 ในรอบที่ 2 พบว่าส่วนใหญ่
– ร้อยละ 33.54 ระบุว่า รัฐบาลจะไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
– ร้อยละ 30.80 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจะเหมือนหรือเท่าเดิม
– ร้อยละ 19.70 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จะน้อยลง
– ร้อยละ 13.16 ระบุว่า มาตรการ/งบประมาณการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจะมากขึ้น
– ร้อยละ 2.80 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ