Wednesday, October 4, 2023
More

    คนไทยร้อยละ 61.27 เห็นควรยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

    นิด้าโพล เผยความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อจะมี ส.. ต่อไป ดีไหม?” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปกระจายอยู่ทุกภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 1,317 หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อ (Master Sample) สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

    ผลสำรวจคนไทยร้อยละ 61.27 เห็นด้วยมากให้ยกเลิกอำนาจ ส.. ในการโหวตเลือกนายก

    จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นจากประชาชนในการแข้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อยกเลิกอำนาจ สมาชิกวุฒิสภา (..) ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีพบว่า


    ร้อยละ 61.27 ระบุว่าเห็นด้วยมาก

    ร้อยละ 16.48 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย

    ร้อยละ 8.96 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย

    ร้อยละ 13.21 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

    ร้อยละ 0.08 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    สำหรับความคิดเห็นของผู้ที่ตอบเห็นด้วยมากและค่อนข้างเห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพียงมาตรา 272 เพื่อยกเลิกอำนาจ ส.. ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีและให้ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่พบว่า

    ร้อยละ 69.27 ระบุว่าเห็นด้วยมาก

    ร้อยละ 15.90 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย

    ร้อยละ 6.24 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย

    ร้อยละ 7.22 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

    ร้อยละ 1.37 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ร้อยละ 54.75 ระบุ ควรให้ ส..สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราถ

    สำหรับสิ่งที่ ส.. ควรดำเนินการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560) พบว่า

    ร้อยละ 54.75 ระบุว่าควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา

    ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)

    ร้อยละ 10.70 ระบุว่าไม่ควรสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ

    ร้อยละ 4.18 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเมื่อถามถึงความจำเป็นต้องมี ส.. ในระบอบประชาธิปไตรแบบรัฐสภาของประเทศไทยพบว่า

    ร้อยละ 38.27 ระบุว่า จำเป็นต้องมี ส.. เพราะ เพื่อเป็นการถ่วงดุลทางการเมือง ควบคุม/ตรวจสอบการทำงานของ ส.. กลั่นกรองกฎหมายสำคัญ ๆ ต่าง ๆ และการได้มาของ ส.. ต้องเป็นการเลือกตั้งจากประชาชนเพื่อเข้ามาเป็น ส.. เท่านั้น

    ร้อยละ 31.66 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมี ส.. เพราะไม่มีผลงานที่เด่นชัด ไม่มีบทบาทการทำงานที่ชัดเจน สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และมี ส.. ก็เพียงพอกับประชาชนแล้วจึงไม่จำเป็นต้องมี ส..

    ร้อยละ 30.07 ระบุว่า มีหรือไม่มี ส.. ก็ได้ เพราะ ประชาชนยังไม่เห็นการทำหน้าที่และผลงานของ ส.. ที่ชัดเจน