ความดันโลหิตสูง (Hypertension / High Blood Pressure) เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงเริ่มจะหนาขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่มีไขมันไม่ดีไปเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจนทำให้ช่องทางในการส่งเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง และทำให้ส่งเลือดได้น้อยลง และเพื่อที่จะยังสามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ อวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจจึงต้องเพิ่มแรงดันเลือดให้มากขึ้น เพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านช่องเล็ก ๆ หรือหลอดเลือดแคบ ๆ เหล่านี้ไปได้ และแรงดันในการส่งเลือดที่เพิ่มขึ้นนี่เอง จึงทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง Credit : Med.CMU
วิธีดูแลตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง
- ต้องเริ่มทานยาความดันโลหิตสูงตามคำปรึกษาของแพทย์
- จะต้องมีการคุมอาหาร ลดเมนูอาหารที่ให้พลังงาน ทั้งคาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน โดยทานข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวสีดำพันธุ์ไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องงอกสีนิล ข้าวกล้อง เป็นต้น
- ต้องคุมน้ำหนัก เพื่อลดภาวะตกค้างของสารพิษในลำไส้
- ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยลดความเครียด เพื่อลดความดันโลหิตสูง
- ลดการรับประทานอาหารเค็ม เพราะอาหารเค็มทำให้ร่างกายกักน้ำไว้ในร่างกาย ไตทำงานหนัก และความดันสูง
- ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนัก และเกิดความดันสูง
- งดบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้หลอดเลือดทำงานหนัก และความดันสูง
- หมั่นตรวจวัดความดันเป็นประจำ และควรจะมีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านไว้
โรคความดันโลหิตสูง หากเป็นแล้วยังเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้อีก เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, เส้นเลือดสมองโป่งพอง, หัวใจล้มเหลว และโรคไตเสื่อม เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคมีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สำหรับใครกำลังเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงก็ควรรีบหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองให้ดีกว่าเดิม ในส่วนของคนที่เป็นแล้วก็ต้องยิ่งระวังให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยหมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกายตามที่กล่าวไปแล้ว และใส่ใจเมนูอาหารให้มากกว่าเดิม
สมุนไพร Credit : Pixabay
10.สมุนไพรลดความดันโลหิตสูงหาง่ายในชีวิตประจำวัน
จะเป็นสมุนไพรลดความดัน ไขมันในเลือดที่หาซื้อได้ง่าย และส่วนมากก็นิยมจะนำมาเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารต่าง ๆ เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและยังเพิ่มรสชาติ และนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้วยังสามารถจะปลูกเองก็ได้ตามบ้านที่มีพื้นที่ไว้ทำสวนผักเล็ก ๆ หรือจะหาซื้อผ่านช่องออนไลน์ต่าง ๆ ก็สะดวกดี
-
- กระเทียมสด มีขนาดหัวเล็ก มีฤทธิ์ลดไขมันในหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือด ขยายหลอดเลือด เพิ่ม HDL ลด LDL แต่หากผู้ป่วยรับประทานยาลดอาการแข็งตัวของเลือดอยู่ ให้ระวังการรับประทานกระเทียมเพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลยากขึ้น
- ใบกะเพรา เป็นสมุนไพรลดความดัน ซึ่งมักจะนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารต่าง ๆ รวมถึงสามารถจะรับประทานสด ๆ ก็ได้ หรือจำนำไปตากแห้งเพื่อนำมาต้มเป็นชาสมุนไพรลดความดันดื่มได้เรื่อย ๆ
- ขิง จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เหมือนกับการรับประทานยาลดความดัน ซึ่งมีผลลดความดันโลหิต และช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดข้อ คนที่เป็นนิ่วให้ระวังการรับประทานขิง เพราะจะบีบนิ่วออกมาจากถุงน้ำดี จะทำให้ปวดท้อง และผู้ป่วยที่รับประทานยาลดอาการแข็งตัวของหลอดเลือดอยู่ ไม่แนะนำให้รับประทานขิง เช่นเดียวกับกระเทียม
- กระเจี๊ยบแดง จะมีแร่ธาตุและวิตามิน จะใช้กลีบเลี้ยงหรือดอกที่มีสีแดงต้มน้ำดื่ม จะมีฤทธิ์ขับขับปัสสาวะและยูริค เพื่อลดความดันโลหิต หากผู้ป่วยเป็นโรคไต ให้ระวังการกินกระเจี๊ยบเพราะจะมีโพแทสเซียมสูง
- ขึ้นฉ่าย จะมีฤทธิ์เย็น ช่วยขับปัสสวะ ลดบวม ลดความดัน ต้านการอักเสบได้ รับประทานง่าย ๆ วันละ 4 ต้น
- ใบบัวบก จะมีฤทธิ์เย็น บำรุงหลอดเลือด ช่วยลดอาการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง แก้ไข้ แก้ร้อนใน บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง ฟื้นฟูสุขภาพ สามารถนำไปใช้ทำเครื่องสำอางบำรุงผิวเป็นอย่างดี เพื่อช่วยลดเกิดอาการแพ้ของผิว ลดริ้วรอย บำรุงผิวได้ และยังรับประทานใบสดแกล้มน้ำพริกหรือจะคั้นน้ำดื่มเป็นประจำก็ได้
- มะรุม ใบ และราก ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ลดไขมัน ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด วิธีการรับประทาน นำใบ และราก มาตำและบีบน้ำรับประทานผสมกับน้ำผึ้ง วันละ 2 ครั้ง ห้ามใช้ในกลุ่มผู้ป่วยตั้งครรภ์ และผู้ป่วยตับอักเสบ ผู้ป่วยมีค่าตับผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- ฟ้าทะลายโจร มีสรรพคุณลดความดันโลหิต ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และลดอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
- ตะไคร้ มีสรรพคุณในการขับปัสสาวะและขับลมแล้ว ยังช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วย และกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่เนื่องมาจากความเครียดได้ และยังสามารถจะนำมาต้มเป็นชาสมุนไพรลดความดัน
- มะกรูด เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิตสูงและยังช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังนิยมนำใบและน้ำของผลมะกรูดมาใช้ในการประกอบเมนูอาหารไทยได้หลายชนิด
แนะนำเมนูอาหารเสริมภูมิคุ้มกันโรคความดันโลหิตสูง
ปลานิลทอดผัดขึ้นฉ่าย Credit : Wongnai
ปลานิลทอดผัดขึ้นฉ่าย
เมนูอาหารง่ายๆ ทำเองได้แน่นอน สำหรับเมนูนี้จะมีโซเดียมต่ำ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยลดคอเลสเตอรอล และยังมีขึ้นฉ่ายช่วยลดความดันโลหิต และต้นหอมที่จะลดไขมันในเส้นเลือดได้
ส่วนผสมและวัตถุดิบ
- เนื้อปลานิลหั่นชิ้น 1 ตัว
- เต้าเจี้ยว 1/2 ช้อนโต๊ะ
- ขึ้นฉ่ายหั่นท่อน 3 ต้น
- น้ำมันหอย 1/2 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอมหั่นท่อน 2 ต้น
- น้ำตาลทราย 3/4 ช้อนชา
- พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ 2 เม็ด
- พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา
- กระเทียมสับ 1/2 ถ้วย
- แป้งมัน 1 ถ้วย
- ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
- น้ำมันมะกอก 1 ถ้วย
วิธีทำ
- เตรียมเนื้อปลานิลคลุกเกลือและแป้งมันให้ทั่ว
- ตั้งกระทะใส่น้ำมัน พอน้ำมันร้อน ให้นำเนื้อปลาชุบแป้งลงทอดจนสุกเหลืองกรอบ ตักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน
- ตั้งกระทะใส่น้ำมัน 1/2 ถ้วย นำกระเทียมใส่ลงไปผัดให้หอม ตามด้วยเนื้อปลาทอด ขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยเต้าเจี้ยว น้ำตาลทราย น้ำมันหอย ผัดให้คลุกเคล้าเข้ากัน
- จากนั้นใส่ต้นหอม และพริกชี้ฟ้าลงไป ผัดอีกรอบ แล้วปิดไฟ จัดใส่จานเสิร์ฟโรยพริกไทยเล็กน้อย เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อน ๆ
ยำใบบัวบกปลาทูน่า Credit : Pinterest
ยำใบบัวบกปลาทูน่า
เป็นเมนูอาหาร ง่ายๆ ประหยัดวัตถุดิบส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้วที่บ้าน นอกจากจะอร่อยแล้วยังสามารถจะเสริมภูมิคุ้มกันให้กับอวัยวะภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี
ส่วนผสมและวัตถุดิบ
- ใบบัวบก 1 ถ้วยตวง
- ปลาทูน่าในน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน 1 กระป๋อง
- หอมแดง 5 หัว
- พริกขี้หนูสวน 7-8 เม็ด
- กระเทียม 5-7 กลีบ
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- มะนาว 1-2 ผล
- เมล็ดทานตะวัน หรือเมล็ดฟักทองอบ 1 ช้อนโต๊ะ
- มะเขือเทศ 1 ผล
วิธีทำ
- คลุกเคล้าใบบัวบก ปลาทูน่า ตักเอาเฉพาะเนื้อปลาหากไม่มีจะใช้ปลาทูแทนก็ได้แต่ให้ลดซีอิ๊วขาวลงด้วย พริกขี้หนูสวนหั่น และหอมแดงซอยบาง ๆ เข้าด้วยกัน แล้วปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว
- ตักใส่จาน ตกแต่งด้วยเมล็ดฟักทองหรือเมล็ดทานตะวันอบ กระเทียมหั่นบาง และมะเขือเทศหั่นลูกเต๋า พร้อมเสิร์ฟ
สำหรับเมนูอาหารเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันต่าง ๆ สามารถที่จะเลือกสรรวัตถุดิบให้เหมาะกับผู้ป่วยได้ ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร เครื่องปรุงต่าง ๆ โดยการใส่ใจและลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าหากเราจะสามารถบรรเทาอากาศป่วยต่าง ๆ เหล่านั้นได้
อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ