อ่านการปรับตัวรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่หลังโควิด-19 ของการภาคการท่องเที่ยวไทย โดย Booking.com ที่ทำการสำรวจข้อมูลผู้เดินทางมากกว่า 20,000 คน ใน 28 ประเทศทั่วโลก (รวมประเทศไทย)
รวมเข้ากับข้อมูลเชิงลึกจากพฤติกรรมการค้นหาและการบอกต่อของนักเดินทางบนแพลตฟอร์ม ตลอดจนความเชี่ยวชาญกว่า 20 ปีในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อเผย 9 การคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของการเดินทาง ทั้งในปีหน้า และปีต่อ ๆ ไป
1. จากความปรารถนาสู่ความจำเป็น – เพราะการอยู่บ้านเป็นเวลานาน ทำให้ผู้คนโหยหาการเดินทางมากขึ้น
– นักเดินทางชาวไทยร้อยละ 77 รู้สึกเห็นคุณค่าของการเดินทางมากขึ้น และจะไม่มองข้ามคุณค่าดังกล่าวอีก
– นักเดินทางชาวไทยร้อยละ 71 รู้สึกตื่นเต้นที่จะมีโอกาสได้กลับมาเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้ง
นอกจากนี้ 2 ใน 3 ของนักเดินทางชาวไทย (ร้อยละ 65) ปรารถนาที่จะออกไปสำรวจโลกกว้างยิ่งขึ้นกว่าเดิม และอีกร้อยละ 60 ตั้งใจที่จะจองทริปที่ต้องยกเลิกไปก่อนหน้านี้อีกครั้งหนึ่ง
2. ความคุ้มค่าต้องมาก่อน – โควิด-19 ทำให้ผู้คนมองหาความคุ้มค่าในการใช้จ่าย
– นักเดินทางชาวไทยร้อยละ 78 ให้ความใส่ใจกับราคามากขึ้น ขณะวางแผนการเดินทาง
– และร้อยละ 78 ยังมีแนวโน้มมองหาโปรโมชั่น และข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคคาดหวังไม่ได้มีเฉพาะเรื่องราคา
– นักเดินทางชาวไทยจำนวน 4 ใน 5 (ร้อยละ 80) ระบุว่าต้องการให้แพลตฟอร์มจองการเดินทาง เพิ่มความโปร่งใสเกี่ยวกับนโยบายการยกเลิก ขั้นตอนการคืนเงิน และตัวเลือกประกันการเดินทาง
– ร้อยละ 87 สนใจที่จะช่วยสนับสนุน การฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
– ร้อยละ 84 อยากให้การจองการเดินทางของตน สามารถช่วยเหลือชุมชนให้ฟื้นตัวได้
– ร้อยละ 37 มองว่าตัวเลือกที่พักแบบยกเลิกฟรี เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทริปถัดไป
3. ขอเน้นที่ใกล้และคุ้นเคย – การท่องเที่ยวในประเทศกลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่น
– นักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 61 วางแผนจะเดินทางในประเทศภายใน 7-12 เดือนที่จะถึง
– ร้อยละ 53 วางแผนจะเดินทางในไทยในระยะยาว (ในช่วง 1 ปีขึ้นไป)
ในแง่ของการเที่ยวใกล้ ๆ
– ร้อยละ 55 อยากใช้เวลาไปชื่นชมความงดงามของธรรมชาติในเมืองไทย
– คนไทยร้อยละ 36 วางแผนที่จะไปสำรวจจุดหมายใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไป ที่อยู่ใกล้เคียงภูมิลำเนาหรือในภายประเทศ
4. หลีกหนีความจริงด้วยการค้นหา – ทริปพักผ่อนที่เกิดจากแรงบันดาลใจ
– นักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 98 เคยใช้เวลาไปกับการค้นหาแรงบันดาลใจสำหรับทริปพักผ่อน โดยกว่า 2 ใน 3 (ร้อยละ 68) ได้เสิร์ชหาจุดหมายท่องเที่ยวต่าง ๆ บ่อยถึงสัปดาห์ละครั้ง
นอกจากนี้ ร้อยละ 41 เผยว่ารู้สึกหวนคิดถึงวันวานเมื่อเปิดดูภาพถ่ายเก่า ๆ จากทริปก่อน ๆ ขณะมองหาแรงบันดาลใจการท่องเที่ยวในอนาคต
5. ปลอดภัยไว้ก่อน – นักเดินทางชาวไทย จะระมัดระวังในการเดินทางมากขึ้น
– นักเดินทางชาวไทยเกือบ 9 ใน 10 (ร้อยละ 89) จะใช้ความระมัดระวังในการเดินทางมากขึ้น สืบเนื่องจากโควิด-19
– ร้อยละ 83 คาดหวังให้สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มีการปรับใช้ Social Distancing
ในขณะเดียวกัน
– ร้อยละ 86 จะเลือกจองเฉพาะที่พักที่มีการระบุมาตรการด้านสุขภาพ และอนามัยไว้อย่างชัดเจน
– ร้อยละ 86 ยอมรับได้กับการตรวจสุขภาพเมื่อเดินทางถึงสถานที่ท่องเที่ยวหรือจุดหมายปลายทาง
6. คำนึงถึงผลกระทบ – นักเดินทางชาวไทยส่วนใหญ่ ต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต
– นักเดินทางชาวไทยส่วนใหญ่เกิน 2 ใน 3 (ร้อยละ 68) ต้องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต โดย
– ร้อยละ 86 คาดหวังให้ภาคการท่องเที่ยว นำเสนอตัวเลือกการเดินทางที่ยั่งยืนมากขึ้น
– คนไทยมากกว่า 4 ใน 5 (ร้อยละ 84) ต้องการตัวเลือกในการเดินทางที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูจุดหมายปลายทางนั้น ๆ ได้
– ร้อยละ 82 ต้องการเห็นว่าเม็ดเงินที่จ่ายไป จะกลับเข้าสู่ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
7. โบกมือลาการเข้าออฟฟิศ – อนาคตของพฤติกรรมของนักเดินทางแบบ “Workation”
– นักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 60 วางแผนจะจองที่พักเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งทำงานในสถานที่แปลกใหม่
ในขณะที่
– ร้อยละ 69 เต็มใจที่จะกักตัว หากยังคงสามารถทำงานระยะไกลได้
นอกจากนี้ คนไทยกว่า 3 ใน 4 (ร้อยละ 76) กล่าวว่าจะหาโอกาสขยายทริปธุรกิจให้นานขึ้น เพื่ออยู่เที่ยวที่จุดหมายปลายทางนั้น ๆ ต่อได้
8. สัมผัสความสุขง่าย ๆ – วิถีใหม่ที่เรียบง่ายในการออกสำรวจโลกกว้าง
– ความต้องการของผู้เดินทางชาวไทยกว่า 4 ใน 5 (ร้อยละ 85) วางแผนจะดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบเรียบง่ายมากขึ้น นอกจากนี้
– นักเดินทางชาวไทย ร้อยละ 80 ยังอยากมองหาประสบการณ์ท่องเที่ยวในชนบทหรือที่ท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีใครไป เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่ามกลางธรรมชาติให้เต็มที่
และผู้เดินทางชาวไทยต่างมองหาที่พักที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านตัวเอง โดย
– ร้อยละ 63 เลือกทานอาหารในที่พักมากขึ้น แทนที่จะออกไปร้านอาหาร
– ร้อยละ 55 ของนักเดินทางชาวไทย เลือกมองหาที่พักประเภทบ้านพักตากอากาศ หรืออพาร์ตเมนต์มากกว่าโรงแรม
นอกจากนี้ ประเภทของทริปที่นักเดินทางชาวไทยยุค “นิวนอร์มัล” อยากไปเที่ยวมากที่สุดได้แก่
– ทริปเที่ยวริมทะเล ร้อยละ 51
– ทริปพักผ่อนหย่อนใจ ร้อยละ 48
– ทริปเที่ยวในเมือง ร้อยละ 27
9. เทคโนโลยีกระตุ้นการท่องเที่ยว – นวัตกรรมจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้เดินทาง
– ร้อยละ 81 ของผู้เดินทางชาวไทย เห็นด้วยว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพระหว่างเดินทาง
– ร้อยละ 80 เห็นตรงกันว่าผู้ให้บริการที่พัก จะต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าพัก
โดย 7 ใน 10 ของนักเดินทางชาวไทย (ร้อยละ 70) ต้องการให้มีตัวเลือกเทคโนโลยีที่สามารถใช้จองร้านอาหารแบบกระชั้นชิดได้
และนักเดินทางชาวไทยจำนวน 3 ใน 4 (ร้อยละ 75) ต้องการให้มีเครื่องมือแบบบริการตนเองมากขึ้นแทนที่จะผ่านเคาน์เตอร์ให้บริการเพื่อลดการสัมผัส
นอกจากนี้คนไทยร้อยละ 80 ยังรู้สึกตื่นเต้นกับศักยภาพของเทคโนโลยี ที่ช่วยปรับเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทางให้เข้ากับความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากขึ้นในอนาคต