“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจประชาชนในเรื่อง “รับเงินรัฐ สนับสนุนรัฐบาลหรือเปล่า?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 18 พฤศจิกายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายอยู่ทุกภูมิภาค จำนวน 1,320 หน่วยตัวอย่าง ในการสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูล (Master Sample) สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
ผลสำรวจ เผยประชาชนกว่า 80% ไม่เข้าร่วม “เราเที่ยวด้วยกัน” และกว่า 30% ไม่เคยเข้าร่วมโครงการใดๆ จากรัฐบาล
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนถึงการเข้าร่วมโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” พบว่า
– ร้อยละ 87.50 ระบุว่า ไม่เข้าร่วมโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน
– ร้อยละ 12.50 ระบุว่า เข้าร่วมโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน
ส่วนของการเข้าร่วมโครงการที่ได้รับประโยชน์ทางการเงินจากรัฐบาล ในช่วงปี 2563 พบว่า
– ร้อยละ 38.26 ระบุว่า ไม่เคยเข้าร่วมโครงการใด ๆ
– ร้อยละ 32.58 ระบุว่า เข้าร่วมโครงการ คนละครึ่ง
– ร้อยละ 25.68 ระบุว่า เข้าร่วมโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
– ร้อยละ 3.48 ระบุว่า เข้าร่วมโครงการ ช้อปดีมีคืน เพื่อลดหย่อนภาษี
ร้อยละ 38.76 รับเงินรัฐฯ = สนับสนุนรัฐฯ
สำหรับการตัดสินใจของผู้ที่เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับรัฐบาล หลังเข้าร่วมโครงการที่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากรัฐ พบว่า
– ร้อยละ 38.76 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล
– ร้อยละ 25.38 ระบุว่า สนับสนุนรัฐบาล แต่ไม่เกี่ยวกับโครงการที่ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากรัฐบาล
– ร้อยละ 22.12 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว
– ร้อยละ 12.34 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร
– ร้อยละ 1.40 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อีกทั้งในด้านความคิดเห็นต่อโครงการที่ให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากรัฐบาล พบว่า
– ร้อยละ 49.32 ระบุว่า ประชาชนได้ประโยชน์จากโครงการนี้
– ร้อยละ 35.45 ระบุว่า เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดี
– ร้อยละ 17.80 ระบุว่า พ่อค้า นายทุนได้ประโยชน์จากโครงการนี้
– ร้อยละ 13.86 ระบุว่า เป็นมาตรการเลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่ม
– ร้อยละ 10.15 ระบุว่า เปลืองงบประมาณ ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง
– ร้อยละ 8.03 ระบุว่า ระบบและกติกาการใช้จ่ายยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
– ร้อยละ 4.02 ระบุว่า ระบบและกติกาการใช้จ่ายทำให้สามารถควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
– ร้อยละ 3.26 ระบุว่า สร้างความเท่าเทียมกัน
– ร้อยละ 2.95 ระบุว่า เป็นโครงการประชานิยม
– ร้อยละ 1.52 ระบุว่า ระบบของร้านค้า/ห้าง ยังไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดปัญหาการใช้เงินจากโครงการ
– ร้อยละ 1.59 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
กว่าร้อยละ 30 รับเงินเยียวยา 5 พัน ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-19 และกว่า 30% ระบุ ช่วยสนับสนุนรัฐบาล
ขณะเดียวกันเมื่อถามถึงการรับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 จากรัฐบาล พบว่า
– ร้อยละ 37.35 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท ผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน
– ร้อยละ 29.92 ระบุว่า ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาใด ๆ
– ร้อยละ 20.53 ระบุว่า เคยรับเงินรับเยียวยาเดือนละ 5,000 บาท สำหรับกลุ่มเกษตรกร
– ร้อยละ 6.44 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาสำหรับกลุ่มคนที่มีความเปราะบางทางสังคม เช่น เด็กแรกเกิด ผู้พิการ และคนชรา
– ร้อยละ 5.76 ระบุว่า เคยรับเงินเยียวยาจากสำนักงานประกันสังคม
สำหรับการตัดสินใจของผู้ที่เคยรับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาเกี่ยวกับรัฐบาล หลังรับเงินช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า
– ร้อยละ 35.03 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล
– ร้อยละ 25.73 ระบุว่า สนับสนุนรัฐบาล แต่ไม่เกี่ยวกับเงินช่วยเหลือ/เยียวยา ของรัฐ
– ร้อยละ 24.76 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว
– ร้อยละ 12.54 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร
– ร้อยละ 1.94 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ