เข้าสู่ช่วงหยุดยาวกันอีกครั้ง สำหรับบ้านเรา วันนี้ BLT เลยนำข้อมูลน่าสนใจ เกี่ยวกับ “วันหยุด” มาให้ทุกคนอ่านกันเพลิน ๆ ในช่วงที่ยังออกไปท่องเที่ยวไม่ได้ จากสถานการณ์โควิด-19 ช่วงนี้
คนไทย 53.28% คิดว่าประเทศไทย มีวันหยุดอยู่ในระดับที่เหมาะสม
อ้างอิงจากผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 1,447 คน ทางออนไลน์ โดยผู้ตอบ สามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ) ระหว่างวันที่ 6-15 เมษายน 2564 จากสวนดุสิตโพล เกี่ยวกับ “วันหยุด” ว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร สรุปผลได้ออกมาเป็นประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
เริ่มจากความเหมาะสมของจำนวนวันหยุดในไทย
– เหมาะสม 53.28%
– มากเกินไป 32.34%
– น้อยเกินไป 14.38%
คนไทยร้อยละ 81.30% ให้ความสำคัญกับวันหยุดในวันขึ้นปีใหม่
ด้านความคิดเห็นว่าประชาชน ให้ความสำคัญกับวันหยุด ในช่วงเทศกาลใดมากที่สุด พบว่า
1.วันขึ้นปีใหม่ 81.30%
2.วันสงกรานต์ 76.56%
3.วันพ่อ/วันแม่ 48.37%
4.วันเข้าพรรษา/ออกพรรษา 34.99%
5.วันมาฆบูชา 27.41%
คนไทยร้อยละ 73.39% เลือกพักผ่อนในวันหยุด
กิจกรรมที่ประชาชนนิยมทำในวันหยุด คือ
1.พักผ่อน 73.39%
2.อยู่กับครอบครัว 70.69%
3.ทำความสะอาดบ้าน 52.81%
คนไทยร้อยละ 58.95% เปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุด
กิจกรรมที่เคยทำในวันหยุด แล้วเปลี่ยนไปเมื่อมีโควิด-19 คือ
1.เดินทางท่องเที่ยว 58.95%
2.ไปห้างสรรพสินค้า/ตลาด 52.06%
3.ไปสังสรรค์/ไปงานรื่นเริง 50.80%
ข้อดี-ข้อเสีย ของการมีวันหยุดหลายวัน
ส่วนข้อดี-ข้อเสีย ของการมีวันหยุดหลายวัน คือ
1.พักผ่อนอยู่กับบ้าน 79.78% / กระทบต่อการทำงาน/รายได้ 58.36%
2.ได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว 70.26% / ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 57.45%
3.ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศ 55.98% / สถานที่ท่องเที่ยวมีคนพลุกพล่าน 55.85%
คนไทยร้อยละ 62.34% เห็นด้วยกับการประกาศวันหยุดพิเศษ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
และคำถามที่ว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ กับการประกาศวันหยุดพิเศษ/วันหยุดยาว เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ พบ
เห็นด้วย 62.34%
ไม่เห็นด้วย 23.50%
ไม่แน่ใจ 14.16%