Wednesday, December 7, 2022
More

    การดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ

    สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ  กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานที่มีอายุ 20-55 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1,225 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5–23 มิถุนายน 2560  ที่ผ่านมา พบว่า

    ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 57.12 เป็นหญิง และร้อยละ 42.88 เป็นชาย
    เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
    ร้อยละ 23.59 มีอายุ 20-29 ปี
    ร้อยละ 32.9 มีอายุ 30-39 ปี
    ร้อยละ 27.59 มีอายุ 40-49 ปี และ
    ร้อยละ 15.92 มีอายุ 50-55 ปี


    ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 39.68 เป็นโสด ร้อยละ 54.84 สมรสแล้ว และร้อยละ 5.48 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่

    ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 17.56 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 65.72 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 16.72 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี

    ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
    ร้อยละ 30.26 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท
    ร้อยละ 34.38 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
    ร้อยละ 10.86 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท
    ร้อยละ 13.57 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
    ร้อยละ 10.93 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท

    สำหรับอาชีพ พบว่า
    ร้อยละ 55.16 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
    ร้อยละ 6.77 อาชีพค้าขาย
    ร้อยละ 4.55 อาชีพรับจ้างทั่วไป
    ร้อยละ 16.18 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
    ร้อยละ 16.35 อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และ
    ร้อยละ 0.99 อาชีพอื่นๆ เช่น สถาปนิก นักศึกษา

    ผลการสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 32.79 ระบุกังวลต่อสุขภาพของตนมากถึงมากที่สุด อีกร้อยละ 37.37 ระบุกังวลปานกลาง และที่เหลือร้อยละ 29.85 ระบุกังวลน้อยถึงน้อยที่สุด 

    เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความถี่ในการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ พบว่า เกือบ 1 ใน 3 คือ ร้อยละ 29.91 ระบุไม่ออกกำลังกายเลย อีกร้อยละ 5.39 ระบุออกกำลังกายทุกวัน ร้อยละ 8.66 ระบุ 5-6 วัน ร้อยละ 28.51 ระบุ 3-4 วัน และร้อยละ 27.53 ระบุ 1-2 วัน 

    ด้านประเภทของการออกกำลังกายที่นิยมใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) เดิน-วิ่ง (ร้อยละ 61.38) 2) ฟิตเนส (ร้อยละ 24.30) 3) เล่นกีฬา (ร้อยละ 16.78) 4) เต้นแอโรบิค (ร้อยละ 15.26) และ 5) โยคะ (ร้อยละ 14.32) เป็นต้น 
    ส่วนช่วงเวลาที่ออกกำลังกายบ่อยที่สุด พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 60.85 ระบุช่วงเย็นถึงค่ำ ร้อยละ 25.24 ระบุช่วงเช้า ร้อยละ 9.90 ระบุช่วงกลางคืน ร้อยละ 3.42 ระบุช่วงกลางวันถึงบ่าย และร้อยละ 0.59 ระบุช่วงเวลาทำงาน 

    สำหรับสถานที่ที่นิยมไปออกกำลังกายใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สวนสาธารณะ (ร้อยละ 50.47) 2) ฟิตเนส (ร้อยละ 30.81) 3) บ้าน/ห้องพัก (ร้อยละ 18.36) 4) ภายในหมู่บ้าน (ร้อยละ 15.64) และ 5) สนามกีฬา (ร้อยละ 13.51) เป็นต้น 

    เครื่องดื่มที่นิยมดื่มหลังออกกำลังกายใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) น้ำเปล่า (ร้อยละ 91.41) 2) เครื่องดื่มเกลือแร่ (ร้อยละ 35.65) 3) น้ำผลไม้ (ร้อยละ 8.12) 4) น้ำอัดลม (ร้อยละ 4.00) และ 5) ชา-กาแฟสด (ร้อยละ 2.47) เป็นต้น

    เมื่อสอบถามถึงแรงจูงใจในการออกกำลังกายใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อยากมีสุขภาพแข็งแรง (ร้อยละ 87.74) 2) อยากสวย/อยากดูดี (ร้อยละ 33.73) 3) ผ่อนคลาย (ร้อยละ 31.72) 4) ลดน้ำหนัก (ร้อยละ 31.25) และ 5) รักษาโรค (ร้อยละ 13.09) เป็นต้น 

    ความตั้งใจจะทำกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพในอนาคตใน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (ร้อยละ 55.42) 2) ออกกำลังกาย เช่น เดินวิ่ง เล่นกีฬา (ร้อยละ 43.58) 3) พักผ่อนให้เพียงพอ (ร้อยละ 19.89) 4) ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด (ร้อยละ 11.03) และ 5) ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ (ร้อยละ 9.76) เป็นต้น