Friday, December 9, 2022
More

    เยาวชนไทยยังน่าเป็นห่วง พบเด็กนักเรียน – นักศึกษาร้อยละ 13.28 เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ

    นิด้าโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเรื่อง “การถูกล่วงละเมิดทางเพศ” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 – 20 กันยายน 2563 จากนักเรียน นักศึกษา ที่มีอายุ 15 – 25 ปีกระจายทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,197 ตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

    เผยสาเหตุที่ นักศึกษา นักเรียน ถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเทศ


    สำหรับด้านสาเหตุที่ทำให้นักเรียน/นักศึกษาถูกลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า

    – ร้อยละ 56.22 ระบุว่า นิสัย/พฤติกรรมเฉพาะตัวของผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
    – ร้อยละ 26.40 ระบุว่า การแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษา
    – ร้อยละ 11.70 ระบุว่า การลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศได้รับแรงจูงใจจากการเสพสื่อออนไลน์ และ/หรือ สื่อกระแสหลัก
    – ร้อยละ 10.03 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
    – ร้อยละ 8.94 ระบุว่า กริยา ท่าทาง ของนักเรียน/นักศึกษา
    – ร้อยละ 5.43 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมกับผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
    – ร้อยละ 3.76 ระบุว่า ผู้ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ตระหนักว่าเป็นเรื่องการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
    – ร้อยละ 3.51 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาถูกล่อลวง
    – ร้อยละ 1.50 ระบุว่า สถานะทางสังคม/เศรษฐกิจของนักเรียน/นักศึกษาที่ด้อยกว่า (จึงไม่กล้าปฏิเสธ) – ร้อยละ 1.25 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาไม่รู้/ไม่ตระหนักว่าเป็นการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
    – ร้อยละ 0.84 ระบุว่า นักเรียน/นักศึกษาไม่นึกว่าเป็นการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ (ไม่เป็นไร เป็นเรื่องธรรมดา)
    – ร้อยละ 0.42 ระบุว่า สภาพความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาของนักเรียน/นักศึกษา
    – ร้อยละ 2.09 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

    บุคคลที่ให้ความไว้ใจและให้คำปรึกษาได้ หากเกิดการลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ

    กรณีเมื่อถูก ครู/อาจารย์ ลวนลามหรือล่วงละเมิดทางเพศ สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่จะแจ้งถึงการถูกล่วงละเมิด พบว่า

    – ร้อยละ 66.17 ระบุว่า บอกผู้ปกครอง
    – ร้อยละ 21.89 ระบุว่า บอกครู/อาจารย์ท่านอื่น
    – ร้อยละ 18.13 ระบุว่า แจ้งความกับตำรวจ
    – ร้อยละ 11.28 ระบุว่า บอกเพื่อนสนิท
    – ร้อยละ 4.26 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวมตำรวจ)
    – ร้อยละ 2.59 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิ/สมาคม หรือ NGOs ที่เกี่ยวข้อง
    – ร้อยละ 1.59 ระบุว่า ปิดเป็นความลับ ร้อยละ 1.17 ระบุว่า บอกพี่น้อง
    – ร้อยละ 1.09 ระบุว่า บอกแฟน
    – ร้อยละ 0.92 ระบุว่า ระบายผ่าน social media
    – ร้อยละ 0.84 ระบุว่า บอกญาติสนิท
    – ร้อยละ 0.50 ระบุว่า บอกสื่อ (เช่น รายการวิทยุ)

    สำหรับกรณีหากถูกเพื่อน/บุคคลอื่นๆ ล่วงละเมิดทางเพศ สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่จะแจ้งให้ทราบ พบว่า

    – ร้อยละ 55.64 ระบุว่า บอกผู้ปกครอง
    – ร้อยละ 28.65 ระบุว่า บอกครู/อาจารย์
    – ร้อยละ 19.05 ระบุว่า แจ้งความกับตำรวจ
    – ร้อยละ 8.19 ระบุว่า บอกเพื่อนสนิท
    – ร้อยละ 3.09 ระบุว่า ปิดเป็นความลับ
    – ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (ไม่รวมตำรวจ)
    – ร้อยละ 2.26 ระบุว่า ร้องทุกข์ผ่านมูลนิธิ/สมาคม หรือ NGOs ที่เกี่ยวข้อง
    – ร้อยละ 1.25 ระบุว่า บอกพี่น้อง
    – ร้อยละ 0.84 ระบุว่า บอกญาติสนิท
    – ร้อยละ 0.67 ระบุว่า ระบายผ่าน social media
    – ร้อยละ 0.50 ระบุว่า บอกแฟน และบอกสื่อ (เช่น รายการวิทยุ) ในสัดส่วนที่เท่ากัน

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด ซึ่งการถูกล่วงละเมิดทางเพศนี้เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การล่วงละเมิดทางเพศ สัมผัสที่ไม่พึงประสงค์หรือการจูบ การข่มขู่หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ หรือกิจกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้อง ใช้ความรุนแรงหรือทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสายตา

    ซึ่งการล่วงละเมิดส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กหรือเยาวชนเป็นอย่างมาก และอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อไปได้ ต้องอับอายไม่กล้าสู่หน้าใคร และร้ายแรงที่สุดอาจจะเกิดการตั้งครรภ์ ติดเชื้อ HIV สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพูดคุยเปิดใจ คำปลอบโยน จากผู้ปกครอง เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจว่าเขามีสิทธิที่จะปลอดภัย และมีแนวโน้มที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่ถูกล่วงละเมิดได้มากขึ้น ในกรณีที่ทราบว่าเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวกับเด็กเหมือนเดิมและไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าวโดยไม่จำเป็นเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกถูกตอกย้ำ

    สภาพจิตใจถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หากมีจิตใจที่ไม่เป็นปกติจะส่งผลเสีย ทั้งกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ในครอบครัว โรงเรียน เพื่อนหรือแม้แต่สังคม การให้คำแนะนำสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับการล่วงละเมิดเป็นสิ่งที่ควรทำนอกจากจะสามารถช่วยเด็กที่ถูกทารุณกรรมได้แล้วยังลดความเสี่ยงของการล่วงละเมิดในเด็กได้