สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องความต้องการของคนกรุงเทพฯ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 1,212 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 – 15 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.56 เป็นหญิง และร้อยละ 47.44 เป็นชาย
เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า
ร้อยละ 25.04 มีอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 29.75 มีอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 29.01 มีอายุ 40-49 ปี
ร้อยละ 16.20 มีอายุ 50-55 ปี
ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ร้อยละ 33.48 เป็นโสด ร้อยละ 55.28 สมรสแล้ว และร้อยละ 11.24 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่
ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.31 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 59.64 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.05 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า
ร้อยละ 25.71 มีรายได้ 15,001-25,000 บาท
ร้อยละ 66.28 มีรายได้ 25,001-35,000 บาท
ร้อยละ 3.84 มีรายได้ 35,001-45,000 บาท
ร้อยละ 2.25 มีรายได้ 45,001-55,000 บาท และ
ร้อยละ 1.92 มีรายได้สูงกว่า 55,000 บาท
สำหรับอาชีพ พบว่า
ร้อยละ 36.46 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.18 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.84 อาชีพเจ้าของธุรกิจ
ร้อยละ 22.27 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 22.44 อาชีพค้าขาย
ร้อยละ 1.81 อาชีพอื่นๆ เช่น พนักงานมหาวิทยาลัย นักศึกษา ลูกจ้างของรัฐ แม่บ้าน
ผลการสำรวจความต้องการของคนกรุงเทพฯ โดยให้เปรียบเทียบความน่าอยู่ระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 41.45 ระบุต่างจังหวัดน่าอยู่มากกว่า อีกร้อยละ 24.69 ระบุกรุงเทพฯ น่าอยู่มากกว่า และที่เหลือร้อยละ 33.86 ระบุน่าอยู่พอๆ กัน
ปัจจัยที่ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) เป็นศูนย์กลางความเจริญ (ร้อยละ 80.63)
2) เป็นเมืองหลวง (ร้อยละ 64.24)
3) มีความสะดวกสบาย (ร้อยละ 41.06) 4) เกิดและโตที่นี่ (ร้อยละ 34.19)
5) มีคุณภาพชีวิตที่ดี (ร้อยละ 27.32) เป็นต้น
ส่วนปัจจัยที่ทำให้กรุงเทพฯ ไม่น่าอยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) การจราจรติดขัด (ร้อยละ 83.68)
2) สภาพแวดล้อมไม่ดี (ร้อยละ 61.31)
3) ปัญหาสังคม-อาชญากรรม (ร้อยละ 55.76)
4) มลพิษอากาศ (ร้อยละ 54.85)
5) ปัญหาน้ำท่วม (ร้อยละ 32.39) เป็นต้น
ด้านค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ที่คนกรุงเทพฯ มีความกังวลใน 5 อันดับแรก ได้แก่
1) ค่าอาหาร (ร้อยละ 72.03)
2) ค่าเดินทาง (ร้อยละ 66.33)
3) ค่าผ่อนบ้าน (ร้อยละ 40.70)
4) ค่าเลี้ยงดูคนในครอบครัว (ร้อยละ 38.94)
5) ค่าผ่อนรถ (ร้อยละ 37.69) ตามลำดับ
ส่วนสิ่งต่างๆ ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการให้เกิดขึ้นมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
1) การแก้ปัญหาจราจร (ร้อยละ 97.69)
2) การแก้ปัญหาน้ำท่วม ระบายน้ำไม่ทัน (ร้อยละ 87.36)
3) การแก้ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุข (ร้อยละ 85.72)
4) การแก้ปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคม (ร้อยละ 84.72)
5) การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ปลูกต้นไม้ (ร้อยละ 83.29)
6) การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย (ร้อยละ 83.06)
7) การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง สินค้าราคาแพง (ร้อยละ 80.06)
8) การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 77.69)
9) การขึ้นค่าแรง-เงินเดือน ให้เพียงพอกับรายจ่าย (ร้อยละ 76.14) ตามลำดับ
และข้อเสนอแนะในการทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่น่าอยู่ ได้แก่
1) แก้ปัญหารถติด ปัญหาจราจร จัดระเบียบจราจร (ร้อยละ 33.51)
2) แก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 12.73)
3) แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย รักษาความสะอาดของเมือง ทิ้งขยะให้เป็นที่ แยกขยะ (ร้อยละ 12.40)
4) แก้ไขปัญหาอาชญากรรมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 11.75)
5) แก้ปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำ (ร้อยละ 9.47) ตามลำดับ