Tuesday, December 6, 2022
More

    สถิติการออมและการลงทุนของคนกรุงเทพฯ

    สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการออมและการลงทุนของคนกรุงเทพฯ   กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,210 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 12 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

    ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.37 เป็นหญิง และร้อยละ 44.63 เป็นชาย


    เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
    ร้อยละ 28.88 มีอายุ 20-29 ปี 
    ร้อยละ 29.88 มีอายุ 30-39 ปี 
    ร้อยละ 25.31 มีอายุ 40-49 ปี 
    ร้อยละ 15.93 มีอายุ 50-55 ปี 

    ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 38.57 เป็นโสด ร้อยละ 56.62 สมรสแล้ว และร้อยละ 4.81 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่

    ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.71 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 52.27 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.02 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี 

    ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
    ร้อยละ 53.45 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท 
    ร้อยละ 27.93 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
    ร้อยละ 8.31 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท 
    ร้อยละ 5.41 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
    ร้อยละ 4.9 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท

    สำหรับอาชีพ พบว่า 
    ร้อยละ 39.61 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 
    ร้อยละ 21.30 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
    ร้อยละ 10.23 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
    ร้อยละ 7.9 รับจ้างทั่วไป
    ร้อยละ 7.22 อาชีพค้าขาย 
    ร้อยละ 3.74 อาชีพอื่นๆ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัย นักศึกษา ลูกจ้างของรัฐ แม่บ้าน

    ผลการสำรวจการออมและการลงทุน พบว่า คนกรุงเทพฯ
    ร้อยละ 32.22 ระบุมีรายรับมากกว่ารายจ่าย
    ร้อยละ 19.12 ระบุมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ และ
    ร้อยละ 48.66 ระบุมีรายรับและรายจ่ายพอๆ กัน

    ส่วนการมีเงินออมนั้น พบว่า ร้อยละ 73.74 ระบุมีเงินออม โดยเฉลี่ยเก็บออมประมาณเดือนละ 3,373 บาท และร้อยละ 26.26 ระบุไม่มีเงินออม เพราะ 1) รายจ่ายเยอะ / ไม่พอเหลือเก็บ (ร้อยละ 63.26) 2) มีหนี้สิน (ร้อยละ 17.80) 3) รายได้ไม่แน่นอน (ร้อยละ 10.23) และ 4) เงินเดือนน้อย (ร้อยละ 8.71) เป็นต้น

    โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีเงินออมร้อยละ 71.93 ระบุออมประจำทุกเดือน ร้อยละ 16.93 ระบุนานๆ ครั้ง และร้อยละ 11.14 ระบุแล้วแต่โอกาส เช่น ได้โบนัส มีรายได้พิเศษ

    เมื่อสอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 63.72 ระบุมีหนี้สิน และร้อยละ 36.28 ระบุไม่มี โดยหนี้สินที่มีโดยเฉลี่ย ได้แก่ หนี้บ้าน 872,464 บาท หนี้บัตรเครติต 323,544 บาท และหนี้รถยนต์ 302,933 บาท เป็นต้น ส่วนการมีรายได้อื่นนอกเหนือจากรายได้ประจำ พบว่า ร้อยละ 44.62 ระบุมี และร้อยละ 55.38 ระบุไม่มี

    สำหรับการตัดสินใจระหว่างการเก็บเงินไว้กับการนำเงินไปลงทุน พบว่า ส่วนใหญ่ คือ
    ร้อยละ 78.25 ระบุเลือกที่จะเก็บไว้ เช่น ฝากธนาคาร และ
    ร้อยละ 21.75 ระบุเลือกที่จะนำไปลงทุน เช่น ซื้อพันธบัตร หุ้น กองทุนรวม

    โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกจะนำเงินไปลงทุนมีวิธีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน คือ ร้อยละ 55.25 ระบุศึกษาด้วยตนเอง ร้อยละ 20.56 ระบุปรึกษาคนรู้จัก และร้อยละ 24.19 ระบุปรึกษาสถาบัน เช่น ธนาคาร

    ส่วนเหตุผลในการลงทุน ใน 5 อันดับแรก ได้แก่
    1) หารายได้เสริม (ร้อยละ 73.14)
    2) เตรียมไว้ตอนเกษียณ (ร้อยละ 38.43)
    3) ลดหย่อนภาษี (ร้อยละ 28.93)
    4) อิสรภาพทางการเงิน (ร้อยละ 16.94) และ
    5) ได้รับสิทธิพิเศษบางอย่าง (ร้อยละ 8.64) ตามลำดับ

    เมื่อสอบถามเกี่ยวกับความหมายของการลงทุน พบว่า กลุ่มตัวอย่าง
    ร้อยละ 31.02 ระบุเป็นโอกาสสร้างรายได้เพิ่ม
    ร้อยละ 16.76 ระบุเป็นความเสี่ยงที่จะขาดทุน และ
    ร้อยละ 52.22 ระบุเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง

    ส่วนระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุน พบว่า
    ร้อยละ 14.92 ระบุมีความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุด
    ร้อยละ 38.72 ระบุปานกลาง และ
    ร้อยละ 46.36 ระบุมีน้อยถึงน้อยที่สุด

    นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 65.77 ระบุสนใจที่จะลงทุน ถ้ามีโอกาส โดยสนใจที่จะซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ร้อยละ 42.15) ออมทอง (ร้อยละ 40.43) ซื้อพันธบัตร (ร้อยละ 28.72) ซื้อหุ้น (ร้อยละ 28.19) และซื้อกองทุนรวม (ร้อยละ 20.61) เป็นต้น ส่วนอีกร้อยละ 34.23 ระบุไม่สนใจจะลงทุน โดยให้เหตุผลว่า ไม่พร้อม มีภาระ ไม่อยากเสี่ยง ไม่มีความรู้เรื่องนี้ และรายได้น้อย เป็นต้น

    สำหรับความต้องการในการบริหารจัดการเงินลงทุนของตน พบว่า
    ร้อยละ 44.25 ระบุบริหารจัดการด้วยตนเอง
    ร้อยละ 27.06 ระบุให้สถาบัน (เช่น ธนาคาร โบรกเกอร์) ช่วยดูแลให้ และ
    ร้อยละ 28.69 ระบุขึ้นอยู่กับประเภทของการลงทุน

    ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในปัจจุบันใน 5 อันดับแรก ได้แก่
    1) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ร้อยละ 37.81)
    2) ทองคำ (ร้อยละ 30.30)
    3) พันธบัตร (ร้อยละ 15.27)
    4) กองทุนรวม (ร้อยละ 11.82) และ
    5) หุ้น (ร้อยละ 6.90) ตามลดับ โดยกลุ่มตัวอย่างต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนในด้านต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลการลงทุนด้านต่างๆ (ร้อยละ 93.13) ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน (ร้อยละ 6.25) และเหตุผลที่ควรลงทุนด้านต่างๆ (ร้อยละ 1.25) เป็นต้น