Wednesday, December 6, 2023
More

    สถิติการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพฯ

    สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการดูแลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ  ดัชนีความเครียดของคนไทยในกรุงเทพฯ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,210 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 12 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

    ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.37 เป็นหญิง และร้อยละ 44.63 เป็นชาย

    เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
    ร้อยละ 28.88 มีอายุ 20-29 ปี 
    ร้อยละ 29.88 มีอายุ 30-39 ปี 
    ร้อยละ 25.31 มีอายุ 40-49 ปี 
    ร้อยละ 15.93 มีอายุ 50-55 ปี 

    ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 38.57 เป็นโสด ร้อยละ 56.62 สมรสแล้ว และร้อยละ 4.81 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่

    ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.71 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 52.27 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.02 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี 

    ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
    ร้อยละ 53.45 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท 
    ร้อยละ 27.93 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
    ร้อยละ 8.31 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท 
    ร้อยละ 5.41 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
    ร้อยละ 4.90 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท

    สำหรับอาชีพ พบว่า 
    ร้อยละ 39.61 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 
    ร้อยละ 21.30 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
    ร้อยละ 10.23 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
    ร้อยละ 7.90 รับจ้างทั่วไป
    ร้อยละ 7.22 อาชีพค้าขาย 
    ร้อยละ 3.74 อาชีพอื่นๆ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัย นักศึกษา ลูกจ้างของรัฐ แม่บ้าน

    ผลการสำรวจการท่องเที่ยวเกี่ยวกับวิธีการใช้เงิน พบว่า คนกรุงเทพฯ
    ร้อยละ 73.94 ระบุวางแผนการใช้เงินไว้ล่วงหน้า และ
    ร้อยละ 26.06 ระบุใช้ตามความต้องการและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

    ส่วนวิธีการท่องเที่ยว พบว่า
    ร้อยละ 84.64 ระบุวางแผนล่วงหน้า โดยวางแผนที่วางไว้ เช่น รอเที่ยวพร้อมครอบครัว (ร้อยละ 38.54) เที่ยวเฉพาะช่วงเทศกาล (ร้อยละ 28.30) เที่ยวตอนลาพักร้อน (ร้อยละ 21.10) วางแผนเที่ยวข้ามปี (ร้อยละ 15.21) และเที่ยวเพราะมีโปรโมชั่น (ร้อยละ 7.51) เป็นต้น
    ส่วนอีกร้อยละ 15.36 ระบุอยากไปเที่ยวก็ไปเลย ไม่วางแผนล่วงหน้า


    สำหรับแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ใน 5 อันดับแรก ได้แก่
    1) พักผ่อน ร้อยละ 92.88
    2) เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ร้อยละ 22.25
    3) ได้ใช้เวลาร่วมกับผู้อื่น ร้อยละ 21.72
    4) หนีจากชีวิตประจำวัน ร้อยละ 16.53 และ 
    5) ความท้าทาย ร้อยละ 4.31 ตามลำดับ


    สำหรับระยะเวลาในการท่องเที่ยว พบว่า
    ไปกลับ 1 วัน ร้อยละ 9.00 
    2-3 วัน ร้อยละ 59.44  
    4-5 วัน ร้อยละ 27.62  
    1 สัปดาห์ ร้อยละ 3.68 และ
    มากกว่า 1 สัปดาห์ ร้อยละ 0.26ส่วนช่วงเวลาที่ชอบท่องเที่ยว พบว่า

    เที่ยวช่วงเทศกาลวันหยุด ร้อยละ 59.37
    เที่ยวช่วงนอกเทศกาลวันหยุด ร้อยละ 40.63 

    เมื่อสอบถามถึงวิธีเดินทางในการท่องเที่ยว พบว่า
    ใช้พาหนะส่วนตัว เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ร้อยละ 71.83  และ
    ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถ รถไฟ เครื่องบิน ฯลฯ ร้อยละ 28.17 

    สำหรับที่ที่ชอบท่องเที่ยว พบว่า
    ชอบเที่ยวในประเทศมากกว่า ร้อยละ 89.16 
    ชอบเที่ยวต่างประเทศมากกว่า ร้อยละ 3.58  และ
    ชอบพอๆ กัน ร้อยละ 7.26 รูปแบบการท่องเที่ยวที่ใช้เป้นประจำ พบว่า

    ไปเที่ยวเอง ร้อยละ 87.85
    ซื้อแพ็คเกจทัวร์ ร้อยละ 5.42
    ไปเอง แล้วไปซื้อแพ็คเกจทัวร์เฉพาะแถวสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ร้อยละ 6.73
    ด้านสถานที่ที่ชอบไปเที่ยวมากที่สุด ได้แก่

    แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ (ทะเล ภูเขา น้ำตก ฯลฯ) ร้อยละ 79.12
    แหล่งท่องเที่ยวที่มีแหล่งชอปปิ้ง ร้อยละ 10.79
    โบราณสถานต่างๆ ร้อยละ 4.30
    วัด ร้อยละ 3.51
    สวนสนุก ร้อยละ 1.40
    วิธีจองที่พักในการท่องเที่ยว พบว่า

    จองกับที่พักโดยตรง ร้อยละ 56.09 
    Walk in ร้อยละ 31.72 
    จองผ่านตัวแทนที่ให้บริการด้านท่องเที่ยวร้อยละ 9.68  และ
    ร้อยละ 2.51 ไปเช้าเย็นกลับ พักบ้านญาติ ตามการจัดงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น

    เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความสำคัญของปัจจัยด้านต่างๆ ที่ใช้ตัดสินใจในการท่องเที่ยว พบว่า ใน 3 อันดับแรกที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากถึงมากที่สุด ได้แก่
    1) ด้านความปลอดภัย ร้อยละ 87.64
    2) ด้านที่พัก ร้อยละ 66.59
    3) ด้านอาหาร ร้อยละ 62.95 
    ส่วนใน 3 อันดับที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญน้อยถึงน้อยที่สุด ได้แก่
    1) ด้านแหล่งชอปปิ้ง ร้อยละ 17.43
    2) ด้านค่าใช้จ่าย ร้อยละ 6.30 และ
    3) ด้านความยากง่ายในการเดินทาง ร้อยละ 5.90

    สำหรับแหล่งที่หาข้อมูลการท่องเที่ยวใน 5 อันดับแรก ได้แก่
    1) เว็บไซต์สถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 55.31
    2) สอบถามจากเพื่อน คนรู้จัก ร้อยละ 50.34
    3) รายการทางโทรทัศน์ ร้อยละ 41.52
    4) นิทรรศการงานท่องเที่ยว ร้อยละ 19.86
    5) Blogger ที่เขียนเกี่ยวเรื่องท่องเที่ยว ร้อยละ 16.78 
    วิธีใช้จ่ายในการท่องเที่ยว พบว่า

    ใช้เงินสด ร้อยละ 92.19 
    ใช้บัตรเครดิต ร้อยละ 7.12 
    ใช้บัตรเดบิต ร้อยละ 0.26
    ใช้ทั้งเงินสด บัตรเครดิต และบัตรเดบิต ร้อยละ 0.43

    ด้านข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 5 อันดับแรก ได้แก่
    1) มีโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ลดค่าที่พัก ส่วนลดอาหาร ส่วนลดในการท่องเที่ยว ลดค่าบริการ ร้อยละ 38.11
    2) ดูแลสวัสดิภาพ / ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว / ควบคุมดูแลพวกมิจฉาชีพ ร้อยละ 18.49
    3) มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว / จัดงานนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยว /แนะนำแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ร้อยละ 13.21
    4) ควบคุมและลงโทษผู้ที่ขายสินค้าเกินราคาบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว / ตรวจสอบการฉวยโอกาสและการให้บริการของสถานบริการหรือที่พัก ร้อยละ 11.32 และ
    5) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้อยละ 6.04