กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ได้ทำแบบสำรวจความคิดเห็นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ เก็บข้อมูลตัวอย่างทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 72,626 คน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 29 มกราคม 2564 ในระดับการศึกษา มัธยมต้น 28.43% มัธยมปลาย 23.23% ปวช. 15.44% ปวส. 9.37% อนุปริญญา/ป.ตรี 23.53% ในส่วนของสถานศึกษากำกับของรัฐ 84.80% และสถานศึกษาเแอกชน 15.20%
โทรศัพท์มือถือ คืออุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์ของนักเรียนกว่า 70%
จากการสำรวจอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์มากที่สุด ได้แก่
– โทรศัพท์มือถือ 71.32%
– โน๊ตบุ๊ค 30.31%
– คอมพิวเตอร์ (PC) 11.96%
– แท็บเล็ต/ไอแพด 10.97%
– เครื่องพิมพ์ 5.92%
– ทีวีที่สามารถส่งเชื่อมกับสื่อและอุปกรณ์ 2.25%
– ไม่มีอุปรณ์ในการเรียน 0.29%
28 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด เรียนออนไลน์กันถึง 88.06%
สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจำแนกตามมาตรการควบคุมมีรายละเอียดดังนี้
ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (28 จังหวัด)
– สอนออนไลน์ 88.06%
– สอนในห้องเรียน 9.19%
– สอนทั้งออนไลน์และในห้องเรียน 1.47%
– อื่นๆ 1.28%
ในพื้นที่ควบคุม (11 จังหวัด)
– เรียนออนไลน์ทั้งหมด 23.99%
– สอนในห้องเรียนทั้งหมด 45.29%
– สอนทั้งออนไลน์และในห้องเรียน 29.99%
– อื่นๆ 0.73%
ในพื้นที่เฝ้าระวังสูง (38 จังหวัด)
– เรียนออนไลน์ทั้งหมด 17.75%
– สอนในห้องเรียนทั้งหมด 43.95%
– สอนทั้งออนไลน์และในห้องเรียน 37.55%
– อื่นๆ 0.75%
รูปแบบการจัดการสอนออนไลน์ของสถานศึกษาทั่วประเทศถึง 48.44%
ภาพรวมสำหรับการสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19
สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาทั่วประเทศ
– สอนออนไลน์ 48.44%
– สอนทั้งออนไลน์และในห้องเรียน 29.74%
– สอนในห้องเรียน 20.84%
– อื่นๆ 0.98%
จำแนกตามประเภทสถานศึกษา
– สอนออนไลน์ทั้งหมด
รัฐบาล 48.40% เอกชน 48.67%
– สอนในห้องเรียน
รัฐบาล 30.34% เอกชน 26.39%
– สอนทั้งออนไลน์และห้องเรียน
รัฐบาล 20.28% เอกชน 23.96%
– อื่นๆ
รัฐบาล 0.98% เอกชน 0.98%